ความรู้สึกด้านลบ(ที่มีต่อผู้อื่น) สยบอย่างไร?

Photo by Callum Skelton on Unsplash ความรู้สึกด้านลบ(ที่มีต่อผู้อื่น) สยบอย่างไร? คุณเคยรู้สึกไม่ดีกับเพื่อน เจ้านาย ครูอาจารย์ หรือแม้แต่คนในครอบครัวบ้างไหม อาจเป็นเพราะนิสัยบางอย่างทำให้เราโกรธ รำคาญ หรือรู้สึกอิจฉา จนทำให้บางครั้งส่งผลต่องานหรือความสัมพันธ์ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักความรู้สึกเหล่านี้และร่วมกันค้นหาว่าจะมีวิธีเอาชนะหรือสยบมันให้อยู่หมัดหรือไม่           ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคำว่า “ความรู้สึกด้านลบ” กันก่อน เมื่อพูดถึงคำว่าความรู้สึก ในทางจิตวิทยาสิ่งที่ควบคู่กันมานั่นคือ “อารมณ์” อารมณ์เป็นพื้นฐานของความรู้สึก ฉะนั้นบทความนี้จะพูดถึงอารมณ์และความรู้สึกควบคู่กันไป อ้างตามทฤษฎีของ Robert Plutchik มีอารมณ์พื้นฐานแปดประการ ได้แก่ สุข ไว้วางใจ กลัว ประหลาดใจ เศร้า คาดหวัง โกรธ และรังเกียจ ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกด้านลบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้อื่นอ้างอิงจากอารมณ์พื้นฐาน Read more

ทำอย่างไร…เมื่อความเจ็บปวดในวัยเด็กย้อนกลับมาทำร้าย

ขอบคุณภาพจาก : https://www.todaysparent.com/family/special-needs/how-developmental-trauma-disorder-affects-kids/ ทำอย่างไร…เมื่อความเจ็บปวดในวัยเด็กย้อนกลับมาทำร้าย หากให้ทุกคนลองนึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตของตัวเอง อาจมีบางคนเผลอหลุดยิ้มเพราะพบว่าเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความสุขที่ไม่ว่าจะนึกถึงกี่ครั้งก็มักจะเรียกรอยยิ้มได้เสมอ แต่ก็คงมีบางคนที่รู้สึกเจ็บปวดและเครียดทุกครั้ง เมื่อมองย้อนกลับไปเห็นเหตุการณ์เลวร้ายในช่วงวัยเด็กที่ตัวเองเองเคยพบเจอ ซึ่งตามหลักจิตวิทยาแล้วประสบการณ์ที่เคยเผชิญในวัยเด็กและกลายเป็นแหล่งความเครียดแบบนี้ ถูกเรียกว่า “ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก หรือ adverse childhood experiences” ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก ประกอบด้วยการล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ การละเลย และความผิดปกติในครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด เป็นต้น โดยประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็กส่งผลด้านลบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติด ตลอดจนมีการพยายามฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะไม่สามารถลบความทรงจำอันเลวร้ายของตัวเอง แต่เราก็สามารถรับมือกับความเจ็บปวดเหล่านั้นได้ตามวิธีดังต่อไปนี้ การเขียน เมื่อคุณรู้สึกเครียด กังวล หรือไม่สบายใจ ให้ระบายความรู้สึกและความคิดเหล่านั้นออกมาด้วยการเขียนลงบนกระดาษ การเขียนจะช่วยให้คุณได้เผชิญหน้ากับปัญหาและความคิดรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้ความรู้สึกและความคิดต่างๆออกมาเป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น Read more

ทำอย่างไรให้มั่นใจโดยไม่มีอะไรกั้น

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.spellbrand.com/brand-confident ทำอย่างไรให้มั่นใจโดยไม่มีอะไรกั้น ความมั่นใจทำให้เรามีความกล้าหาญ กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำ สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ออกมาได้ดี ประสบความสำเร็จแม้จะมีข้อดีมากมาย แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีความมั่นใจในทุกเรื่อง เพราะเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย จะทำให้เรารู้สึกประหม่า กังวล กลัวว่าจะรับมือได้ยากและทำออกมาไม่ดี บ่อยครั้งที่เรานั้นมีความสามารถแต่ไม่สามารถใช้ความสามารถนั้นได้อย่างเต็มที่ เป็นเพราะยังขาดความมั่นใจ ทำให้เราไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าที่จะลงมือทำสิ่งเหล่านั้น แล้วเราจะปลุกความมั่นใจของเราได้อย่างไร ความมั่นใจในตัวเองไม่ใช่การคิดว่าตัวเองนั้นดีที่สุด หรือหลงตัวเอง แต่เป็นความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง เข้าใจและยอมรับในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมา การสร้างความมั่นใจจึงมีวิธีดังต่อไปนี้ ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น ถ้าเรามักจะเปรียบเทียบตัวเรากับผู้อื่นว่าดีกว่าหรือแย่กว่า หมกมุ่นอยู่กับจุดบกพร่องของตัวเอง  มีแต่จะลดทอนความมั่นใจของตัวเองลง ดังนั้นลองหันกลับมาจดจ่อกับตัวเองมากกว่าสนใจผู้อื่น เลี่ยงการอยู่กับผู้ที่มีความคิดด้านลบ พาตัวเราเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสริมให้มีความเป็นตัวเองได้ดีที่สุด เพราะหากเราเป็นตัวเองได้ดีแล้วเราจะไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น เนื่องจากทุกคนต่างก็กำลังวิ่งแข่งบนเส้นทางของตัวเองเช่นกัน หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย           การดูแลร่างกายของตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำสมาธิให้รู้จักและยอมรับตัวเอง Read more

“เรา” มันแย่ หรือแค่ยังไม่ค้นพบตัวเอง

“เรา” มันแย่ หรือแค่ยังไม่ค้นพบตัวเอง           วัยรุ่นเป็นวัยของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นตอนปลายอย่างเราๆ ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างวัยรุ่นไปสู่ไปวัยใหญ่ เป็นช่วงเวลาที่ต้องค้นหาตัวตน และตัดสินใจเลือกเส้นทางการดำเนินชีวิต     สถิติประชากรในประเทศไทย ปี พ.ศ 2562 พบว่ามีจำนวนประชากรวัยรุ่นกว่า 8,982,619 คน วัยรุ่นบางส่วนสามารถค้นพบตัวตนและความชอบของตนเอง กล้าแสดงออกและมีความโดดเด่น สามารถเลือกเส้นทางการดำเนินชีวิตและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในขณะที่ก็มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่สามารถค้นพบตัวเองและไม่สามารถเลือกเส้นทางการดำเนินได้ตรงตามความสามารถหรือเหมาะสมกับตนเองได้ สาเหตุเหล่านี้ส่งผลให้คนที่ยังไม่ค้นพบตัวเองเกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตจากการที่เลือกทางเดินที่ผิด บางคนอาจจะเลือกเรียนคณะที่ไม่ตรงกับความชอบหรือความถนัดที่แท้จริง หรือบางคนได้ทำอาชีพที่ตนเองไม่ได้รู้สึกมีความสุขที่จะทำมัน ในขณะที่มองเห็นคนอื่นมีความสุขกับการเดินตามเป้าหมายของเขา จนเกิดความคิดที่ว่าทำไมเราถึงไม่เป็นแบบนั้นบ้าง “เรามันแย่จัง” ไม่มีอะไรโดดเด่น ทำนู่นทำนี่ก็ทำออกมาได้ไม่ดี ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ความคิดเหล่านี้อาจจะไม่ใช่คำตอบ ที่จริงอาจจะเป็นเพียงเพราะว่าเรายังไม่ค้นพบตัวตนของเราก็ได้ แล้วเราจะค้นพบตัวตนของเราได้อย่างไร? พูดคุยกับตนเอง ไม่มีใครจะรู้จักเราดีไปกว่าตัวเราเอง การพูดคุยกับตนเองบ่อยๆจะทำให้เรารู้และเข้าใจความรู้สึกความคิดรวมไปถึงความชอบหรือความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถอยู่กับสิ่งไหนมีความสุขกับอะไรได้ สำรวจความชอบ อะไรคือสิ่งที่เรามักจะแบ่งเวลาชีวิตเราไปทำมันโดยที่สิ่งนั้นไม่ใช่หน้าที่ สิ่งที่เราต้องทำหรือรับผิดชอบ Read more

ทำอย่างไรเมื่อคนบ้านไกลตกอยู่ในภาวะ Homesick

ขอบคุณรูปภาพจาก arianac (2020) 61242164 นางสาวพิชญ์สินี เทพณรงค์ ผศ.ดร. กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร ทำอย่างไรเมื่อคนบ้านไกลตกอยู่ในภาวะ Homesick คุณเคยคิดถึงบ้านกันหรือไม่ ? เมื่อต้องออกไปใช้ชีวิตในเส้นทางของตัวเองไม่ว่าจะเป็นการย้ายโรงเรียน เรียนมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด หรือแม้กระทั่งการเรียนต่อในต่างประเทศ การห่างไกลจากบ้านเป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลให้บุคคลนั้นเกิดอาการที่เรียกกันว่า “Homesick” Joshua Klapow นักจิตวิทยาคลินิกกล่าวว่า อาการคิดถึงบ้านหรือ Homesick เกี่ยวข้องกับความผูกพันธ์ เรารู้สึกคิดถึงบ้านเนื่องจากเรารู้สึกไม่คุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ ทำให้เราโหยหา คิดถึงบ้าน ครอบครัว ญาติ รวมถึงสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่ได้จะแสดงออกมาในรูปแบบของความวิตกกังวล ความเศร้า ความกลัวและบ่อยครั้งก็ยากที่จะรับมือกับสภาพแวดล้อมใหม่ บางครั้งอาจรุนแรงจนเป็นซึมเศร้า จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าอาการคิดถึงบ้านพบในหมู่นักเรียน ร้อยละ 50 – 70 Read more

ทำความเข้าใจเบื้องหลังช่วงเวลาเฉพาะตัว ของร่างกายคุณ : ด้วยการรู้จักกับโครโนไทป์ (Chronotype)

ขอบคุณรูปภาพจาก : proprofs.com ทำความเข้าใจเบื้องหลังช่วงเวลาเฉพาะตัว ของร่างกายคุณ : ด้วยการรู้จักกับโครโนไทป์ (Chronotype) คุณเคยสงสัยไหม ว่าทำไมฉันกับเพื่อนมีเวลาเข้านอนที่ต่างกันลิบลับ ? รู้สึกทึ่งกับเพื่อนของคุณที่ตื่นเช้าได้ทุกเมือเชื่อวัน  ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออกหรือกระทั่งวันหยุด เขาก็ตื่นได้ตั้งแต่ฟ้ายังไม่สางอย่างไม่มีอิดออด ขณะที่อีกคนกว่าจะปลุกให้ตื่นได้แต่ละเช้า ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก ยังมีเรื่องเวลาการกินอีก หากไม่ใช่ด้วยตารางเวลาที่บังคับ แล้วจะนัดทานอาหารเมื่อรู้สึกหิวจริง ๆ ตามเวลาของแต่ละคน คงจะท้าทายไม่น้อยเลยที่จะนัดเวลาเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ช่วงเวลาในการใช้ชีวิตของเราแต่ละคนต่างกัน ? ภายในร่างกายของทุกคนนั้น จะมีนาฬิกาที่คอยกำหนดการทำงานของระบบร่างกาย เช่น การหลั่งของฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย ในทุก ๆ วัน เรียกกันว่า นาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ซึ่งมี Read more

ฉันคือความเหงา แล้วคุณจะรู้จักฉันมากขึ้น

ฉันคือความเหงา แล้วคุณจะรู้จักฉันมากขึ้น           คุณรู้สึกเหงาตอนไหน ในตอนกลางคืนที่มีแต่เพียงคุณในห้องตามลำพัง ในตอนที่คุณมีเรื่องตั้งมากมายที่  อยากจะเล่าแต่ไม่มีใครให้พูดคุยด้วย ในตอนที่คุณนั่งกินข้าวในร้านอาหารที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมายแต่เก้าอี้ตรง  ข้ามคุณกลับไม่มีใคร หรือในตอนที่คุณคิดถึงใครบางคนจนจับหัวใจ เราต่างมีเรื่องให้เหงาแตกต่างออกไปในแต่ละ  คน           ความเหงาคืออะไร ‘สภาวะความเหงา’ คืออารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถเกิดอาการ เหงาขึ้นได้กับทุกคนเมื่อมีปัจจัยของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่จะเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ในระยะวันหรือ สัปดาห์เท่านั้น และเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นปกติความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว จะหายไป           “เหงาตามฤดูกาล ช่วงอากาศหนาว ฝนตก เหงายามโพล้เพล้เพราะอยู่คนเดียว แฟนไม่อยู่ไปทำงาน ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศอาทิตย์หนึ่งหรืออยู่คนเดียวที่หอพัก แต่หากเมื่อพ้นปัจจัยตรงนี้แต่ชีวิตยังรู้สึกเหงา  โดดเดี่ยว ปลีกเก็บตัวเป็นเดือนๆ ถือเป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจจะมีในเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้าเข้าร่วมด้วย”           ความเหงามีด้วยกัน 3 ระดับ คือ           Read more

ฉันเป็น”ผู้เลือก”ความรักที่ดีได้

Photo by Ryan Holloway on Unsplash ฉันเป็น”ผู้เลือก”ความรักที่ดีได้ บทความโดย นางสาวดาริกา  โคตรสาขา ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร             คุณเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า เพราะอะไรเราถึงโสด เพราะอะไรเราถึงไม่ออกจากความสัมพันธ์แย่ๆ เพราะอะไรเราถึงยังดิ้นรนตามหาความรักอยู่อย่างนั้น หรือบางทีทำไมเราถึงต้องทนอยู่ในสภาวะที่เราไม่อยากอยู่พอเป็นโสดก็เหงา พอมีเขาเข้ามาก็ไม่เห็นมีความสุขเลย เลือกอย่างไรดี ฉันสามารถเลือกได้หรือเปล่านะ ? ได้! ฉันสามารถเลือกได้             อันดับแรก “ฉันจะเรียนรู้การรักตัวเองให้เป็น” การรักตัวเองคือ การมองว่าตัวเองมีคุณค่า มองเห็นข้อดีของตัวเอง และไม่บั่นทอนตัวเองด้วยข้อเสีย ว่ากันว่าคนเจ้าชู้คือคนที่มั่นใจและรู้จักคุณค่าตนเอง เขามองว่าตัวเองมีค่าและเขาให้ค่าแก่คนอื่นเป็น เขาจึงกลายเป็นนักรักเจ้าเสน่ห์ที่หลายคนหลงคารม ต่อมา “ฉันจะเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ” หากจะเป็นผู้ล่าเราต้องมีศักยภาพเพียงพอ การพัฒนาตนเองเปรียบเสมือนการเพิ่มพูนคุณค่าและความมั่นใจในตนเอง Read more

นักศึกษากับความวิตกกังวลโควิด-19

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://mfuwn.mfu.ac.th/?p=2719 นักศึกษากับความวิตกกังวลโควิด-19           สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กักตัวเองอยู่บ้านเพราะเกิดความวิตกกังวลว่าหากออกไปแล้วจะทำให้ตนเองเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว จึงกลับสู่การเรียนการสอนที่สถานศึกษา โดยกลุ่มแวดวงทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา (หรือนักศึกษา) นั้นเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง เนื่องจากมีผู้คนกลับมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ถึงจะมีการเว้นระยะห่างกัน แต่ก็ยังมีการสนทนาพูดคุย มีการสัมผัสกันของผู้คน บ้างก็ไม่มีการป้องกันที่เข้มงวด ผู้คนไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน หรือสวมหน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธี รวมไปถึงความเสี่ยงจากการเดินทางมาจากบ้านของตนเองในแต่ละจังหวัด ด้วยเหตุผลเหล่านี้ถึงแม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลงแต่ก็พบว่ายังมีความเสี่ยงอยู่ ในสถานการณ์ช่วงนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายๆ คน เผชิญอยู่กับความไม่แน่นอน ทั้งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการติดเชื้อ การป้องกันรักษา การดำเนินชีวิต ความไม่แน่นอนเหล่านี้ เป็นสิ่งกระตุ้นอย่างดี ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ จนทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ แบบไหนที่เรียกว่าวิตกกังวล Read more

เมื่อบ้านไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัย : ความรุนแรงในครอบครัวจากการต้องกักตัวในช่วงโควิด – 19

ที่มารูป : https://www.siam-legal.com/thailand-law/domestic-violence-law-in-thailand/ 61241648 นางสาวนิศารัตน์  จันทร์สุวรรณ์ ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร เมื่อบ้านไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัย : ความรุนแรงในครอบครัวจากการต้องกักตัวในช่วงโควิด – 19  “ไม่มีที่ไหนดีเท่าบ้านเราแล้ว” “บ้านคือที่ที่ดีที่สุด” เป็นสิ่งที่เรามักจะได้ยินมาตั้งแต่เด็กจนโต แต่ในปัจจุบันคำว่าบ้านสำหรับบางคนก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป บ้านเป็นที่ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยสำหรับหลายๆคน แต่ก็อาจจะไม่ใช่กับทุกคน ในช่วงที่มีการเกิดโรคระบาดโควิด – 19 มีการรายงานจากมูลนิธิชายหญิงก้าวไกลว่าในช่วงโรคระบาด   โควิด – 19 ครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา มีความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงถึงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากความเครียดในการต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ การถูกให้ออกจากงานทำให้เกิดการขาดรายได้ ความกดดันที่มากเกินไป การไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกหรือปัญหาที่เกิดขึ้น และมักจะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือยาเสพติดเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครอบครัวที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งภายในบ้านอยู่แล้วอาจทำให้ความขัดแย้งที่มียิ่งรุนแรงมากขึ้น Read more