หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา (หลักสูตรสองภาษา) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567
Bachelor of Arts Program in Global Studies (Bilingual Program)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา (หลักสูตรสองภาษา) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา (หลักสูตรสองภาษา)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Global Studies (Bilingual Program)
- แผน 1 แบบ สหกิจศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
- ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- การรับเข้าศึกษา รับทั้งนิสิตไทย และนิสิตต่างประเทศ
- สถานที่จัดการเรียนการสอน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- หน่วยงานภาครัฐ กระทรวง กรม และส่วนราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น นักวิเทศสัมพันธ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สถาบันวิจัยทางสังคมศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่มีสาขาที่เกี่ยวข้อง
- หน่วยงานภาคเอกชน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ เช่น ฝ่ายงานการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- องค์กรนอกภาครัฐหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Government Organizations: NGOs) มูลนิธิ และหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล เช่น องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรภาคประชาสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการต่าง ๆ จากแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ
- สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน เช่น นักวิชาการ ผู้ช่วยนักวิจัย
- องค์กรระหว่างประเทศและสถานทูต เช่น เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่กิจการด้านการเมือง
- ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว หรืออาชีพอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์
หลักสูตรมุ่งเน้นการศึกษาและการสร้างทักษะในการพัฒนาสังคมผ่านการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประชาคมโลกศึกษาและการวิจัย ตลอดจนการสร้างผู้เรียนให้มีความเป็น “Socially Responsible ‘Glocal’ Citizen for Sustainable Social Well-being” ซึ่งแสดงออกถึงการมีความรับผิดชอบทางสังคมของพลเมืองโลก (Global Citizen) ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาทั้งระดับโลกและท้องถิ่น เพื่อความกินดีอยู่ดี มีสุขภาวะและความผาสุกทางสังคม การมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีจรรยาบรรณในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ตลอดจนสามารถนำความรู้และทักษะการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองสังคมโลกาเทศาภิวัตน์ (Glocal Citizen)
มหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกถือเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ของภาคเหนือตอนล่างและเป็นจังหวัดศูนย์กลางของยุทธศาสตร์การพัฒนาสี่แยกอินโดจีนซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติ ซึ่งสามารถคมนาคมไปยังทวีปอื่น ๆ ทั่วโลก จึงมีความเหมาะสมทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงภารกิจที่จะดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นเพื่อให้เป็นหลักสูตรที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินภารกิจเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของกำลังคนด้านการพัฒนาประชาคมโลกผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงประจักษ์ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมในทุกระดับ ตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) จากการศึกษาและการวิจัยแบบบูรณาการเพื่อยกระดับขีดความสามารถและความพร้อมให้นิสิตและการพัฒนากำลังคนให้กับประเทศในอนาคต ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่จะตอบสนองความต้องการและหนุนเสริมการพัฒนาในระดับภูมิภาคที่เชื่อมโยงไปสู่ระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัย สหสาขา (Comprehensive University) ที่เน้นการผลิตบัณฑิต และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตลอดจนผลิตกำลังคนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาสังคมในทุกมิติอย่างยั่งยืน
ในขณะเดียวกันหลักสูตรนี้มีแผนการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ (Digital Platforms) ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการที่หลากหลายและรูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่น ซึ่งสามารถตอบสนองกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่เน้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ได้จากทุกที่และทุกเวลาผ่านการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสไปพัฒนาทักษะเฉพาะตนของผู้เรียนให้เกิดการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา ยังเป็นหลักสูตรสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) โดยเน้นการทำการศึกษา การวิจัย และบูรณาการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคมร่วมสมัย และยังเป็นหลักสูตรสองภาษาในระดับปริญญาตรีที่จัดการเรียนการสอนในระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรกของประเทศ
หลักสูตรฯได้มีการร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศหลายแห่งในการร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ ตลอดจนมีการจัดการเรียนการเรียนการสอนร่วม (Co-teaching) และการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาในประเด็นการพัฒนาร่วมสมัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ สถาบันวิจัยระดับนานาชาติ และหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งเป็นตอบสนองนโยบายด้านการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ได้ประกาศกำหนดให้จัดสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลุ่มเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณ ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรถูกจัดให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก การจัดการเรียนการสอนร่วมกับเครือข่ายต่างประเทศจึงมีความสำคัญ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา พัฒนาขึ้นโดยคณะสังคมศาสตร์ ยังมุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายมาเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและมีการประเมิน องค์ความรู้ผ่านการวิจัยแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางสังคมตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนแนวคิดมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society) ดังนั้นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา มีเป้าหมายสำคัญในการสนับสนุนผู้เรียนให้มีแนวคิดของการวิจัยนวัตกรรมเชิงนโยบาย โดยที่หลักสูตรมีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์เป็นฐาน (Outcome-based Education)
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
- มีศักยภาพในการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมแบบบูรณาการ
- มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาคมโลกศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ และแสดงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- สามารถนำหลักวิชาการร่วมกับทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนางานในการ ประกอบอาชีพและพัฒนาสังคม
- มีทักษะการใช้ชีวิต การดูแลตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลก พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
- สามารถสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประชาคมโลกศึกษา (หลักสูตรสองภาษา) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567 ออกแบบหลักสูตรโดยใช้หลักการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน (Outcome-based Education) โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจ Needs และ Requirements ที่เกี่ยวข้องของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการนำเอาประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการกำหนดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ จริยธรรม และคุณลักษณะส่วนบุคคล และนำเอาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะสังคมศาสตร์มากำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้
- พหุวัฒนธรรมในบริบทประชาคมโลก Multiculturalism in a Global Context แนวคิดพหุสังคม (พหุลักษณ์) พหุวัฒนธรรม การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ การเมืองเรื่องตระหนักรู้ถึงการมีตัวตน การเมืองเรื่องความแตกต่างหลากหลาย ความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความแตกต่างหลากหลายทางร่างกาย (กายภาพ) ผู้พิการ การประนามเรือนร่าง อภิสิทธิ์จากความงาม การประกวดความงาม ความแตกต่างหลากหลายทางเพศสภาพและเพศวิถี ความแตกต่างหลากหลายทางศาสนา สิทธิมนุษยชน การพัฒนาสังคมเพื่อความเท่าเทียมในบริบทประชาคมโลก
- วัฒนธรรมจอภาพและการเป็นพลเมืองโลก Screen Culture and Global Citizenship กรอบแนวคิดทฤษฎีหลักเรื่องสื่อ กรอบแนวคิดทฤษฎีหลักเรื่องวัฒนธรรมจอภาพผ่าน สื่อภาพยนตร์ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์อื่น ๆ กรอบแนวคิดทฤษฎีหลักเรื่องความเป็นพลเมืองโลก ชมและวิเคราะห์ภาพยนตร์ที่นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก อภิปรายผลกระทบของวัฒนธรรมจอภาพต่อการสนับสนุน เผยแพร่ และสร้างแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก
- เพศสภาพและเพศวิถีในบริบทโลก Gender and Sexuality in Global Context ทฤษฎี กรอบแนวคิด และกระบวนทัศน์ ในศาสตร์เพศสภาพศึกษา สตรีนิยม วิปริตทฤษฎี ประวัติศาสตร์เพศวิถีโลก สมมติฐานการกดทับของฟูโกต์ การแสดงออกทางเพศ บัตเลอร์ เพศสภาพและเพศวิถีในบริบทสังคมโลก อธิบายกลไกของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสังคมนิยมรักต่างเพศที่ส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะประเด็นการแสดงออกและระบุอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ/เพศวิถี และการเมืองเรื่องความแตกต่างของความเป็นอื่นของบุคคลไม่มีนิยมรักต่างเพศ อภิปรายประเด็นร่วมสมัยที่สำคัญและกรณีศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์
- เศรษฐศาสตร์ การเงินและการลงทุน Economics, Finance, and Investment ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ประวัติศาสตร์ความคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ นโยบายเศรษฐกิจจุลภาคและมหภาค เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ประเด็นด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน ระบบธนาคารการเงินและการคลัง อัตราแลกเปลี่ยนดิจิทัล บรรษัทข้ามชาติ ความมั่นคงทางการเงินและการลงทุน เศรษฐกิจดิจิทัล
- การปฏิวัติ การรัฐประหาร และการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง Revolution, Coup d’Etat, and Political Transitions สถาบันการเมือง การแบ่งแยกอำนาจ ชนชั้นนำ การเปลี่ยนผ่านรูปแบบการปกครอง การปฏิวัติ การรัฐประหาร
- นโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนในการพัฒนาสังคม Policies, Strategies, and Plans for Social Development ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายศึกษา ยุทธศาสตร์ และแผนเพื่อการพัฒนาสังคม แนวคิดทฤษฎีการวิเคราะห์นโยบาย ทฤษฎีวิเคราะห์นโยบายกระแสหลัก ทฤษฎีวิเคราะห์นโยบายกระแสวิพากษ์ บริบทนโยบาย ผู้ประกอบการนโยบาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนโยบาย การวิเคราะห์นโยบายเปรียบเทียบ การวางยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผน การตัดสินใจเชิงนโยบาย บทบาทของงานวิจัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษานโยบาย แผนและยุทธศาสตร์ระดับโลก
- สังคมการเมืองและระบอบการปกครอง Political Society and Regime Types สังคมการเมือง แนวความคิดของนักคิดคนสำคัญเกี่ยวกับรัฐ ทฤษฎีการเมือง อุดมการทางการเมือง สัญญาประชาคม รูปแบบการปกครอง อำนาจอธิปไตย การเมืองเปรียบเทียบ ขบวนการเคลื่อนไหว การรวมกลุ่มประเทศ สถาบันการเมือง
- ความมั่นคงของมนุษย์ ความขัดแย้ง และความเสื่อมถอยทางสังคม Human Security, Conflict, and Social Decay กรอบแนวคิดและประเด็นของความมั่นคงแบบใหม่หลังช่วงสงครามเย็นในมิติที่หลากหลาย ความมั่นคงมนุษย์ สังคมสูงวัย สิทธิมนุษยชน การถือครองที่ดิน ความไร้รัฐ ความหลากหลายทางเพศ สิทธิ LGBT จริยธรรมและศีลธรรม แรงงาน การเมืองโรคระบาด การเมืองบนท้องถนน การเคลื่อนไหวทางสังคม องค์กรนอกภาครัฐ องค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐ มวลชน ประชาชน ประชานิยม รากหญ้า กลุ่มคนลงโทษผู้กระทำผิดโดยพลการ
- กฎหมายระหว่างประเทศ International Law ปรัชญาพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ สหประชาชาติ อำนาจอธิปไตย ภาวะไร้พรมแดน หลักนิติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลโลก ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร อนุสัญญาเจนีวา การทูต มหาอำนาจ องค์การการค้าโลก การจารกรรม
- การฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทางสังคมศาสตร์ Academic English in Listening, Speaking, Reading, and Writing for Social Science การส่งเสริมทักษะในด้านการคิดเชิงวิพากษ์ การอ่านเชิงวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการ การนำเสนอเชิงวิชาการ และการฟังเชิงวิชาการ ระบบการอ้างอิง และการหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
- ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ Research Methodology in Social Science ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์ จริยธรรมการวิจัย จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสมผสาน การวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือวิจัยผ่านประเด็นสังคมร่วมสมัย การเลือกเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสม โครงร่างวิจัย
- เบบี้ยูนิคอน สตาร์ท อัพ Baby Unicorn Start-Up การกำหนดแนวคิดในการทำธุรกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม เป้าหมาย วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การตลาด การประเมินผล การประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจ การคิดเชิงออกแบบ เทคโนโลยีสำหรับการทำธุรกิจ แนวคิดการสร้างนวัตกรรม และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ผ่านกลไกต่าง ๆ
- แบบจำลองสหประชาชาติ Model United Nations (MUN) หลักการ แนวคิด และกระบวนการทำงานขององค์การสหประชาชาติ การทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประเด็นร่วมสมัยระดับโลกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยศึกษาผ่านแบบจำลองขององค์การสหประชาชาติ เพื่อพัฒนาทักษะ ภาวะเป็นผู้นำ การคิดเชิงวิพากษ์ การพูดในที่สาธารณะ การโต้วาที การเจรจาต่อรอง การค้นคว้าวิจัย การเขียน และการทำงานเป็นทีม
- สังคมดิจิทัลและประเด็นการพัฒนา Digital Society and Development Issues ประเด็นด้านดิจิทัลร่วมสมัยกับการพัฒนาสังคม สื่อสังคม ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ต ดิจิทัลนอร์แมด วัฒนธรรมดิจิทัล ทางด่วนข้อมูล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง การจัดการปกครองดิจิทัล ความมั่นคงไซเบอร์ ความเป็นส่วนตัว การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปรับปรุงบริการสาธารณะ, การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ความรอบรู้ด้านดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน กรณีศึกษา
- สุขภาพกับสังคม Health and Society นิยามและแนวคิดสุขภาพ โรคและภัยสุขภาพ สุขภาพทางกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาวะ สุขภาพชุมชน โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อและผลกระทบในระดับสังคม โรคอุบัติซ้ำและโรคอุบัติใหม่ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม นโยบายสุขภาพ กฎหมายสุขภาพ การประกันสุขภาพ การจัดการปกครองสุขภาพ สิทธิสุขภาพ แนวโน้มสุขภาพของประชากรโลก ความมั่นคงด้านสุขภาพ ระบบสุขภาพ วัฒนธรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการจัดการปกครองสุขภาพ
- การย้ายถิ่นและชายแดนศึกษา Migration and Border Studies แนวคิดชายแดนศึกษา การเลือกปฏิบัติ การย้ายถิ่น การพลัดถิ่น การเมืองของชนพื้นเมือง อัตลักษณ์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด การกีดกันทางสังคมและการบูรณาการทางสังคม ชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย ความมั่นคงทางอากาศและทางทะเล การเอารัดเอาเปรียบ เศรษฐศาสตร์การย้ายถิ่นฐาน กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นเฉพาะ เขตแดนที่คลุมเครือ การมีอำนาจเหนือประเทศราช การรุกล้ำทางประชากรศาสตร์
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนNatural Resources Management and Environmental Management for Sustainable Development แนวคิดของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นผู้ประกอบการสิ่งแวดล้อม กระบวนและกลไกการในการจัดทำกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาด สิ่งแวดล้อมนิยม ธุรกิจสีเขียว ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร พลังงานสะอาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทดแทน เศรษฐกิจหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวทมิฬ
- การจัดการความเสี่ยง ภาวะฉุกเฉิน และภาวะวิกฤตทางสังคม Social Risk Management, Emergencies, and Crises แนวคิด ทฤษฎี และความหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ภาวะฉุกเฉิน และภาวะวิกฤต การบริหารจัดการ การวิเคราะห์ การประเมิน และกระบวนการบรรเทา
- การจัดการคนที่มีศักยภาพสูงในสังคมโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Global Talent Management for Sustainable Development การบริหารจัดการธุรกิจ สถานประกอบการที่มีความยืดหยุ่น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงหรือคนเก่ง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การจัดการความขัดแย้งในองค์กร ความผูกพันของคนต่องานและองค์กร การปรับปรุงทักษะ การเสริมทักษะ และการสร้างทักษะใหม่ ความเป็นพลเมืองแห่งสังคมโลกาเทศาภิวัตน์ ประเด็นร่วมสมัยและนวัตกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์