“วันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ ครบรอบ 21 ปี”

ขอเชิญบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรและผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมโครงการ “วันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ ครบรอบ 21 ปี” กิจกรรมภายในงาน• ทำบุญใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป• มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรแก่บุคลากรดีเด่นคณะสังคมศาสตร์• มอบของที่ระลึกแก่บุคลากรและนิสิตที่สร้างชื่อเสียงให้กับคณะสังคมศาสตร์• มอบเกียรติบัตรแก่นิสิตคณะสังคมศาสตร์ที่มีผลการเรียนดี• มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตคณะสังคมศาสตร์• บูธนิทรรศการแผนที่วัฒนธรรมอาหาร 4 ย่าน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก• บูธอาหารจากนิสิตต่างชาติ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567เวลา 09.00 – 15.00 น.ณ บริเวณโถงชั้น 1 คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร แบบตอบรับเข้าร่วมโครงการhttps://shorturl.at/xLHIM

:: ภาพกิจกรรม :: Meet and Share ครั้งที่ 3/ 2567

เมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการ Meet and Share ครั้งที่ 3/ 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นเกี่ยวกับเกณฑ์ในการประเมินภาระงานรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการจัดสรรค์พื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับบุคลากรของคณะ และประเด็นอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคณะสังคมศาสตร์ ให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ การวิจัย ตลอดจนการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 1 ชั้น 2 อาคารคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

1 ตุลาคม 2567 วันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบปีที่ 21

1 ตุลาคม 2567 วันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรครบรอบปีที่ 21

แนะนำหนังสือใหม่ ” “เทพชายแดนไม่มีพรมแดน เรื่องเล่าชาติพันธุ์กับการสร้างถิ่นที่ ในธรรมาภิบาลท้องถิ่นของคนไทในเวียดนาม”

แนะนำหนังสือใหม่ ผลงานบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ ชื่อหนังสือ: “เทพชายแดนไม่มีพรมแดน เรื่องเล่าชาติพันธุ์กับการสร้างถิ่นที่ ในธรรมาภิบาลท้องถิ่นของคนไทในเวียดนาม” ผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คำนิยมในภาพรวมหนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอข้อค้นพบสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยวิธีวิทยาที่เริ่มจากการเชื่อมโยงความเคลื่อนไหวทางจิตวิญญาณรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มชนชาวไทตามชายแดนเวียดนามและลาว ในฐานะที่เป็นปฏิบัติการทางการเมืองของพื้นที่ด้วยเรื่องเล่าขนาดเล็ก ที่ชาวบ้านนำไปต่อรองและช่วงชิงความหมายกับเรื่องเล่ากระแสหลักของรัฐที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสู่สังคมสมัยใหม่ ตามมาด้วยการนำแนวคิดโครงสร้างความรู้สึกของเรย์มอนด์ วิลเลี่ยมส์ (Williams, 1979)  มาเสริมความหนักแน่นในการวิเคราะห์ปฏิบัติการต่างๆ ข้างต้น เพื่อที่จะประมวลเป็นข้อถกเถียง และข้อค้นพบสำคัญที่ว่า ปฏิบัติการทางการเมืองของพื้นที่รูปแบบต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงตามที่กล่าวมา เป็นการแสดงถึงอารมณ์ที่หลากหลายในโครงสร้างความรู้สึกของชาวบ้าน ซึ่งได้แสดงออกมาผ่านการเคลื่อนไหวด้วยการฟื้นฟูด้านจิตวิญญาณที่หลงเหลือมาจากอดีต ในการเผชิญหน้ากับอำนาจของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ด้วยความหวังที่เกิดการก่อตัวขึ้นมาใหม่ของทางเลือกที่แตกต่าง ในการเปลี่ยนแแปลงการดำรงชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ โดยที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมจัดการด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ สามารถอ่านได้ที่• ห้องอ่านหนังสือคณะสังคมศาสตร์ • สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร  

ขอแสดงความยินดีกับ “นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร” ในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับทุนการศึกษา “มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย” ประจำปี 2567 (AMCHAM University Scholarship 2024) จาก American Chamber of Commerce (AMCHAM)

ขอแสดงความยินดีกับ“นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร” ในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับทุนการศึกษา“มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย” ประจำปี 2567(AMCHAM University Scholarship 2024) จาก American Chamber of Commerce (AMCHAM) รายชื่อนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษา• นางสาวคีตกานท์ เฉลิมชัย• นางสาวณิชาภัทร มุสิกะปาน• นางสาวดมิสา สุขจำรัส• นางสาวพรสินี หน่อคำหล้า• นางสาววิมลสิริ เกิดบุญ• นางสาวอังศุมณี รัตนสิงห์ อาจารย์ผู้กำกับดูแล• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรไท โสภารัตน์• อาจารย์พงศ์ศิร คงแถวทอง

ขอแสดงความยินดีกับ “นายพงศกร เบ็ญจขันธ์” ในโอกาสผ่านการทดสอบความรู้ หลักสูตรมาตรฐานวิชาชีพด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate in Public Procurement : e-CPP)

ขอแสดงความยินดีกับ“นายพงศกร เบ็ญจขันธ์”ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ สังกัดงานพัสดุสำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสผ่านการทดสอบความรู้ หลักสูตรมาตรฐานวิชาชีพด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate in Public Procurement : e-CPP) A1 หลักสูตรเตรียมความพร้อม รุ่นที่ 2/2567จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ———————————– จากผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 1,541 คนทั้งนี้ เป็นผู้มีสิทธิ์สอบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 27 คนซึ่งมีผู้ผ่านการทดสอบทั้งหมด จำนวน 391 คนและมีผู้ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 6 คน

:: ภาพกิจกรรม :: การประชุมเจรจาและหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย ด้านประชาคมอาเซียนและการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดการประชุมเจรจาและหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยด้านประชาคมอาเซียนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยจัดขึ้นในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 09.00-12.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 1 อาคารคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกการประชุมในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหารือแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งสองหน่วยงาน โดยมุ่งเน้นในด้านการวิจัยและการพัฒนาวิชาการ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและนิสิตร่วมกัน โดยทั้งสองหน่วยงานมีความเชื่อมโยงและบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนและส่งเสริมการดำเนินงานที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายและการดำเนินงานทางการเมืองระดับประเทศ การร่วมมือครั้งนี้ทำให้สำนักงานฯ สามารถเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนมีมิติที่ลึกซึ้งและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของภูมิภาคทางด้านคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านสังคมศาสตร์แล้ว คณะยังมีบทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ที่สามารถบูรณาการข้อมูลและงานวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการศึกษาเชิงปฏิบัติที่สนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งในช่วงแรกของการหารือเป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยและเสนอข้อคิดเห็นจากงานวิจัยที่ได้เดินทางไปศึกษาวิจัย ณ Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านนิติบัญญัติและด้านต่างประเทศในบริบทประชาคมอาเซียน

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านนิติบัญญัติและด้านต่างประเทศในบริบทประชาคมอาเซียน โดยได้รับเกียรติจากนายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมปาฐถาในหัวข้อ “พิษณุโลกกับบทบาทการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงอาเซียน” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงความพร้อมของจังหวัดพิษณุโลก ในฐานะศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับประเทศอาเซียน ทั้งในด้านการศึกษา การค้า การขนส่ง และระบบสุขภาพ โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันการศึกษาภายในจังหวัด สามารถเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เมียนมา และกัมพูชา ส่งเสริมการวิจัยและแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็งในภูมิภาคได้นอกจากนี้ พิษณุโลกยังมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดตัดของเส้นทางการค้าและการขนส่งที่สำคัญ ทั้งทางเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ส่งผลให้พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและบริการไปยังประเทศอาเซียน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดยิ่งช่วยดึงดูดการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านในด้านการผลิตและการค้า ในด้านการขนส่ง พิษณุโลกมีความพร้อมทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางอากาศ สนามบินพิษณุโลกเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในภูมิภาค ส่งเสริมให้จังหวัดนี้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญต่อการค้าและการขนส่งของอาเซียน ขณะเดียวกันความพร้อมด้านระบบสุขภาพของพิษณุโลกสามารถรองรับผู้ป่วยในจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงในอนาคตอาจจะสามารถรองรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านได้ Read more

:: ภาพกิจกรรม :: บุคลากรคณะสังคมศาสตร์เข้าร่วมพิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตรการแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบปีที่ 23

เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 08.45 น. ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร. พิษนุ อภิสมาจารโยธิน รักษาการในตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยนางวนมาลินทร์ มหะพันธ์ หัวหน้างานอำนวยการ และนางกมลรัตน์ เพื่องปรางค์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานยุทธศาสตร์และบุคคล คณะสังคมศาสตร์ ร่วมพิธีทำบุญพร้อมมอบช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีแด่ รองศาสตราจารย์ สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตรการแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบปีที่ 23

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการสาระพัฒน์เพื่อสังคมที่ยั่งยืน ปีที่ 1

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการ “สาระพัฒน์เพื่อสังคมที่ยั่งยืนปีที่ 1″ หัวข้อ “Colors of Equality สีสันต์แห่งความเท่าเทียม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 5 ที่มุ่งบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน (Achieve gender equality and empower all women and girls) ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การประกวดคลิปสั้น TikTok การเดินแบบแฟชั่นโชว์ Gender Neutral Style กิจกรรมตอบปัญหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ และบูธกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และทักษะในหลายมิติโดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนาความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงจะได้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสังคมที่ให้ความเคารพในความแตกต่างและความหลากหลาย ทั้งในแง่ของเพศสภาพ บทบาททางสังคม Read more