– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น Economic, social, and political changes in Thailand from the pre-Sukhothai period to the early Bangkok period.
– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาริงจนถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 Economic, social, and political changes in Thailand from the Bowring Treaty to the 6 October 1976 incident.
– การก่อตัวของสังคมสมัยเริ่มแรก การเข้ามาของอารยธรรม อินเดีย จีน และอิสลาม และอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเข้ามาของชาติตะวันตกในศตวรรษที่ 15 และความรุ่งเรืองทางการค้าในศตวรรษที่ 16-17 The formation of early modern society, the entry of India, China and Islamic civilization and its influences on politics, economy and society of Southeast Asia; the arrival of the western in the 15th century and prosperous trade in the 16-17 century.
– อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เอเชียใต้ยุคโบราณ การปกครองของมุสลิมในเอเชียใต้ เอเชียใต้ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ชาตินิยมและการต่อสู้เพื่อเอกราช การแบ่งประเทศ และประเทศในเอเชียใต้หลังได้รับเอกราช Indus civilization, ancient South Asia, Muslim Rule, British Rule, nationalism and the struggle for independence, the Partition, and the South Asian countries after the Independence.
– พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและภูมิปัญญาของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน Historical development of East Asia region in politics, economy, society and wisdom of the Chinese, the Japanese, and the Korean from ancient times to the present.
– ต้นกำเนิดอารยธรรมตะวันตก อารยธรรมกรีก จักรวรรดิโรมัน ยุโรปยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิรูปศาสนา และยุคภูมิธรรม Sources of Western civilization, Greece civilization, Roman Empire, the medieval Europe, the Renaissance, the Reformation and the Enlightenment.
– รูปแบบโครงสร้าง วิธีการเขียน ทิศทาง และแนวคิดสำคัญๆ ในงานวิชาการประวัติศาสตร์ Structures, writing styles, major trends and approaches of academic works in History.
– วิธีการและขอบเขตของวิจัยทางประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หลักฐานประวัติศาสตร์ การวิพากษ์หลักฐาน การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ การสังเคราะห์ และการเขียนผลศึกษาทางประวัติศาสตร์ Historical research method and its scope, historical facts, historical evidence, historical criticism, historical analysis, the synthesis and the writing of historical research.
– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนถึงปัจจุบัน Economic, social, and political change in Thailand after the 6 October 1976 incident to the present.
– พัฒนาการของศิลปะและหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และภูมิปัญญา Development of art and archaeological evidence in Thailand from pre-historical age to historical age; relationship with economy, society, politics and thoughts.
– การสลายตัวของสังคมรัฐสุโขทัยและการเกิดกลุ่มทางการเมืองของเจ้านายในท้องถิ่นเมืองเหนือ การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของเมืองสู่การเป็นรัฐชาติไทย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศท้องถิ่นของภาคเหนือตอนล่าง The decline of Sukhothai state and the emergence of the political groups of the ruling class in the Lower Northern communities, changes of city status to the Thai nation state, changes in society, culture, economy, and local ecology in Lower Northern.
– การเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจากอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก การก่อตัวของรัฐชาติสมัยใหม่ การต่อสู้เรียกร้องเอกราชของขบวนการชาตินิยม ตลอดจนการพัฒนาประเทศและความขัดแย้งภายในหลังได้รับเอกราชและในยุคสงครามเย็น The transformation of the politic, economy and society from the influence of the Western Imperialism; the formation of modern nation-states; the independence movement of nationalist until independence, as well as developing countries and conflicts within and between countries during the Cold War.
– การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติอุตสาหกรรม กำเนิดรัฐชาติ จักรวรรดินิยมของยุโรป ความเป็นสมัยใหม่ สงครามโลกครั้งที่ 1-2 ยุโรปในสงครามเย็น และยุคโลกภิวัตน์ The French Revolution, the Industrial Revolution, the birth of nations, European empires, modernities in Europe, the World War 1 and 2, Europe in the Cold War and the globalization.
– ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม สงครามประกาศอิสรภาพ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อสังคมโลก History of the United States from the settlement of Europeans, politics, economic and social changes, the Independence war, the United states and the World War 2 and the roles of the United States in the global level.
– การใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอความคิด ข้อโต้แย้ง และผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการนำเสนอประเภทต่างๆ Practicing oral presentation of ideas, arguments and research in English using various types of presentation tools and techniques.
– ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ แนวคิดทางสังคมศาสตร์ที่สำคัญ การประยุกต์แนวคิดทางสังคมศาสตร์ในการวิจัยทางประวัติศาสตร์ The relationship between social sciences and history, major concepts in social sciences, the application of social sciences concepts in historical research.
– ธรรมชาติของการพรรณนาในงานประวัติศาสตร์ การให้คำอธิบายทางประวัติศาสตร์ องค์ประธานและภาวะวิสัยในการศึกษาประวัติศาสตร์ ตรรกะและความจริงทางประวัติศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ และประวัติศาสตร์นิพนธ์สกุลหลักๆ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 The nature of narrative in history, historical explanation, subjectivity and objectivity in history, logic and truth in history, concept of historiography, and major historiographical trends of the 19th and 20th centuries.
– ความหมายและขอบเขตของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์จากหลักฐานท้องถิ่น และประวัติศาสตร์บอกเล่า โดยเน้นพลวัตของท้องถิ่น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น จารีตประเพณีของท้องถิ่น และตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการดำรงอยู่ในชุมชนท้องถิ่น Meaning and scope of local history, historical data gathering and analysis of local evidence and oral history, namely myths and tales, focusing on local dynamics, especially local relations, custom and wisdom which contribute to the existence of communities.
– การฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ในต่างประเทศโดยได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย Professional training either at government or private sector abroad which is approved by the university.
– การฝึกปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มประสบการณ์วิชาชีพทางประวัติศาสตร์ ในฐานะพนักงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการตามระบบสหกิจศึกษา Basic real-work setting apprenticeship to increase professional career experience related to historical matters as an employee in an agency or enterprise according to co-operative education system.
– การฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐหรือเอกชน โดยได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย ซึ่งนิสิตจะใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานรวมตลอดภาคการศึกษา Professional training either in government or private sector approved by the university. Students must spend one semester in training.
– หลักคำสอน พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาลทางศาสนา ศาสนากับวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศไทย Teaching, rites, religious festivals and ceremonies; the religions and people’s way of life in Thailand.
– มรดกภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม The heritage of Thai wisdom pertaining to ways of life, such as beliefs, traditions and cultures.
– ความเข้าใจเบื้องต้นของวัฒนธรรม ชุมชนกับวิถีวัฒนธรรม ความเข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยมิติทางวัฒนธรรมในชุมชนของตน ความสำคัญระหว่างการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมกับพัฒนาชุมชนด้วยตนเองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง Understanding basic concepts of culture, community and culture, understanding self and others through cultural dimension, the importance of participation in cultural conservation and sustainable community development, case studies of life and community culture in the era of globalization especially in the Lower Northern Thailand.
– กำเนิดของอาเซียน พัฒนาการความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน นโยบายและผลกระทบของอาเซียนต่อประเทศต่างๆ The origin of ASEAN, the development of ASEAN cooperation, policies and the impacts of ASEAN to countries.
– ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน นโยบายต่างประเทศและปฏิสัมพันธ์ของจีนกับรัฐต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน History of International relations of China; its foreign policy and how it interacts with other states from the past to the present.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมสมัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in contemporary affairs for an in-depth understanding.
– พัฒนาการของการผลิตกับการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในโลก การเดินทางจากอาหารและเครื่องดื่มในมิติการค้าเครื่องเทศและการล่าอาณานิคมสู่การพัฒนาเป็นอาหารและเครื่องดื่มประจำชาติ อาหารและเครื่องดื่มในมิติการต่อต้านการเป็นอาณานิคมของโคคาโคลา (cocacolonization) และการเปลี่ยนเป็นแบบแมคโดนัลด์ (mcdonalization) ชาตินิยมและการบริโภคตราสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม การสร้างมูลค่าและคุณค่าของอาหารและเครื่องดื่มจากหิ้งสู่ห้างและกระแสนิยมอาหารและเครื่องดื่มในโลกหลังสมัยใหม่ The development of global production and consumption of food and beverage; food and beverage in the dimension of spice trade and colonization; the development of national dish and national beverage; food and beverage in the anti-Cocacolonization and anti-Mcdonalization dimension; nationalism and consumption of food and beverage brands; value creation of food and beverage products from local stores to shopping malls; food and beverage consumption trend in the postmodern world.
– พัฒนาการและโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมในสังคมไทย กลุ่มต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคม ชีวิตทางสังคมและชีวิตประจำวัน และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในบริบททางประวัติศาสตร์ Economic and social development and structure of Thai society; economic and social groups; social life and everyday life and economic and social changes in their historical context.
– การก่อตัวของล้านนา ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การเสื่อมและล่มสลายของรัฐล้านนา ความสัมพันธ์แบบประเทศราชกับพม่าและสยาม และการเปลี่ยนสถานภาพจากรัฐ บรรณาการสู่ส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมหลังถูกผนวกเข้ากับสยาม The formation of Lanna; its characteristics of political, economy and socio-cultural system, the decline and fall of Lanna; Lanna in the tributary relationship with Burma and Siam, its change from tributary states to a part of Siamese modern state as well as socio-economic chang after the integration.
– รูปแบบต่างๆ ทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยน การค้าขาย และพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายในท้องถิ่น โดยพิจารณาทั้งเศรษฐกิจที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับภายนอกท้องถิ่น Variations in economic, exchange, trade and economic development including development of local network, considering bother the formal and informal economy, as well as relationship between local and outside.
– ประวัติการเมืองท้องถิ่นในระดับสากล นับตั้งแต่สมัยตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จนถึงยุคปัจจุบันผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ ในบริบทสังคมโลก และในระดับประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐส่วนกลางที่เป็นศูนย์กลางอำนาจกับท้องถิ่นในยุคสมัยต่างๆ วิเคราะห์ระบบการเลือกตั้งและบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นระดับชาติระดับต่างๆ ผลกระทบของการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อระบบประชาธิปไตยท้องถิ่น ระบบการบริหารจัดการท้องถิ่น และทิศทางแนวโน้มการเมืองท้องถิ่นไทยในอนาคต History of local politics at the international level since human settlements up to the present through the patterns of decentralization models in global and Thai context, the relationship between central state management and local in each period, analyzing the elections system and local politicians in all levels, the impacts of local politics to local democracy, local management and trends of Thai local politics in the future.
– รูปแบบและประเภทของธุรกิจท้องถิ่นทั้งในอดีตและปัจจุบัน พัฒนาการของธุรกิจท้องถิ่นนับตั้งแต่พ่อค้าวัวต่างและนายฮ้อยสู่การเป็นเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัฒน์ การเกิดเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในโลกไร้สายและไร้พรมแดน อิทธิพลของเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Forms and types of local business from the past to the present; the development of local business from cattle traders groups to local business network in globalized age, the origins of local business network in wireless and borderless world. the influence of local business network on politics, economics, society and culture from the past to the present.
– ลักษณะและพัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัศนะที่มีต่ออดีตของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานเขียนประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองช่วงก่อนสมัยใหม่ การเขียนประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน Development of historical writings in Southeast Asian counties, perceptions of the past of the Southeast Asian people, the historical writings of the native in pre modern time, the construction of national history and the Historiographies of the Southeast Asian nations at the present.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in Southeast Asian history for an in-depth understanding.
– แนวคิดเรื่องรัฐชาติและชาตินิยม การเกิดขึ้นของแนวคิดชาตินิยมและขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของแนวคิดชาตินิยมต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ The concepts of nation and nationalism, the emergence of nationalism and nationalist movements in Southeast Asia, the influences of nationalism on political, economic, social and cultural and the relationship between countries in Southeast Asia.
– พัฒนาการทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมของ 5 ประเทศ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่การก่อตั้งอาณานิคม ยุคเอกราช ยุคสงครามเย็น ยุคการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอาเซียน การเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จนถึงยุคปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาและศักยภาพในการพัฒนาประเทศเหล่านี้ในบริบทสังคมโลก Development of politics and public administration, economic, social, culture and environment situation of five countries in the Mekong region since the period of colonialization, independence, cold-war, Asian Economic Community (AEC), and Greater Mekong Sub-region (GMS) up to the present and also problems and potential of these countries in global society context.
– การพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สิ้นสุดสมัยอาณานิคม มาจนถึงการรวมกลุ่มเป็น “ประชาคมอาเซียน” รวมถึงยุทธศาสตร์ความมั่นคงในประเด็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น ชายแดน ความมั่นของมนุษย์ หรือความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในภูมิภาค The country development in Southeast Asia from the end of colonial period to the formation of ‘ASEAN Community’ including other current issues of security strategy, for example, border, human security, food security, etc. that affect on the development of countries in this region.
– ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนโพ้นทะเล ปัจจัยของการอพยพ อัตลักษณ์ ชีวิตและชุมชน ความสัมพันธ์ชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศจีนและประเทศที่อยู่ History of Chinese migration, factors of immigration, identity, lives and communities of overseas Chinese, relationships with China and their host countries.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in East Asian history for an in-depth understanding.
– นโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมหาอำนาจใหม่ในเอเชีย ทั้งจากทางตะวันออก คือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และตะวันตกอันได้แก่อินเดียและตะวันออกกลาง ที่เกี่ยวข้องกับไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผลกระทบของนโยบายดังกล่าว Political, economic, social, and cultural policy of Asia superpowers both in the east i.e. China, Japan and Korea and in the west i.e. India and the Middle East on Thailand and Southeast Asian countries and its impacts.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียใต้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in South Asian history for an in-depth understanding.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรป เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in European history for an in-depth understanding.
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก Studying the selected topics in American history for an in-depth understanding.
– ความเป็นมาของรัสเซียทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญา ตั้งแต่การก่อตั้งจักรวรรดิจนถึงการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทของรัสเซียที่มีต่อสังคมโลกในปัจจุบัน Political, economic, social and intellectual background of Russia since the establishment of the Empire to the collapse of communism, including the analysis of the role of Russia on the world today.
– ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมนช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และผลกระทบที่มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีต่อกัน The relationship between humankind and its environment over the different periods of time in the historical context to the present time emphasizing on the transformation, adaptation, and the mutual effect of human kind and its environment/nature.
– ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตความรู้แบบบูรพาคดีศึกษากับโครงการอาณานิคมของยุโรป โดยสำรวจงานเขียนและจินตนาการเกี่ยวกับโลกตะวันออก โดยเฉพาะโครงสร้างของความรู้สึกและมุมมองความคิดที่เป็นรากฐานรองรับ A relation between European orientalism and their colonial project, through the colonial writings and imaginations on the Orient, especially its structure of feeling and perspectives embedded.
– แนวคิดแบบหลังอาณานิคมและอิทธิพลของแนวคิดแบบหลังอาณานิคมต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมหลังอาณานิคมโดยเฉพาะงานเขียนของกลุ่ม Subaltern Studies ในอินเดียและในละตินอเมริกา The Postcolonialism approach and its influence in historical studies of the postcolonial society, especially the Subaltern Studies group in India and Latin America.
– ประวัติศาสตร์เพศสภาวะตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 การให้ความหมายของเพศในเชิงกายภาพที่แตกต่างกันของแต่ละยุคสมัย ข้อถกเถียงร่วมสมัยเกี่ยวกับแนวคิดระหว่างเพศสภาวะและเพศสภาพ ประเด็นเรื่องเพศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทางสังคม เช่น การเจริญพันธุ์ การคุมกำเนิด การช่วยตนเอง การรักเพศเดียวกัน และโสเภณี The history of sexualities from the 18th century; the different meanings that have been assigned to sexed bodies; contemporary debates about the relationship between sexuality and gender; sexual body as a subject to social control, such as reproduction, birth control, masturbation, homosexuality and prostitution.
– ความหมายและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก จารีตและแบบแผนการปฏิบัติที่ใช้เพื่อแสดงออก ปกปิด และจัดการอารมณ์ความรู้สึกในประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่ยุคกลาง โดยเฉพาะเรื่องของตัวตน มารยาท การแต่งกาย ความรัก และความโกรธ เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของยุโรป กับการแสดงออกของอารมณ์ความรู้สึกและแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกในส่วนอื่นๆ ของโลก Meaning and method of history of emotions, codes of conduct aimed at the management, expression, and concealment of emotion over the last thousand years of European history, with a focus on the self, manners, dress, romance, and aggression; comparison of developed Western notion of emotions with configurations of emotional expression and emotional practices in selected other parts of the world.
– ประวัติศาสตร์กีฬาที่เกิดขึ้นในบริบทโลกจากยุคอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบันโดยศึกษาความสำคัญของกีฬาในเชิงประวัติศาสตร์สังคม วัฒนธรรม โดยครอบคลุมแนวคิดกีฬากับชาติพันธุ์ เพศ ชนชั้น ความเป็นมือสมัครเล่น ความเป็นมืออาชีพ ชาตินิยม สภาะแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับบริบทกีฬา ทั้งในระดับนานาชาติ เช่นกีฬาโอลิมปิก ระดับภูมิภาคอาเซียน เช่น เอเชียนเกมส์ และประเทศไทย รวมทั้งปัจจัยที่สนับสนุนและส่งเสริมกีฬาและผลกระทบของกีฬาประเภทต่างๆ ต่อสังคม ชุมชนและบุคคล History of sports in global context from the colonial era to the present, using social and cultural history exploring the issues such as ethnicity, gender, class, amateurism, professionalism, nationalism, political, socio-economic, and cultural environments at the international level such as Olympics, regional level such as Asian Games and in Thailand, and sports supporting or promoting factors as well as impacts of sports on social, community and individual.
-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ไทที่แตกแขนงไปตามพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรม ความเชื่อ นิทาน ตำนาน และลักษณะร่วมของชาติพันธุ์ไท ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน The historical development of the Tai ethnic group that spread over areas in South Asia, China and Southeast Asia; culture, beliefs, myths, legends and common characteristics in the changing context at present.
– ความเป็นมาและลักษณะของวัฒนธรรมประชานิยมในด้านต่างๆ เช่น ดนตรี เพลง นวนิยาย ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สื่อดิจิตอล การแต่งกาย The origin and nature of popular culture in various fields such as music, novels, movies, television programs, publishing, digital media, and fashion.
– ประวัติความเป็นมา ทฤษฎี และการปฏิบัติการของประวัติศาสตร์สาธารณะ วิธีการที่อดีตถูกอธิบาย สร้างสรรค์ สื่อสารให้เกิดการมีส่วนร่วม และนำเสนอต่อบุคคลต่างๆ ที่หลากหลาย รูปแบบต่างๆ ของประวัติศาสตร์สาธารณะ ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานแหล่งท่องเที่ยว จนถึงการเผยแพร่ในสื่อทางสังคมและภาพยนตร์ The history, theory, and practice of public history; the ways in which the past is explained, characterized, engaged, and presented to various audiences; the varied forms of public history from museums and commemorative spaces to social media feeds and film.
– หลักการและแนวคิดมรดกโลกทางวัฒนธรรม วิธีการในการจัดการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เช่น การอนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู การวางแผนคุ้มครองมรดกโลก การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ มาตรการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง Principles and concepts in cultural world heritage management, methods in managing the cultural world heritage sites, for example the preservation, the restoration, the renovation, the planning for protection and the physical carrying capacity, and the involving laws.
– แนวคิดและวิธีการในการจัดการทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ การจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน และการบำรุงรักษาเอกสารท้องถิ่น Concepts, methods in historical resources management, resources management, preservation of historical objects and sites, maintenance of local documents.
– ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ หลักการและแนวคิดพิพิธภัณฑ์ การจัดการและการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ การวางแผนและออกแบบนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ The historical development of meseum; principles and concepts in museology; the management and preservation of museum objects; planning and design exhibition in meseums and activities for museum.
– รูปแบบ เทคโนโลยี และประเภทของสื่อในฐานะเครื่องมือการสร้างความเข้าใจและการรับรู้ประวัติศาสตร์ในกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เทคนิคการจัดแสดงและการสื่อความหมายทางประวัติศาสตร์ที่ลดทอนความบาดหมางและขัดแย้งแต่มุ่งนำเสนอให้เห็นหนทางการใช้อดีตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน การผลิตสื่อเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมร่วมสมัย นิสิตนำเสนอผลงานการผลิตสื่อและการจัดแสดงทางประวัติศาสตร์ปลายภาคการศึกษา Technology and media as tools for promoting understanding and knowledge about history among various groups; exhibition techniques and communication of historical meanings that reduce conflicts and using the past to construct the future; media production for historical and cultural heritage conservation in contemporary context; students presenting media products and historical exhibition in the end of the semester.
– ความหมายและความเข้าใจผลกระทบของการท่องเที่ยวที่เข้าไปจัดกระทำต่อวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ การเคลื่อนตัวของนักท่องเที่ยวชนชั้นกลางกับกระบวนการสร้างสำนึกโหยหาอดีตทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว รูปแบบและกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ทั้งในด้านมูลค่าและคุณค่า ตลอดจนการส่งเสริมให้ชุมชนจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยตนเอง Meaning and understating of the impacts of tourism on managing culture in various forms; the movement of middle class tourists and the process of nostalgia creation and the making of culture as a tourism commodity, process of constructive cultural tourism management in the aspect of both price and value, promoting cultural tourism in community.
– ความหมาย ลักษณะและเป้าหมายการวิจัย ประเภทการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย การประเมินงานวิจัย การนำผลวิจัยไปใช้ และจรรยาบรรณนักวิจัย เทคนิควิธีการวิจัยเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ Research definition, characteristics and goal, types and research process, research problematization, variables and hypothesis, data collection, data analysis, proposal and research report writing, research evaluation, research application, ethics of researchers and research techniques in Social Sciences.
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา Seminar on concerned particular issues in Southeast Asian studies.
– พัฒนาการของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่งานนิพนธ์ของชาวพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของชาวต่างชาติก่อนยุคอาณานิคม งานนิพนธ์ของชาวตะวันตกจากประเทศต่างๆ ในยุคอาณานิคม และงานนิพนธ์ของนักชาตินิยมชาวพื้นเมืองในช่วงปลายอาณานิคม การกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสหรัฐฯ ยุคหลังการปลดปล่อยอาณานิคม กระแสการปลดปล่อยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจากกรอบคิดของสถาบันการศึกษาในอเมริกา การกำเนิดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในภูมิภาค และการศึกษาดูงานนอกสถานที่ Development of Southeast Asian Studies, from the writings of native and foreign scholars during the pre-colonial period of Western scholars during the colonial era, the writings of nationalists in the late colonial period, the emergence of Southeast Asian Studies in the US after decolonization, the trend turning away from the US model towards the indigenization of Southeast Asian Studies, the establishment of Southeast Asian Studies within the region, and the field-trip.
– ทฤษฎีและแนวความคิดในการทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคก่อนสมัยใหม่ ตั้งแต่วิถีการผลิต โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม-การเมือง รัฐแบบจารีต และแบบแผนทางวัฒนธรรม Theories and concepts for understanding premodern Southeast Asia, including its mode of production, economic and socio-political structure, traditional state, and cultural pattern.
– ทฤษฎีและแนวความคิดในการทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะ แนวคิดเรื่องชาตินิยมและการเป็นรัฐชาติ ความเป็นสมัยใหม่-การสร้างความทันสมัย บูรพาคดีศึกษากับภาวะหลังอาณานิคม แนวคิดสังคมนิยม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดประชาธิปไตย แนวคิดอำนาจนิยม แนวคิดสตรีนิยม เพศสภาพ ชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน และสวัสดิการสังคม Theories and concepts for understanding modern Southeast Asia, including nationalism and nation-state, modernity and modernization, orientalism and post-colonial society, socialism, liberalism, democracy, authoritarianism, feminism, sexuality, ethnicity, identity, citizenship, human right, and social welfare.
– ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในยุคจารีตและสมัยใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ครอบครัว การใช้เวลาว่าง เพศสภาพ และแง่มุมอื่นๆ ของประสบการณ์ทางสังคมของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ A cultural and social history in traditional and modern Southeast Asia; discussion on topics of focusing on daily life, work, family, leisure, gender and other areas of social experiences.
– พลวัตและพัฒนาการของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของการค้าและเส้นทางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนยุคอาณานิคม ระบบเศรษฐกิจแบบอาณานิคมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (แบบทุนนิยมและแบบสังคมนิยม), การลงทุนจากต่างชาติและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ, การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ The dynamics and developments of economic space in Southeast Asia; discussion on geography of trades and trade-routes in pre-colonial Southeast Asia, colonial economic system and transformation of the economic structure in the region, capitalist economy and economic nationalism (capitalist model and socialist model), foreign investment and economic liberalization, economic regionalization.
– แนวคิดเสรีนิยมทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการปรับตัวของสถาบันทางอำนาจเมื่อเผชิญกับกระแสเสรีนิยม การต่อต้านกระแสเสรีนิยมจากอุดมการณ์และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ทั้งในแบบจารีตและแบบสมัยใหม่ ตลอดจนปฏิกิริยาของกองทัพ องค์กรศาสนา ขบวนการนิสิต องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และนักวิชาการ The political and economic liberalism in Southeast Asia; discussion on the adjustment of political institutions to the liberal trend, political and ideological resistance to liberalism from both traditional and modern institution, including responses by the armed forces, religious organizations, student movements, non-governmental organizations, mass media and academia.
– ความหลากหลายของศาสนาและความเชื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการเลือกรับปรับตัวและการพยายามอยู่ร่วมกันระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ การต่อรองระหว่างศรัทธาและเหตุผลในการสร้างความทันสมัยให้แก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแยกศาสนาออกจากสังคมการเมือง กระแสการกลับไปสู่หลักคำสอนดั้งเดิมและสถาบันทางศาสนาแบบจารีต การเคลื่อนไหวของศาสนาแบบประชานิยม ความผสมผสานทางศาสนาในยุคไร้พรมแดน การปรับตัวของศาสนาในยุคทุนนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Diversity of religious belief in Southeast Asia; discussion on topics of adaptation and co-existence between different religious groups, negotiation between faith and reason in modernizing Southeast Asia, secularization in Southeast Asia’s social and political domain, the rise of fundamentalist movements and the role of traditional religious institutions, popular religious movements, religious hybridity in the borderless era, the adaptation of religious institutions and practices to capitalist society, the relationship between religion and state in Southeast Asia.
– การสร้างมรดกโลกกับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาติและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการทำให้มรดกทางวัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมประเพณี พิพิธภัณฑ์และโบราณสถานในฐานะทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ The making of world heritage and the national identity and tourism industry in Southeast Asia; discussion on the commodification of cultural heritage, the invention of new traditions, museum and archaeological sites as cultural resources in Southeast Asia.
– แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ศักยภาพและโอกาสของภาครัฐ เอกชน และชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อการสร้างสรรค์การท่องเที่ยว กระบวนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบและแนวโน้มของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัศนศึกษานอกสถานที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง Concepts and theories of creative thinking and creative tourism, potentials of Southeast Asian governmental, private’s and community’s sectors in creative tourism, a paradigm of the sustenable development in creative tourism, forms and trends of creative tourism in Southeast Asia; students are required to take at least one field-trip in Southeast Asia.
– สื่อมวลชนในยุคปฏิวัติสื่อ การอภิปรายเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และแฟชั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สื่อเครือข่ายและระบบอินเตอร์เน็ตกับการสร้างความเป็นปัจเจกในยุคหลังวัฒนธรรมมวลชน อิทธิพลและผลกระทบของสื่อต่อสังคม วัฒนธรรม การเมือง ศาสนาและศีลธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Mass media in the age of media revolution; discussion on topics of the press, cinema, radio, television and fashion in Southeast Asia, including network media, the Internet and individualization in the post mass-culture era, the media’s influence on Southeast Asian society, culture, politics and morality.
– ภูมิทัศน์วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแนวโน้มความสนใจด้านวรรณกรรมศึกษา การอภิปรายเกี่ยวกับวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัยที่ได้รับคัดสรร โดยใช้แนววิเคราะห์ของทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์และให้ความสนใจในเรื่องวิธีคิด โครงสร้างทางอารมณ์ จิตสำนึก สภาวะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม A landscape of Southeast Asian literature and trends of the critical literary studies; discussion on selected contemporary literary cannons in Southeast Asia and will privilege on literary criticism theories and topics such as modes of thought, structures of feeling, consciousness, and the changing conditions of the socio-economic, political and cultural structure.
– แนวคิดและทฤษฎีด้านนิเวศวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติ ทฤษฎีสังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม บทบาทองค์กรสังคมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในระดับรากฐานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในประเด็นเรื่องดิน น้ำ และป่า ตลอดจนการจัดการปัญหามลพิษรูปแบบต่างๆ เช่น ขยะ น้ำ เสียง และอากาศ ทั้งในบริบทเมือง กี่งเมือง และชนบท ในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่สูง โดยใช้แนวคิดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมและการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์และค้นหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งประยุกต์เข้ากับบริบทและประสบการณ์ในการจัดการรูปแบบต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Concepts and theories of ecology, natural resources, environmental sociology, roles of organizations especially at grassroots level in managing sustainably on issues of land, water and forest, including the waste, water, noise, and air pollutions in urban, semi urban and rural areas, both in the basin and the highland; using social environmental impact assessment concept and a comparative study in analyzing and solving these problems, especially covering the risk and disaster management, applied for the management patterns in Southeast Asian contexts and experiences.
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา Seminar on a concerned particular issue in Southeast Asian studies.
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา Seminar on a concerned particular issue in Southeast Asian studies.
– การสัมมนาเพื่อมุ่งให้นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ โดยให้มีกระบวนการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมสัมมนา Seminar focusing on the progress report of the candidate’s dissertation, through a process of discussion and seminar.
– พัฒนาการของอาณาบริเวณศึกษาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การปะทะถกเถียงระหว่างการศึกษาในสาขาวิชากับการศึกษาที่มีจุดเน้นในเชิงอาณาบริเวณ ทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของพื้นที่เฉพาะกับทฤษฎีแบบสากลครอบจักรวาล การทำให้ทฤษฎีแบบยุโรปกลายเป็นทฤษฎีชายขอบและแนวคิดแบบจำกัดขอบเขตการอธิบายในเชิงพื้นที่ อาณาบริเวณศึกษากับทฤษฎีโลกาภิวัตน์ Development of area studies after WWII, tensions between discipline-based and area-focused studies, area-based theories and transcendental theories, provincializing European theories and area-focused concept, area studies and globalization theory.
– นักคิดคนสำคัญทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ร่วมสมัย โดยเลือกอ่านและอภิปรายเกี่ยวกับงานหลักของนักคิดคนสำคัญจากทฤษฎีโครงสร้างนิยม, มาร์กซิสม์, ทฤษฎีแนววิพากษ์, ทฤษฎีรื้อสร้าง, หลังโครงสร้างนิยม, ทฤษฎีหลังสมัยใหม่, สัญศาสตร์, ทฤษฎีวรรณกรรม, เพศวิถี, อัตลักษณ์ แนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดเรื่องยุคสมัยของมนุษยชาติ และแนวคิดแบบหลังมนุษยนิยม Influential contemporary thinkers in social sciences and humanities; students required to read and discuss on selected major texts written by thinkers in structuralism, Marxism, critical theory, deconstruction, poststructuralism, postmodernism, semiotics, literary theory, gender studies, identity, postcolonialism, the anthropocene concept, and posthumanism.
– ความขัดแย้งตึงเครียดในประวัติศาสตร์นิพนธ์กับสภาวะการเป็นองค์ประธานในการเปลี่ยนแปลงและการเขียนประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อค้นหาและรื้อฟื้นเสียงความทรงจำและประสบการณ์ที่ถูกกดทับของผู้ถูกยึดครองเป็นอาณานิคมและถูกทำให้เป็นชายขอบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเมืองของประวัติศาสตร์นิพนธ์ การผลิตสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ และวาทกรรมแบบท้าทายต่อต้านประวัติศาสตร์กระแสหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Tensions in Southeast Asian historiography and its subjectivity, in order to re-articulate repressed voices, memories, and experiences of the colonized and the marginalized people in Southeast Asia; discussion on topics of the politics of historiography, production of historical knowledge, and contesting historical discourses in Southeast Asia.
– แนวคิดและทฤษฎีการจัดการวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ความสำคัญและความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมในมิติเศรษฐกิจ ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัฒนธรรมและการเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอผลงานการศึกษาการจัดการวัฒนธรรม Concepts and theories of cultural management and cretive economy, culture in the economic dimension, contemporary issues on the creation of value added culture and cultural resources, including its impacts in Southeast Asian political, economic and social context; students are required to present an individual study of the cultural management.
– พรมแดนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ความสำคัญต่อความเข้าใจเชิงลึกทางทฤษฎีและพื้นที่กรณีศึกษา อภิปรายประเด็นต่างๆ ว่าด้วยรัฐชาติ, ชาติพันธุ์, เพศสภาพ, แรงงาน, ความเป็นลูกผสมและความรุนแรง รวมถึงการเปลี่ยนผ่านที่ส่งผลสำคัญต่อแนวคิดและหน้าที่ของพรมแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ A study of borders in Southeast Asia, privileging on theoretical insights and sites; discussion on topics, including nation-state, ethnicity, gender, labor, hybridity and violence, and transitions that decisively affected the concept and fuction of borders within Southeast Asia.
– แนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในสังคมแบบจารีตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการใช้ทรัพยากรซึ่งสัมพันธ์กับพื้นที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ การขยายตัวของประชากร กำเนิดรัฐชาติสมัยใหม่ และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์และผลกระทบต่อภูมิทัศน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเคลื่อนไหวของขบวนการด้านสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Concepts of the relationship between human beings and nature in traditional societies of Southeast Asia; discussion on topics of changes in the pattern of natural resources’ usage and how these changes are linked to the cultural domain, population expansion, birth of the nation-state, and economic, including topics such as social and political changes that have led to environmental crisis, the rise of the environmental movement in Southeast Asia.
– การเจ็บไข้ได้ป่วยและการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โลกานุวัตน์ของโรคหลังการค้นพบโลกใหม่เมื่อ ค.ศ.1492 การกำเนิดของการแพทย์แบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วาทกรรมทางการแพทย์และการมีประชากรสุขภาพแข็งแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณสุขและการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคหลังอาณานิคม The disease and medical practices in Southeast Asia, the globalization of diseases after the discovery of New World in 1492, the birth of modern scientific medicine and its influence in Southeast Asia, medical discourse and the healthy population in Southeast Asia, public health and medicine in postcolonial Southeast Asia.
– ระบบของเพศสภาพ เพศวิถี และการเคลื่อนไหวเรื่องเพศสภาพ-เพศวิถีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย การสร้างความรู้และการปรับเปลี่ยนความรู้ในเรื่องเพศ ญาณวิทยาสตรีนิยมและจุดยืนในการสร้างความรู้ที่มาจากเพศที่หลากหลาย Gender, sexuality and its movements in contemporary Southeast Asia; discussion on topics of knowledge formations and the reposition of sexual knowledges, feminist epistemology and feminist stance in knowledge formations from sexuality’s diversity.
– จารีตการผลิตงานนิพนธ์ทางพุทธศาสนา สำนักคิดและนิกายต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชีวิตแบบชาวพุทธและการปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวันของสังคม พุทธศาสนาแบบประชานิยมกับโลกทางวัตถุ องค์กรของคณะสงฆ์กับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Traditions of the Buddhist cannons and its commentary texts, schools of thought, and sects in Southeast Asia, Buddhist lives and everyday life practices of the society, popular Buddhism and the material world, traditional religious institutions such as Sangha organization and the politics in Southeast Asia.
– ภาพรวมของประเด็นปัญหาหลักในการวิเคราะห์การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา การเปลี่ยนแปลงในเรื่องโครงสร้างของรัฐ ชนชั้น และการก่อตัวของอัตลักษณ์ การเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่และการเกิดสำนึกความเป็นชาติในยุคอาณานิยม ประเด็นปัญหาสำคัญในการเมืองร่วมสมัย เช่น การเมืองแบบเงินตรา ประชาสังคม ความขัดแย้งทางชนชั้น การต่อสู้ทางการเมืองในเรื่องอัตลักษณ์ทางศาสนา อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ An overview of major themes in the contemporary Southeast Asian politics; the transformation of state structures, class, and identity formation; the emergence of modernity and nationalist consciousness during the colonial era; contemporary themes such as money politics, civil society, class conflict and struggles over religious, ethnic, and regional identities in Southeast Asia.
– แนวคิดทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย ทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่ การระดมทรัพยากร กรเคลื่อนไหวทางสังคมแนวเดิมและแนวใหม่ การเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนและรัฐชาติ บทบาทของภาคประชาสังคมและภาคพลเมืองหรือภาคประชาชนในการจัดการความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมในบริบทพื้นที่ โดยวิเคราะห์แนวคิดและรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางสังคมขององค์กรทางสังคม ปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้โดยอาศัยการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เน้นความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษา Concepts and theories of social movement including collective behavior, resource mobilization, old and new social movement, and transnationalism; roles of civil society and citizen politics and people’s politics in conflict management caused by insecurity context of socio-economic, politics and culture; analysis the concept and forms of social movement launched by social organizations; problems or obstructions and solutions for active social movement focusing on equality, and human rights in Southeast Asian context as case study.