ใต้ร่มราชพฤกษ์:

ภาพโดย natureaddict จาก Pixabay

เด็กรุ่นใหม่ชอบอยู่ในโลกออนไลน์จริงหรอ?

“วันๆไม่ทำอะไรเอาแต่จ้องโทรศัพท์มือถือ” “ไม่หลับไม่นอนสักที เอาเล่นอยู่นั่นแหละ”

คำพูดที่เรามักได้ยินจากผู้ปกครองของเด็กหลายคน ที่เห็นลูกของตนกำลังนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆ ในการใช้งานโซเชียลมีเดีย เล่นเกมส์ หรือความบันเทิงต่างๆ ทำให้เรามักเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่หรือเด็กในปัจจุบัน มีพฤติกรรมในการติดโซเชียลมีเดียอย่างรุนแรง จนทำให้มีการเสพติดการใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้น เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนมักจะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเสมอ การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Twitter Instagram ฯลฯ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับจากการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่าเยาวชนเกือบครึ่งยอบรับว่าตนเอง “ติดสื่อออนไลน์” และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยในการสื่อสารให้มีความสะดวกมากขึ้น

คำถามคือทำไมเด็กรุ่นใหม่จึงชอบอยู่ในโลกออนไลน์?

          จากการศึกษาเรื่องทำไมโซเซียลมีเดียถึงมีพลัง ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นว่าการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลของกันและกันในโลกออนไลน์มีความสะดวกสบาย และมีช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลที่มีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การอยู่ในโลกออนไลน์ยังสามารถทำอะไรก็ได้ตามความปรารถนา สามารถปลดปล่อยความคิด ความรู้สึกของตนเองได้ เป็นโลกที่มีความรวดเร็วทันใจ และเป็นโลกที่ไม่มีผู้ใหญ่คอยควบคุม ไม่มีกฎเกณฑ์ และไม่มีการแบ่งชน

          แต่ถึงอย่างนั้นแล้วเมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับการเสพติดสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังให้ความคิดเห็นว่าตนสามารถควบคุมตนเองได้ในการใช้โซเชียลมีเดีย และให้ความเห็นว่าชีวิตในโลกออนไลน์และโลกความเป็นจริงมีความเหมือนกัน รวมไปถึงมีการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านทางชีวิตจริงมากกว่าสังคมออนไลน์อีกด้วย    

           จึงกล่าวได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักจะชอบอยู่ในโลกออนไลน์ก็จริง แต่ยังสามารถควบคุมการใช้งานนั้นได้ รวมไปถึงมีการให้ความสำคัญกับตัวเองในโลกความเป็นจริงมากกว่า

แล้วการอยู่ในโลกออนไลน์มันดีจริงหรอ?

          ต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์อิทธิพลของสื่อที่มีต่อคนรุ่นใหม่นั้นค่อนข้างที่จะไม่ดี และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหลายๆอย่าง ทั้งการขาดความควบคุมในตนเอง มีความก้าวร้าวที่มากขึ้น อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย มีการสร้างค่านิยมหรือแฟชั่นต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมเกิดขึ้น และอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว ทั้งการเกิดความเครียด ความเศร้า ความโดดเดี่ยว และการแยกตัวจากสังคม

          แต่ถึงอย่างนั้นการอยู่ในโลกออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี เพราะเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว การสื่อสารที่สะดวกสบาย การเข้ารับบริการหลายอย่างเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีช่องทางในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและช่องทางการคลายเครียดมากขึ้น เป็นต้น

          ดังนั้นแล้วการอยู่ในโลกออนไลน์จึงไม่ใช่เรื่องที่ดีหรือเสียไปทั้งหมด แต่เป็นการเลือกที่จะ “อยู่” มากกว่า ว่าผู้ที่ใช้งานนั้นจะอยู่ในโลกที่มีประโยชน์หรือเสียโยชน์กับเรา ผลลัพธ์ที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นๆ สุดท้ายแล้วเราควรย้อนคำถามกลับมาถามตัวเองหรือไม่ว่า การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มีข้อดีข้อเสียมากน้อยเพียงใด การใช้งานในปัจจุบันนั้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และทำอย่างไรเราจึงจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้มากกว่าผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น…..

แหล่งอ้างอิง:

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมสังคม และอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/149786.pdf

ปารัชญ์เกลี้ยงลำยอง. (2557). การสร้างคุณค่าในตัวเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https: //so04.ti thaijo.org/index.php/socku/article/download/79686/63596/

ภัทริกาวงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วราสารพยาบาลทหารบกสืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/25175/21435g/