- สร้างบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้คู่คุณธรรม นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองและเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ นำไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางจิตวิทยาอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ภายใต้กรอบของจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพของนักจิตวิทยา
- พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามมาตรฐานวิชาชีพทางจิตวิทยา มีความสามารถตามความต้องการของแหล่งงาน ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษา ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานเอกชนและการบูรณาการองค์ความรู้ทางจิตวิทยาให้เข้ากับศาสตร์อื่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี นำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.1 มีความรอบรู้ มีทักษะรอบด้าน มีความฉลาดทางอารมณ์เพื่อการปรับตัวด้วยสุขภาวะที่ดี
1.2 มีความรอบรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านจิตวิทยา ในการอธิบาย ทำนาย ควบคุม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ตามหลักวิทยาศาสตร์
1.3 สามารถปฏิบัติการทดสอบและประเมินทางจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมมนุษย์ โดยใช้ความรู้ทางจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา หรือจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
1.4 วางแผนและปฏิบัติการวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถต่อยอดความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมทางจิตวิทยาที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 ปฏิบัติหน้าที่ในงานคุณภาพด้วยความรับผิดชอบ ดำรงชีวิตอย่างมีจิตสำนึก โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยา
- นักจิตวิทยา
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
- เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานสาธารณสุข สถานบำบัด สถานสงเคราะห์ หรือมูลนิธิต่าง ๆ
- นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30
1.1 วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 30
1.2 วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 1 - หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 91
2.1 วิชาพื้นฐาน 21
2.2 วิชาบังคับ 36
2.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 6
2.4 สหกิจศึกษา/ฝึกงาน/ฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ 6
2.5 วิชาเลือก 22 - หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 127 หน่วยกิต
* หมายเหตุ : สภาวิชาชีพ (จิตวิทยาคลินิก) กำหนดเพียงจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต (จำนวนหน่วยกิตวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาเลือกเสรี = 36 หน่วยกิต วิชาเฉพาะด้าน = 90 หน่วยกิต)
รายวิชา
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มวิชาภาษา กำหนดให้นิสิตเรียนตามกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้
กลุ่มวิชาภาษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- 001201 ทักษะภาษาไทย (Thai Language Skills)
- 001211 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
- 001212 ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
- 001213 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
- 001221 สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า (Information Science for Study and Research)
- 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม (Language, Society and Culture)
- 001224 ศิลปะในชีวิตประจำวัน (Arts in Daily Life)
- 001225 ความเป็นส่วนตัวของชีวิต (Life Privacy)
- 001226 วิถีชีวิตในยุคดิจิทัล (Ways of Living in the Digital Age)
- 001227 ดนตรีวิถีไทยศึกษา (Music Studies in Thai Culture)
- 001228 ความสุขกับงานอดิเรก (Happiness with Hobbies)
- 001229 รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ชีวิตที่มีความหมาย (Know Yourself, Understand Others, Meaningful Life)
- 001241 ดนตรีตะวันตกในชีวิตประจำวัน (Western Music in Daily Life)
- 001242 การคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovation)
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 001231 ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน (Philosophy of Life for Sufficient Living)
- 001232 กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต (Fundamental Laws for Quality of Life)
- 001233 ไทยกับประชาคมโลก (Thai State and the World Community)
- 001234 อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (Civilization and Local Wisdom)
- 001235 การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (Politics, Economy and Society)
- 001236 การจัดการการดำเนินชีวิต (Living Management)
- 001237 ทักษะชีวิต (Life Skills)
- 001238 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
- 001239 ภาวะผู้นำกับความรัก (Leadership and Compassion)
- 001251 พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม (Group Dynamics and Teamwork)
- 001252 นเรศวรศึกษา (Naresuan Studies)
- 001253 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 001271 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment)
- 001272 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Introduction to Computer Information Science)
- 001273 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน (Mathematics and Statistics in Everyday life)
- 001274 ยาและสารเคมีในชีวิตประจำวัน (Drugs and Chemicals in Daily Life)
- 001275 อาหารและวิถีชีวิต (Food and Life Style)
- 001276 พลังงานและเทคโนโลยีใกล้ตัว (Energy and Technology Around Us)
- 001277 พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior)
- 001278 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health)
- 001279 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Science in Everyday Life)
กลุ่มวิชาพลานามัย บังคับไม่นับหน่วยกิต 1 หน่วยกิต
- 001281 กีฬาและการออกกำลังกาย (Sports and Exercises)
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐาน 21 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนวิชาต่อไปนี้ 3 หน่วยกิต
- 255121 สถิติวิเคราะห์ (Statistical Analysis)
- 835211 สถิติพื้นฐานเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Basic Statistics in Behavioral Sciences)
ให้เลือกเรียนวิชาต่อไปนี้ 18 หน่วยกิต
- 835111 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology)
- 835112 การรับสัมผัสและการรับรู้ (Sensation and Perception)
- 835212 สถิติประยุกต์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Applied Statistics for Behavioral Sciences)
- 835213 การทดสอบและการวัดผลทางจิตวิทยา (Psychological Tests and Measurement)
- 835311 จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology)
- 835312 วิธีการวิจัยทางจิตวิทยา (Psychological Research Method)
2.2 วิชาบังคับ 36 หน่วยกิต
- 205200 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Communicative English for Specific Purpose)
- 205201 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการวิเคราะห์เชิงวิชาการ (Communicative English for Academic Analysis)
- 205202 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอผลงาน (Communicative English for Research Presentation)
- 835121 จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)
- 835122 จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)
- 835123 จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality)
- 835221 จิตวิทยาการเรียนรู้และการปรับพฤติกรรม (Psychology of Learning and Behavior Modification)
- 835231 จิตวิทยาการปรึกษาเบื้องต้น (Introduction to Counseling Psychology)
- 835241 จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology)
- 835251 จิตวิทยาคลินิกเบื้องต้น (Introduction to Clinical Psychology)
- 835252 จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology)
- 835313 นวัตกรรมทางจิตวิทยา 1 (Innovation in Psychology 1)
- 835321 จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
- 835322 จิตวิทยาปัญญานิยม (Cognitive Psychology)
- 835411 นวัตกรรมทางจิตวิทยา 2 (Innovation in Psychology 2)
- 835492 สัมมนา (Seminar)
2.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 835391 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 1 (Undergraduate Thesis 1)
- 835491 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 2 (Undergraduate Thesis 2)
2.4 สหกิจศึกษา
- 835493 สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
- 835494 การฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ (International Academic or Professional Training)
- 835495 การฝึกงาน (Professional Training)
2.5 วิชาเลือก
ให้เลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาต่าง ๆ รวมกันให้ครบ 22 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาจิตวิทยาทั่วไปและอื่นๆ
- 835124 มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
- 835323 จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและการงาน (Applied Psychology in Life and Work)
- 835324 จิตวิทยาผู้สูงอายุ (Elderly Psychology)
- 835325 การวิเคราะห์ภาพยนตร์เชิงจิตวิทยา (Film Analysis in Psychological Perspective
- 835326 จิตวิทยาเชิงพุทธ (Buddhist Psychology)
- 835327 จิตวิทยาสุขภาพ (Health Psychology)
- 835328 วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (Cognitive Science)
- 835329 จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology)
- 835421 กลุ่มพลวัต (Group Dynamics)
กลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
- 835232 ทฤษฏีและเทคนิคการปรึกษา (Counseling Theories and Techniques)
- 835331 การปรึกษากลุ่ม (Group Counseling)
- 835332 ฝึกปฏิบัติการปรึกษารายบุคคล (Practicum in Individual Counseling)
- 835333 การปรึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural Counseling)
- 835334 การช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ (Crisis Intervention)
- 835335 การปรึกษาคู่สมรสและครอบครัว (Couple and Family Counseling)
- 835336 จิตวิทยาวาระสุดท้ายของชีวิต (End of Life Psychology)
- 835431 ฝึกปฏิบัติการปรึกษากลุ่ม (Practicum in Group Counseling)
กลุ่มวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
- 835242 จิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์ (Psychology for Human Resource)
- 835243 จิตวิทยาการจูงใจ (Psychology of Motivation)
- 835244 จิตวิทยาผู้นำ (Leadership Psychology)
- 835341 จิตวิทยาการฝึกอบรม (Training Psychology)
- 835342 จิตวิทยาผู้บริโภค (Consumer Psychology)
- 835343 การทำงานเป็นทีม (Team Work)
- 835344 การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
- 835345 คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
- 835346 องค์ประกอบด้านบุคคลและการปฏิบัติงาน (Human Factors and Performance)
- 835347 จิตวิทยาการปรึกษาในที่ทำงาน (Counseling Psychology at workplace)
- 835441 จิตวิทยาการพัฒนาองค์การ (Psychology in Organizational Development)
- 835442 โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับจิตวิทยาองค์การ (Software Packages for Organizational Psychology)
กลุ่มวิชาจิตวิทยาคลินิก
- 835253 การตรวจประเมินทางจิตประสาทวิทยาและเชาวน์ปัญญา (Neuropsychological and Intellectual Assessment)
- 835254 จิตวิทยาเด็กพิเศษ (Psychology of Exceptional Child)
- 835351 การตรวจประเมินทางบุคลิกภาพ (Personality Assessment)
- 835354 จิตบำบัด (Psychotherapy)
- 835355 จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
- 835356 สุขภาพจิตและการปรับตัว (Mental Health and Adjustment)
- 835357 การศึกษารายกรณี (Case Study)
- 835358 ดนตรีบำบัดเบื้องต้น (Foundation of Music Therapy)
- 835359 ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
- 835451 การฝึกปฏิบัติทางจิตวิทยาคลินิก (Practicum in Clinical Psychology)
- 835452 จรรยาบรรณและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก (Ethical and Legal Issues in Clinical Psychology)
3. วิชาเสรี 6 หน่วยกิต
ให้นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยนเรศวรหรือสถาบันอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ได้ โดยการยินยอมของหลักสูตร และเห็นชอบร่วมกันระหว่างสถาบัน