Category: ข่าวภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ภาพยนตร์ในห้องเรียน” ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2565
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ภาพยนตร์ในห้องเรียน” ให้กับครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่สนใจทั่วประเทศ โดยมีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ อาทิ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาพยนตร์ โดย คุณโดม สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) “ภาษาภาพยนตร์” โดย คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ “ประเภทของภาพยนตร์” โดย คุณประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมระดมความคิด แบ่งปันวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยภาพยนตร์ อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ไปถ่ายทอดและปรับใช้ในการเรียนการสอนที่เกิดประโยชน์ต่อไป โดยโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ หอภาพยนตร์ Read more
ม.นเรศวร จับมือ 2 องค์กรมุ่งพัฒนานวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจค้าสัตว์น้ำ และนวัตกรรมสังคม
ม.นเรศวร จับมือ 2 องค์กร มุ่งพัฒนานวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจค้าสัตว์น้ำ และนวัตกรรมสังคม เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ดร.พุธธิดา เดชพิทักษ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยตัวแทนจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมต้อนรับคุณปรีดา ยังสุขสถาพร ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา และนายกสมาคมนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา ในโอกาสที่เดินทางมาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรกับองค์การสะพานปลา และสมาคมนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ ซึ่งได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย – ฉบับที่ 1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร Read more
ขอแสดงความยินดีกับ
รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ และคณะ
ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ และคณะ ในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ในแผนงานวิจัย เรื่องเล่าในพื้นที่ทางสังคมและอำนาจจากเบื้องล่างของกลุ่มชาติพันธุ์และคนชายขอบ ปีที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2565 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ——————————————————————-โครงการวิจัยย่อย 5 โครงการ เรื่องเล่าที่หลากหลายและการปะทะประสานของความทรงจำในความสัมพันธ์ของแม่ฮ่องสอน และเมืองหมอกใหม่ รัฐฉานโดย ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ สงครามเย็นกับพื้นที่ชายแดน: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกองกำลัง KNUและกองกำลังคอมมิวนิสต์ไทย ในความทรงจำร่วมทางสังคมบนพื้นที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดย อ.กฤษณะ โชติสุทธิ์ สาขาวิชาพม่าศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ ยวน(โยน)พลัดถิ่น: การสร้างความหมาย “ชาติ” ในประวัติศาสตร์นอก(ใน)กรอบรัฐไทยโดย Read more
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
ประกาศรายชื่อ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก รายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพรรณี เกลื่อนกลาด 4. ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง 5. อาจารย์ชนิดา พรหมพยัคฆ์ 6. อาจารย์ดารุณี สมศรี
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก และคณะกรรมการอาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก ดำเนินโครงการ “อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก” ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร) โดยมี ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2565 ณ ห้อง Main conference ชั้น 1 อาคารกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโครงการอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก ตามแนวคิดยุติธรรมชุมชน และยังถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ผ่านการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ รวมถึงยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวนโยบายยุติธรรมชุมชนของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป