การใช้งานระบบจัดเก็บเอกสารหลักฐานสำหรับการประกันคุณภาพ(ระดับหลักสูตร)ภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร

เข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลได้ที่ http://www.qs.nu.ac.th/fileche58/ และกดเลือก “การประเมินระดับหลักสูตร” ///////////////////////////////////////////////////////////////// ขั้นตอนที่ 1 เลือก คณะ/วิทยาลัย > หลักสูตร > องค์ประกอบ ///////////////////////////////////////////////////////////////// ขั้นตอนที่ 2 กดปุ่ม  เลือกไฟล์(Choose File) และเลือกไฟล์เอกสาร/หลักฐาน (***กรุณาบันทึกชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษและใช้นามสกุล PDF***) เมื่อเลือกไฟล์แล้วให้กด Upload และนำ Link ที่ได้ ไปใช้งานในระบบCHE QA 3D Online  

รายงานการประชุม คณะกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2562 (วันจันทร์ ที่ 13 พฤษภาคม 2562) ครั้งที่ 1/2560 (วันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤษภาคม 2560) ครั้งที่ 1/2558 (วันอังคาร ที่ 17 พฤศจิกายน 2558) ครั้งที่ 1/2557 (วันพฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน 2557) ครั้งที่ 3/2556 (วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม 2556) ครั้งที่ 2/2556 (วันพฤหัสบดี ที่ 18 กรกฎาคม 2556) ครั้งที่ 1/2556 (วันอังคาร Read more

พูดถึงประเพณีการรับน้อง-สารจากคณบดี ฉบับที่ 8

ประเพณีการ “ว๊ากน้อง” ได้เริ่มขึ้นในสถาบันการศึกษาในยุโรปมาเกือบ 700 ปีมาแล้ว โดยมีเป้าประสงค์เพื่อแสดงการต้อนรับนิสิตใหม่เข้าสู่รั้วของมหาวิทยาลัย เนื่องจากในสมัยนั้น นิสิตจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า นิสิตใหม่ทั้งหลาย เป็นพวกไม่มีอารยธรรม และต้องการระบบขัดเกลาใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหมาะสม จากรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อน และมีความคุ้นเคยกับกฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆดีกว่า ทั้งยังเชื่อว่า ประเพณีดังกล่าวจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และกิริยามารยาทที่เหมาะสมให้แก่นิสิตใหม่ โดยประเพณีดังกล่าว ได้ถูกยอมรับ และยึดถือปฏิบัติสืบต่อมาในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยออ๊กฟอร์ด, แคมบริดส์, ฮาวาร์ด, เยล และโรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ส เมื่อเวลาผ่านไป ประเพณี “ว๊ากน้อง” ได้ถูกทำให้มีความเป็นสถาบัน ในแบบที่ยากที่จะยอมรับได้ ซึ่งรวมไปถึง การบังคับให้นิสิตใหม่ทำตัวเป็นคนรับใช้ของนิสิตเก่า ถูกลงโทษ บางครั้งถูกล่วงละเมิดและทำให้เจ็บช้ำน้ำใจทั้งทางจิตใจและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการล่วงละเมิดทางเพศ การลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการกีดกันเหยียดหยาม Read more

สิทธิมนุษยชน-สารจากคณบดี ฉบับที่ 6

สิทธิมนุษยชน หมายความถึง หลักการทางคุณธรรม หรือบรรทัดฐานที่ช่วยสร้างมาตรฐานในการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ โดยทั่วไป สิทธิมนุษยชน ได้รับการคุ้มครองและปกป้องโดยกฏหมายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ สิทธิมนุษยชน จึงเป็นรากฐานทางด้านสิทธิที่สำคัญ ที่ปัจเจกบุคคลทุกคนควรได้รับ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่ ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง ที่มาของชาติพันธุ์ หรือปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน จึงเป็นค่านิยมสากลที่คนในโลกมนุษย์ใช้และยึดถือร่วมกัน หลักการและคำสอนทางด้านสิทธิมนุษยชน จึงเป็นสิ่งที่ได้รับการยึดถือและปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลกมานานแล้ว และเป็นแนวคิดที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาและยึดถือปฏิบัติเรื่อยมา โดยมีปัญญาชนและนักคิด ตลอดจนนักทฤษฎีทางด้านการศึกษา ได้เสนอแนวคิดไว้มากมาย ตัวอย่างเช่น John Locke,Francis Hutcheson และ Jean-Jacques Burlamaqui และแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาทกรรมทางการเมืองในประเทศต่างๆมาโดยตลอด ดังพบในกรณีตัวอย่างของการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส           Read more

การก่อตั้งสำนักคิดทฤษฎีและการปฏิบัติด้านสังคมศาสตร์-สารจากคณบดี ฉบับที่ 5

สังคมของเราถูกสร้างขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย คนเราทำสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน บางคนมุ่งค้นหาคำตอบให้กับสิ่งที่ท้าทายในชีวิตที่ตนเองต้องเผชิญ บางคนดูแลตัวเอง ครอบครัว และสังคมของพวกเขา คนแต่ละคนทำผิดพลาด ทำสิ่งต่างๆตามความลุ่มหลงของตนเอง เกลียดและรัก ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง คนแปลกหน้า และศัตรู ด้วยรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป บางคนทำสิ่งต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง ตามแรงดลใจและความฝันที่ตนเองมี การกระทำสิ่งต่างๆ ข้างต้นของมนุษย์ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับชาติ จนถึงระดับนานาชาติ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมายที่เกิดขึ้น ทั้งด้านบวกและด้านลบจึงเป็นสิ่งที่มาพร้อมๆ กับความทันสมัย ผลลัพธ์เชิงบวก ได้แก่ การมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็มีผลลัพธ์เชิงลบจำนวนมากที่ติดตามมากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิ ความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างประชากร วิกฤตเศรษฐกิจ การก่อกำเนิดหรือการเสื่อมสลายของความเป็นเมืองต่างๆ ความไม่เท่าเทียมกัน การปฏิวัติ การกีดกันแบ่งแยก สงคราม และความยากจน Read more

เสรีภาพทางวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา-สารจากคณบดี ฉบับที่ 4

เสรีภาพทางวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เสรีภาพ หมายถึง การมีสิทธิ์และและความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามความต้องการของบุคคล ดังนั้น เสรีภาพ จึงมีความสำคัญมากในมหาวิทยาลัย เมื่อนิสิต นักศึกษา จะต้องถูกสอนให้สามารถคิดและกระทำด้วยความรับผิดชอบทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เสรีภาพทางวิชาการ จึงเป็นการให้คำจำกัดความที่สำคัญมากสำหรับมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ในยุคแรกเริ่ม เมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการสอนและการเรียนรู้ ณ เวลานั้นเอง ที่หลักการของเสรีภาพทางวิชาการได้ถูกก่อกำเนิดขึ้นในมหาวิทยาลัย เสรีภาพทางวิชาการ จึงหมายถึง เสรีภาพที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน และครอบคลุมถึงการเรียนรู้ทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เสรีภาพทางวิชาการ คือ กลไกที่ความคิดทั้งหมดจากทุกแหล่งสามารถถูกสำรวจตรวจค้นได้ เสรีภาพทางวิชาการ จึงเป็นหนทางที่ความรู้ ที่ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในรูปของข้อมูลข่าวสารถูกสื่อสารออกไป เสรีภาพทางวิชาการคือ ความสร้างสรรค์ที่สามารถเติบโต และเป็นหนทางที่นวัตกรรมจะถูกบ่มเพาะ ภาวะผู้นำจะถูกสร้าง และความรับผิดชอบจะถูกพัฒนาขึ้น ในโลกทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อคนทุกหมู่เหล่า ยิ่งนานวัน ความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันในการกระทำกิจกรรมต่างๆในโลกธุรกิจยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น Read more

ร่วมสร้างสรรค์คณะสังคมศาสตร์ สู่องค์กรแห่งนวัตกรรม-สารจากคณบดี ฉบับที่ 3

ร่วมสร้างสรรค์คณะสังคมศาสตร์ สู่องค์กรแห่งนวัตกรรม          นวัตกรรมทางสังคม หมายความถึง กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และสื่อออนไลน์ ที่ผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน นอกจากนี้ นวัตกรรมทางสังคมยังหมายถึง วิธีการแก้ปัญหาสังคมและความต้องการด้านต่างๆของคน ตัวอย่างเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความยั่งยืน  เพื่อสร้างคุณค่า คุณประโยชน์ขั้นพื้นฐานแก่สังคมโดยรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล กลไกของนวัตกรรมทางสังคม           กลไกของนวัตกรรมทางสังคม ได้แก่ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การแลกเปลี่ยนความคิดและความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ตัวอย่างเช่น การลงทุนในโครงการที่สร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม การแบ่งปันกิจกรรมทางสังคม และการใช้อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้แก่ การตรวจตราการเปลี่ยนแปลงในบทบาท ของความสัมพันธ์ และความรับผิดชอบในภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคส่วนที่ไม่หวังกำไร ตลอดจน Read more

การสร้างเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยทางสังคมสำหรับนิสิต-สารจากคณบดี ฉบับที่ 2

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกเราทุกวันนี้ และการที่เราต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสังคมที่ถาโถมเข้ามามากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ล้วนพยายามที่จะแสวงหาหนทางที่มีประสิทธิภาพที่จะจัดการกับปัญหาเร่งด่วนและสำคัญๆ โดยวิธีการหนึ่งที่จะจัดการกับสภาพปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การให้ข้อมูลแก่นิสิต เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในภาวะที่ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การค้ามนุษย์ การพนัน การทะเลาะวิวาท ความรุนแรงทางเพศ และการเข้าไปพัวพันกับอาชญากรรม ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของภยันตรายมากมายที่นิสิตต้องเผชิญ และการเอาชนะประเด็นปัญหาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆให้หมดไป คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดเตรียมแนวทางเพื่อช่วยเหลือนิสิตขึ้น โดยใช้การสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ทั้ง โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนิสิต และฝึกทักษะทางสังคมให้แก่นิสิต ด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหาในเชิงรุก โดยเน้นให้นิสิตทุกคนได้รับการดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 2 ที่แห่งนี้นิสิตทุกคนมีโอกาสที่จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีประสบการณ์ในทุกประเด็นปัญหาทั้งในด้านการเรียนและปัญหาส่วนตัว เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยคณะฯจะให้การสนับสนุนนิสิตในการแสวงหาโอกาสในการสร้างเสริมทักษะชีวิต เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์และมีความสุขในการใช้ชีวิตขณะที่ศึกษาอยู่ที่คณะของเรา เพราะความตระหนักว่านิสิตของเราทุกคนคือคนสำคัญ ดิฉันต้องการเรียนให้ทราบว่าศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 Read more

ยินดีต้อนรับจากใจ-สารจากคณบดี ฉบับที่ 1

เนื่องในโอกาสที่ 2 ของการกลับมาดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดิฉันมีพลังและความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยมที่จะสร้างความแตกต่างเชิงสร้างสรรค์ ให้เกิดแก่ นิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคม ดิฉันเชื่อมั่นว่า คณะของเราจะประสบความสำเร็จได้ด้วยการสร้างไมตรีจิตที่ดีต่อกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และมีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าในการพัฒนาคุณภาพของงานให้สูงยิ่งขึ้น ด้วยยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และจรรยาบรรณที่วางอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้บุคลากรในคณะทุกท่านได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ มีสวัสดิการที่ดี  พัฒนาศักยภาพทางวิชาการขั้นสูงสำหรับคณาจารย์ และจัดเตรียมระบบสนับสนุน และการมีส่วนร่วมในชุมชนให้แก่นิสิต เพื่อเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งดิฉันมีความเชื่อมั่นว่าคณะของเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน พวกเราจะพยายามในทุกทางเพื่อสร้างความมั่นใจว่า บัณฑิตจะเป็นผู้ที่มีศักยภาพ และมีส่วนช่วยเหลือสมาชิกในสังคม พวกเราสามารถสนับสนุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้บัณฑิตสามารถใช้ชีวิต ทำงาน และแข่งขันในโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น ด้วยความดูแลและเอาใจใส่จากคณาจารย์ และบุคลากร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่จะให้การสนับสนุนต่อการกำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเอง และประสบผลสำเร็จตามฝันที่ตั้งใจไว้ วิสัยทัศน์ใน 4 ปี Read more