การสร้างเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยทางสังคมสำหรับนิสิต-สารจากคณบดี ฉบับที่ 2

Dean Talkพูดคุย...และก้าวไปด้วยกัน"
พูดคุย...และก้าวไปด้วยกัน"

พูดคุย...และก้าวไปด้วยกัน"

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกเราทุกวันนี้ และการที่เราต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสังคมที่ถาโถมเข้ามามากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ล้วนพยายามที่จะแสวงหาหนทางที่มีประสิทธิภาพที่จะจัดการกับปัญหาเร่งด่วนและสำคัญๆ โดยวิธีการหนึ่งที่จะจัดการกับสภาพปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การให้ข้อมูลแก่นิสิต เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในภาวะที่ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การค้ามนุษย์ การพนัน การทะเลาะวิวาท ความรุนแรงทางเพศ และการเข้าไปพัวพันกับอาชญากรรม

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของภยันตรายมากมายที่นิสิตต้องเผชิญ และการเอาชนะประเด็นปัญหาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆให้หมดไป คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดเตรียมแนวทางเพื่อช่วยเหลือนิสิตขึ้น โดยใช้การสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ทั้ง โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนิสิต และฝึกทักษะทางสังคมให้แก่นิสิต ด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหาในเชิงรุก โดยเน้นให้นิสิตทุกคนได้รับการดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 2 ที่แห่งนี้นิสิตทุกคนมีโอกาสที่จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีประสบการณ์ในทุกประเด็นปัญหาทั้งในด้านการเรียนและปัญหาส่วนตัว เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยคณะฯจะให้การสนับสนุนนิสิตในการแสวงหาโอกาสในการสร้างเสริมทักษะชีวิต เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์และมีความสุขในการใช้ชีวิตขณะที่ศึกษาอยู่ที่คณะของเรา เพราะความตระหนักว่านิสิตของเราทุกคนคือคนสำคัญ

ดิฉันต้องการเรียนให้ทราบว่าศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของคณะฯ นิสิตทุกคนสามารถลงทะเบียน และดาวน์โหลดแบบฟอร์มให้คำปรึกษา จาก web – site ของคณะฯ หรือจากหน่วยให้คำปรึกษา เพื่อนัดหมายวันเวลาในการเข้าพูดคุยเรื่องราวต่างๆ ระหว่างนิสิตกับผู้ให้บริการให้คำปรึกษา หรือพูดคุยกับคณาจารย์ที่ปรึกษา ผู้บริหารคณะฯ หรือคณาจารย์ภาควิชาฯ โดยนิสิตสามารถขอรับคำปรึกษาได้ในประเด็นต่อไปนี้:

  • การเรียนการสอน
  • ซึมเศร้าด้วยอาการคิดถึงบ้าน
  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใช้สารเสพติด, ติดพนัน, ตั้งครรภ์ และอื่นๆ
  • ภาวะสุขภาพจิตและปัญหาด้านบุคลิกภาพ
  • การหารายได้พิเศษ
  • การประกอบอาชีพ
  • ความรุนแรงในบ้าน มหาวิทยาลัย หรือที่พักอาศัย
  • ปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคม
  • ปัญหาการปรับตัวเข้ากับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  • ปัญหาอื่นๆ ที่อยากจะพูดคุย

แม้ว่าคณะสังคมศาสตร์จะเป็นคณะเล็กๆ แต่บัณฑิตของเราก็ได้รับการยอมรับ ซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษในปี 2557 เนื่องจากบัณฑิตได้รับค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดด้านความพึงพอใจจากนายจ้าง/ผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต โดยค่าคะแนนความพึงพอใจดังกล่าว ที่นิสิตได้รับเป็นลำดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ 1) ทักษะด้านจริยธรรม 2) ทักษะด้านปัญญา และ 3) ทักษะด้านการทำงานเป็นทีมและความรับผิดชอบ ผลประเมินนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากรของคณะทุกคน เพราะแสดงให้เห็นว่า การทำงานของพวกเราได้ดำเนินไปตามวิถีทางที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสำเร็จต่อชีวิตการเรียนและการทำงานของนิสิต

ขอขอบคุณคณาจารย์และบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ ทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยสร้างผลสำเร็จที่ดีเยี่ยมนี้ ดิฉันมั่นใจว่า ในปีหน้าเราจะมุ่งมั่นไปสู่หนทางแห่งความก้าวหน้าที่ยิ่งขึ้นไปอีกของเหล่านิสิตของรา หากเราร่วมมือกัน ไม่มีความสำเร็จใดที่เราทำไม่ได้

“ก้าวไปพร้อมกัน แลกเปลี่ยนทัศนะต่อกัน...ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้”

English Edition