ใต้ร่มราชพฤกษ์:

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://mfuwn.mfu.ac.th/?p=2719

  • นักศึกษากับความวิตกกังวลโควิด-19

          สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กักตัวเองอยู่บ้านเพราะเกิดความวิตกกังวลว่าหากออกไปแล้วจะทำให้ตนเองเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว จึงกลับสู่การเรียนการสอนที่สถานศึกษา โดยกลุ่มแวดวงทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา (หรือนักศึกษา) นั้นเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง เนื่องจากมีผู้คนกลับมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ถึงจะมีการเว้นระยะห่างกัน แต่ก็ยังมีการสนทนาพูดคุย มีการสัมผัสกันของผู้คน บ้างก็ไม่มีการป้องกันที่เข้มงวด ผู้คนไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน หรือสวมหน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธี รวมไปถึงความเสี่ยงจากการเดินทางมาจากบ้านของตนเองในแต่ละจังหวัด ด้วยเหตุผลเหล่านี้ถึงแม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลงแต่ก็พบว่ายังมีความเสี่ยงอยู่ ในสถานการณ์ช่วงนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายๆ คน เผชิญอยู่กับความไม่แน่นอน ทั้งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการติดเชื้อ การป้องกันรักษา การดำเนินชีวิต ความไม่แน่นอนเหล่านี้ เป็นสิ่งกระตุ้นอย่างดี ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ จนทำให้เกิดความเครียดสะสมได้

แบบไหนที่เรียกว่าวิตกกังวล

ถ้าพูดถึงความวิตกกังวลเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงที่กำลังประสบเหตุการณ์บางอย่างที่รู้สึกว่าอยู่เหนือการควบคุม หรือยังไม่สามารถหาทางออกกับบางเรื่องได้ ซึ่งอาจจะเกิดเกิดได้กับเรื่องใกล้ตัว ในส่วนของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 เช่น รู้สึกกังวล ไม่สบายใจกับการที่ต้องออกไปนอกที่พัก รู้สึกกังวลกับการเตรียมตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส เช่น กักตุนอาหาร, หน้ากาก, เป็นต้น นอนไม่หลับหรือมีปัญหาการนอน เพราะคิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือคิดว่าจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร ความกังวลที่ยกตัวอย่างไปนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมาแล้วหายไปได้เองในช่วงเวลาไม่นาน หรือหายไปเมื่อคุณสามารถหาทางออกให้กับเรื่องนั้นได้

ความกังวลแบ่งเป็น 3 ระดับ

ความกังวลระดับต่ำ หมายถึง มีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เล็กน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้มีความใส่ใจที่จะดูแลและป้องกันตนเอง ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

ความกังวลระดับปานกลาง หมายถึง มีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ปานกลาง ซึ่งอาจกระทบกับการดำเนินชีวิตปะจำวันในบางด้าน และมีโอกาสที่จะเพิ่มความกังวลสูงขึ้นได้ หากมีวิธีปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม

ความกังวลระดับสูง หมายถึง มีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สูง จนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ความกังวลในระดับนี้หากคงอยู่เป็นเวลานาน อาจเพิ่มโอกาสเจ็บป่วยทางกายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาทางผ่อนคลายกังวลให้น้อยลง

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจทำให้นักศึกษาจำนวนมากเกิดความวิตกกังวล เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เราจะลดความวิตกกังวลที่ทำให้บั่นทอนจิตใจของเราได้อย่างไร เพราะนอกจากการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลจิตใจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ มีวิธีแนะนำดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
  • เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1-2 เมตร และไม่อยู่ที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หรือผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งกระตุ้น เมื่อพบว่ามีความกังวลเกิดขึ้นอย่าใช้ทางออกด้วยการดื่มแอลกอฮอล์หรือกินยานอนหลับ
  • รับข่าวสารให้น้อยลงและเลือกอ่านข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น หรือติดตามข่าวสารอย่างมีสติ
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความกังวล เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูรายการบันเทิง และอื่นๆ
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีความวิตกกังวลสูง สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิก หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา เพิ่มเติมได้ที่สายด่วย 1745

ทั้งนี้จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า นักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงโควิด-19 อย่างไร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เกิดความวิตกกังวลจากสถานการณ์นี้ สำหรับเทคนิคการลดความวิตกกังวลนั้น แต่ละคนมักจะมีวิธีที่ถนัดไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากความวิตกกังวลลดลง ทุกคนก็จะยังคงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • บัลลังก์ โรหิตเสถียร (2021). ศธ.360 องศา , จาก https://moe360.blog/
  • โรงพยาบาลเพชรเวช (2563). ความกลัวและความวิตกกังวลที่มาหลังจากวิกฤต COVID-19 , จาก http://www.petcharavejhospital.com/th/Home/search_list
  • โรงพยาบาลบางประกอบ 9 (2563). สุขภาพจิตดี สู้ COVID – 19 , จาก https://www.bangpakokhospital.com/care_blog
  • ใครวิตกกังวลกับโควิด-19 TOT มีวิธีแก้ไขง่ายๆ , จาก https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/07/16/who-were-worried-about-19

61240016 นางสาวกชกร ไกรพูล
ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร