ความงามคืออะไร…อธิบายความงามในแง่มุมของจิตวิทยา

ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels ความงามคืออะไร…อธิบายความงามในแง่มุมของจิตวิทยา เมื่อพูดถึงความงาม…แต่ละคนอาจมองและนิยามแตกต่างกันไป บ้างก็บอกว่าระบุได้จากรูปลักษณ์เท่านั้น บางคนบอกว่าหน้าตาไม่เพียงพอแก่การนิยามการมีบุคลิกภาพที่ดีต่างหากคือความงามอย่างแท้จริง หรือบางคนก็ว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมไม่สำคัญเลยเพราะความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งไหนคนๆนสิ่งที่เราให้ความสำคัญก็มักจะงดงามสำหรับเราเสมอ อย่างเช่น การที่พ่อกับแม่มักจะมองว่าลูกของตนสวยงามเสมอไม่ว่าจะมีรูปลักษณ์หรือบุคลิกภาพเช่นไรก็ตาม สรุปแล้วความงามมันคืออะไรกันแน่  เราใช้อะไรในการมองกันนะว่าสิ่งๆนี้มันงาม แล้วความงามนะมันต้องงามแค่ไหนถึงจะระบุได้ว่างาม เรามาหาคำตอบกันเถอะ! ความงามคืออะไรนะ? มันก็คือ การที่เรา”นิยาม”หรือให้ความหมายแก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกพอใจหรือมีความสุขที่จะได้มอง ดังคำที่หลายคนเคยพบเจอว่า “ความงามนั้นอยู่ที่คนจะมอง” โดยการที่เรานิยามมันก็ไม่ได้ผุดขึ้นมาในอากาศ แต่เป็นเพราะการรู้รับผ่านประสบการณ์ในอดีตของเราที่ได้รับการเรียนรู้มาว่า อะไรคือความงาม อะไรคือไม่ตามสิ่งแวดล้อมที่เราได้อยู่ทั้งสื่อต่างๆที่เราเจอมาหรือการสั่งสอนจากผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ถ้าอยู่ในอเมริกาการมีโหนกแก้มชัดๆนั้นถือว่าเป็นคุณลักษณะของความงามแต่สำหรับประเทศเรากลับไม่ได้มองสิ่งนั้นว่าเป็นความงาม เป็นต้น และเมื่อเราได้เรียนรู้พร้อมระบุลักษณะของความงามไว้ในสมองของเราแล้ว ดังนั้นครั้งต่อไปที่เรามองสิ่งเร้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลที่เราบรรจุไว้ก็จะทำให้สมองตีความได้ว่าสิ่งนี้“งาม”      อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าความงามนั้นคือการนิยามมันขึ้นมา แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็สามารถกำหนดมันขึ้นมาได้ละสิ? เราก็จะงามด้วยใช้ไหมถ้าเรากำหนดมันให้ตรงลักษณะของความเป็นเรา? แน่นอนว่าได้…แต่น่าเศร้าที่ต้องบอกว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนการนิยามของมวลชนหรือมาตรฐานความงามที่มีในสังคมได้ แต่ผู้เขียนก็มีข่าวดีจะบอกคือถึงเราจะเปลี่ยนไม่ได้ แต่เราสามารถเพิ่มมันเข้าไปได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีกระแส body positivity Read more

กักตัวอย่างไรให้มี ‘ความสุข’ ในสถานการณ์ COVID-19

อ้างอิงรูปภาพ : https://unsplash.com นางสาวอดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์ ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร กักตัวอย่างไรให้มี ‘ความสุข’ ในสถานการณ์ COVID-19           ในสถานการณ์ที่ COVID-19 กำลังระบาดอย่างหนัก และอัตราการติดเชื้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาตรการป้องกัน COVID-19 หนึ่งในนั้นคือ การกักตัวอยู่ที่บ้าน หรือ work from home ทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างมาก ซึ่งหลายคนกักตัวอยู่บ้านนาน ๆ ไม่ค่อยได้พบเจอผู้คนหรือสังคม ก็อาจจะทำให้ประสบปัญหา เหงา เบื่อ ไม่อยากทำงาน อุดอู้อยู่แต่ในห้องจนทำให้เกิดความเครียดและมีความวิตกกังวล อารมณ์เสียง่ายขึ้น ทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ ตลอดจนอาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ แล้วจะทำยังไงให้ไม่ต้องเจอกับสภาวะเหล่านี้ล่ะ ? Read more

ในวันที่ไม่เป็นดั่งหวัง ใช้พลังเงียบเป็นสิ่งนำทางจิตใจ

อ้างอิงรูปภาพ : Minsnapsnap ในวันที่ไม่เป็นดั่งหวัง ใช้พลังเงียบเป็นสิ่งนำทางจิตใจ ในโลกที่เราถูกเชื่อมต่อไปด้วยการแข่งขัน และดำเนินไปด้วยจังหวะเวลาชีวิตที่เร่งรีบ หลายครั้งที่คนเราต้องการอยากจะมีชีวิตอยู่อย่างที่หวัง ได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ได้พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่ชอบ ได้ประกอบอาชีพที่มั่นคง มีคนรักที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น มีเพื่อนฝูงมากมายรายล้อม และไม่มีเรื่องที่ทำให้ใจขุ่นมัว สิ่งเหล่านี้นับเป็นฝันของมนุษย์คนหนึ่ง คงจะดีไม่น้อยถ้าคนเราได้มีชีวิตที่เป็นไปตามดั่งใจหวังทุกประการ พบเจอแต่ความสุข แต่ทว่าหากเรื่องดั่งกล่าว ไม่ได้เป็นไปตามดั่งที่คาดหวังไว้ อาจจะต้องพบอุปสรรคหรือความล้มเหลวบ้าง แล้วเราจะมีวิธีรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้ได้อย่างไร ? ในวันที่เจอเรื่องที่หมดหวัง รู้สึกทุกข์ใจ วุ่นวายใจ เรามักจะมีวิธีจัดการกับความรู้สึกหลากหลายวิธี เช่น เบี่ยงเบนความสนใจไปสนใจสิ่งอื่น การหางานอดิเรกทำเพื่อลดการสนใจเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ พยายามก้าวไปข้างหน้า กำหนดเป้าหมายใหม่ๆในชีวิต มีการยอมรับความผิดหวังเมื่อถึงจุดที่เข้าใจว่าความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดา ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน หรือ การทำใจให้สงบ เพื่อทบทวนเรื่องราวต่างๆ แต่ยังมีอีกวิธีนั่นก็คือ “ความเงียบ” เอร์ริง Read more

เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับเรื่องวุ่นบน #แฮชแท็ก

อ้างอิงรูปภาพ : Photo by NordWood Themes on Unsplash เรื่อง เมื่อวัยรุ่นต้องเผชิญกับเรื่องวุ่นบน #แฮชแท็ก เคยสังเกตไหม? ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เรามักจะเห็นสัญลักษณ์ # หรือที่เรียกกันว่า แฮชแท็ก ปรากฎอยู่บนสื่อสังคมออนไลน์ที่เราใช้งาน โดยเจ้าตัวแฮชแท็กนี้ เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างแพร่หลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งใน Twitter, Facebook, Line, Instagram, Tiktok หรือ Youtube และเราเคยสงสัยกันไหมว่าจุดเริ่มต้นของกระแสแฮชแท็กนั้นมาจากอะไร มีหน้าที่หรือบทบาทอย่างไร และเจ้าแฮชแท็กนี้ส่งผลกระทบอะไรต่อตัวเราบ้าง “จุดเริ่มต้น” ของกระแสแฮชแท็กเกิดขึ้นในปี 2007 บนทวิตเตอร์ของคุณ Chris Messina ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสังคมออนไลน์ ได้ทวีตเสมือนการชักชวนให้มาลองใช้แฮชแท็กในการจัดกลุ่มข้อความ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Read more

เมื่อฉันทำตัวตนหล่นหายไปในระหว่างการเติบโต

อ้างอิงรูปภาพ : https://unsplash.com/photos/5yn5rGI5IUw เมื่อฉันทำตัวตนหล่นหายไปในระหว่างการเติบโต            เคยไหม? กับการที่ต้องรู้สึกว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่และสิ่งที่ทำเรากำลังทำอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะเป็นหรืออยากจะทำมันเลย ต้องคอยรู้สึกว่าตัวเองนั้นล้มเหลวไปซะทุกอย่าง ไม่ว่าจะทำอะไรผลลัพธ์ที่ได้มาก็ไม่เป็นที่น่าพอใจเอาซะเลย หรือแม้แต่กับสิ่งที่คิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่นมาตลอดกลับกลายเป็นสิ่งธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำได้ไปซะงั้น แล้วอะไรคือสิ่งเราสามารถทำออกมาได้ดี? สิ่งที่เราชอบจริงๆ แล้วคืออะไร? จริงๆ แล้วตัวตนของเราเป็นยังไงกันแน่? วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ ‘Identity Crisis’ หรือ ‘วิกฤตแสวงหาตัวตน’           ‘Identity Crisis’ หรือ ‘วิกฤตแสวงหาตัวตน’ คือช่วงเวลาที่คนเราเกิดความสับสนในตัวเอง ค้นหาตัวเองไม่พบ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองชอบคืออะไร ไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง จึงมักทำให้เกิดความรู้สึกผิดหวังในตัวเองอยู่ซ้ำๆ ซึ่งเป็นวิกฤตที่มักจะเกิดขึ้นในวัยรุ่น Read more

เมื่อโรงเรียนกลายเป็นสถานที่ทำให้นักเรียนติดบุหรี่

ภาพโดย natureaddict จาก Pixabay นายธนภัทร จันทร์ดี ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร เมื่อโรงเรียนกลายเป็นสถานที่ทำให้นักเรียนติดบุหรี่           ในสมัยนี้ ปัญหาการสูบบุหรี่ยังมีอยู่มาก ซึ่งเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่มีเยอะมากที่สุดและสามารถขายได้อย่างถูกกฎหมาย สามารถเข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะเป็นวัยใดๆก็ตาม ส่งผลให้คนที่เข้าถึงนั้นติดบุหรี่ได้ง่าย โดยเฉพาะวัยที่กำลังเรียนอยู่(วัยเด็ก วัยรุ่น) เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่างๆได้ง่าย เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบลองผิดลองถูก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ยาก จึงมักเรียกกันว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ          การติดบุหรี่เริ่มจาก? มีงานวิจัยเปิดเผยว่า เนื่องจากบุหรี่เป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติซึ่งอนุญาตให้ใช้โดยไม่ผิดกฎหมาย คนในบ้านได้มีประสบการณ์สูบ ส่งผลมาให้วัยรุ่นได้มีโอกาสสูดดมกลิ่นบุหรี่ตั้งแต่เด็กจนคุ้นชิน หรือคนในบ้านทิ้งก้นบุหรี่จึงทำให้วัยรุ่นลองสูบก้นบุหรี่ที่ทิ้งไว้ บ้านจึงเป็นสถานที่ให้ลองสูบรายบุคคล เมื่อคุ้นกับการสูบแล้วจึงแอบเอาบุหรี่จากบ้านไปชวนเพื่อนๆในหมู่บ้านและในโรงเรียนให้ลองสูบ           บุหรี่เกิดขึ้นที่โรงเรียน? โรงเรียนเป็นสถานที่เจอกันง่ายและบ่อยที่สุดในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นที่กำลังเรียนอยู่ ถึงแม้ว่าทุกโรงเรียนจะมีนโยบายไม่ให้นักเรียนสูบบุหรี่ Read more

เด็กรุ่นใหม่ชอบอยู่ในโลกออนไลน์จริงหรอ?

ภาพโดย natureaddict จาก Pixabay เด็กรุ่นใหม่ชอบอยู่ในโลกออนไลน์จริงหรอ? “วันๆไม่ทำอะไรเอาแต่จ้องโทรศัพท์มือถือ” “ไม่หลับไม่นอนสักที เอาเล่นอยู่นั่นแหละ” คำพูดที่เรามักได้ยินจากผู้ปกครองของเด็กหลายคน ที่เห็นลูกของตนกำลังนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆ ในการใช้งานโซเชียลมีเดีย เล่นเกมส์ หรือความบันเทิงต่างๆ ทำให้เรามักเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่หรือเด็กในปัจจุบัน มีพฤติกรรมในการติดโซเชียลมีเดียอย่างรุนแรง จนทำให้มีการเสพติดการใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้น เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนมักจะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเสมอ การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Twitter Instagram ฯลฯ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับจากการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่าเยาวชนเกือบครึ่งยอบรับว่าตนเอง “ติดสื่อออนไลน์” และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยในการสื่อสารให้มีความสะดวกมากขึ้น คำถามคือทำไมเด็กรุ่นใหม่จึงชอบอยู่ในโลกออนไลน์?           จากการศึกษาเรื่องทำไมโซเซียลมีเดียถึงมีพลัง ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นว่าการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลของกันและกันในโลกออนไลน์มีความสะดวกสบาย และมีช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลที่มีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การอยู่ในโลกออนไลน์ยังสามารถทำอะไรก็ได้ตามความปรารถนา Read more

How to เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์

ขอขอบคุณภาพจาก : ISTOCKPHOTO.COM/ALEKSANDARGEORGIEV  นางสาวพิริยา  พรมดี ผศ.ดร.กันตพัฒน์  อนุศักดิ์เสถียร How to เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ เคยไหม? รู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิและแรงจูงใจในขณะที่เรียนออนไลน์ สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงตอนนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยเป็นจำนวน 23,371 ราย จากการรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 และเพื่อเป็นการควบคุมสถานการณ์ของโรคไม่ให้มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากไปกว่านี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงออกมาตรการป้องกัน ส่งผลให้ทุกคนต้องปรับตัวในการใช้ชีวิต หนึ่งในนั้นก็คือวัยเรียนที่ต้องเปลี่ยนจากการเรียนในห้องมาเป็นการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งบริบทหลาย ๆ อย่างที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้เรียนหลาย ๆ คนมีแรงจูงใจในการเรียนลดน้อยลง เช่น สภาพแวดล้อม Read more

เพราะพวกเขาตัวใหญ่หรือเป็นฉันที่ตัวเล็กเกินไป?

ที่มารูปภาพ : https://info.getadministrate.com/blog/common-strategy-small-companies “คุณเคยรู้สึกไหมว่าเราเป็นใครกัน เป็นแค่ฝุ่นละอองในจักรวาลอย่างนั้นหรือ? ในขณะที่เรากำลังอยู่บนโลกและยังไม่ได้เริ่มสร้างยานอวกาศ แต่คนอื่นกลับไปถึงดาวอังคารหรือดาวพฤหัสบดีกันแล้ว..” ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ผู้คนต่างก็ให้คุณค่ากับความสำเร็จและการเป็นที่หนึ่ง ไม้บรรทัดที่สังคมหยิบยื่นมาให้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดว่าใครก็ตามที่ทำไม่ได้ตามมาตรฐานกำหนดจะกลายเป็นความบกพร่องของสังคมนั้น ๆ และถูกทอดทิ้งเอาไว้ข้างหลัง เมื่อความผิดหวังคืบคลานเข้ามาจนเริ่มเอาตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นก็เกิดเป็นความรู้สึกไร้คุณค่า ราวกับขนาดตัวค่อย ๆ หดเล็กลงเมื่ออยู่ท่ามกลางผู้คนที่มากไปด้วยความสามารถ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? ในทางจิตวิทยาสามารถอธิบายด้วยแนวคิดที่เรียกว่า 4 Life Positions หมายถึง ทัศนคติแห่งชีวิต 4 แบบที่มนุษย์เราใช้มองตนเองและมองผู้อื่น อันมีสาเหตุหลักมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก ซึ่งหล่อหลอมจิตใจของเราให้เกิดเป็นความรู้สึกที่ดีและไม่ดีต่อตนเอง ตัวอย่างเช่น หากคุณอยู่ในสังคมที่มองว่าการทำผิดพลาดเป็นความผิดร้ายแรง คุณก็จะเกิดความรู้สึกด้านลบต่อตนเอง มองว่าตนเองไม่เอาไหนและสมควรถูกลงโทษ แต่หากคุณอยู่ในสังคมที่มองว่าการทำผิดพลาดในบางครั้งถือเป็นบทเรียนของชีวิต คุณก็จะไม่รู้สึกล้มเหลว ไม่มองว่าตนเองบกพร่องหรือด้อยคุณค่ากว่าผู้อื่น โดยแนวคิดดังกล่าวก็จะประกอบไปด้วย 1. I’m Not OK, You’re Read more

สารจากคณบดีฉบับที่ 17 : การรับน้อง 4.0 กับวัฒนธรรมไร้ราก

ทุกวันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเพณีและพิธีกรรมหลายอย่างได้สูญหายไป เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของคนในสังคม และไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ระบบโซตัส (Sotus/ Senior; Order; Tradition; Spirit) เป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง ที่ถูกสืบทอดมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศด้อยพัฒนา เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและประเทศไทย หรือแม้กระทั่งบางประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปอเมริกาและเอเชีย อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา แม้ว่าการรับน้องจะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เริ่มตั้งแต่ระบบ Penalism ในสมัยกลางหรือเมื่อกว่า 700 ปีมาแล้ว จนถึงวัฒนธรรมแบบ Fagging หรือ Hazing ของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ ที่เชื่อว่า นักเรียนเก่าหรือรุ่นพี่มีอำนาจในการบังคับให้นักเรียนใหม่หรือรุ่นน้องทำตัวเป็นคนรับใช้ของตนเอง และหากรุ่นน้องคนไหนขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกทำโทษ ซึ่งมีตั้งแต่การทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ไปจนถึงการคุกคามทางเพศและเสียชีวิต วัฒนธรรม Fagging Read more