ฉันคือความเหงา แล้วคุณจะรู้จักฉันมากขึ้น
คุณรู้สึกเหงาตอนไหน ในตอนกลางคืนที่มีแต่เพียงคุณในห้องตามลำพัง ในตอนที่คุณมีเรื่องตั้งมากมายที่ อยากจะเล่าแต่ไม่มีใครให้พูดคุยด้วย ในตอนที่คุณนั่งกินข้าวในร้านอาหารที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมายแต่เก้าอี้ตรง ข้ามคุณกลับไม่มีใคร หรือในตอนที่คุณคิดถึงใครบางคนจนจับหัวใจ เราต่างมีเรื่องให้เหงาแตกต่างออกไปในแต่ละ คน
ความเหงาคืออะไร ‘สภาวะความเหงา’ คืออารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถเกิดอาการ เหงาขึ้นได้กับทุกคนเมื่อมีปัจจัยของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่จะเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ในระยะวันหรือ สัปดาห์เท่านั้น และเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นปกติความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว จะหายไป
“เหงาตามฤดูกาล ช่วงอากาศหนาว ฝนตก เหงายามโพล้เพล้เพราะอยู่คนเดียว แฟนไม่อยู่ไปทำงาน ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศอาทิตย์หนึ่งหรืออยู่คนเดียวที่หอพัก แต่หากเมื่อพ้นปัจจัยตรงนี้แต่ชีวิตยังรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ปลีกเก็บตัวเป็นเดือนๆ ถือเป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจจะมีในเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้าเข้าร่วมด้วย”
ความเหงามีด้วยกัน 3 ระดับ คือ
1.ระดับเล็กน้อย มีความเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยวไม่เกิน 1 สัปดาห์
2.ระดับปานกลาง มีความเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยว คิดว่าไร้ตัวตัว 4-6 เดือน
3.ระดับรุนแรง มีความเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยว คิดว่าไร้ตัวตน ซึมเศร้าและมองโลกในแง่ลบ ตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไปเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะความเหงาจนพัฒนาเป็นโรคทางจิตเวช (Schizophrenia) หรือโรคจิตประสาท (Neurosis) เช่น โรคความเครียด โรควิตกกังวล โรคทางด้านอารมณ์ก็คือโรคซึมเศร้า แม้จะยังมีสัมปชัญญะ สามารถคุมชีวิตประจำวันได้ ไม่ปล่อยเนื้อตัวให้สกปรก สะสมของต่างๆ แบบผู้ป่วยขั้นโรคทางจิตเวชที่รุนแรงกว่า แต่อาจจะรู้สึกสูญเสียบางอย่างของฟังก์ชันทำให้ทรมานกับชีวิต ทำให้มีเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้าอยู่เสมอ กระทั่งส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันในระดับพอสมควร และพัฒนามาเข้าสู่ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชหากไม่ได้รับการ พูดคุยหรือรักษาโดยจิตแพทย์
วิธีอการรับมือกกับความเหงา
1.ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การพบปะผู้คน เช่น การเข้ากลุ่มจิตอาสา เข้าชมรมกิจกรรมต่าง ๆ หางานอดิเรกที่ชอบทำ การเลี้ยงสัตว์ หรือทางศาสนา การเข้าวัด ทำบุญ ปฏิบัติธรรม การเข้าโบสถ์ นมัสการพระเจ้า
- สร้างตัวเองให้แข็งแรง
หาเพื่อน คนรัก ครอบครัว หรือใครสักคนที่สบายใจที่จะคุยด้วย
แต่วิธีการเหล่านี้ช่วยได้ได้เฉพาะในความเหงาในระดับ 1-2 เท่านั้น หากเป็นระยะที่ 3 คือ ระดับรุนแรง ควรพบและรับการรักษาจากจิตแพทย์เพื่อประเมินด้วยเครื่องมือทางจิตเวชและแบบทดสอบในการแยกแยะระดับ และแยกแยะโรคที่พัฒนามาจากความเหงาเป็นโรคประเภทใด ซึ่งจะมีวิธีการรักษาทั้งการให้ยาร่วมกับการทำจิต บำบัด
คุณอาจเคยได้ยินคำนี้มาแล้วบ้างว่าความเหงาไม่เคยฆ่าใคร ถูกต้องแล้วความเหงาไม่เคยฆ่าใคร แต่ความ เศร้าที่เกาะติดจิตใจต่างหาก มันจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนคุณจมลึกลงไปในหลุมดำอันกว้างใหญ่และมืดมิด ที่ทั้งโดด เดี่ยว อ้างว้าง เมื่อคุณรู้สึกเช่นนี้ คุณจะจัดการอารมณ์เหงา เศร้านี้อย่างไร บาดแผลบางอย่างเราอาจใส่ยาและ รักษาเองด้วยตัวเองได้ แต่แผลที่ใหญ่บางครั้งก็ต้องการใครซักคนเข้ามาช่วย ถ้าในวันที่คุณคิดว่าแผลนี้คุณไม่ สามารถรักษาด้วยตัวของคุณเองได้ คุณก็แค่ยอมรับและให้หมอเป็นผู้รักษาให้คุณ
612433345 นางสาวสุกัญญา แยช่อกู่
ผศ.ดร.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร
อ้างอิง
https://pbs.twimg.com/media/B94PHk6CcAEKlwc?format=jpg&name=small(รูปภาพ) https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29723 กรมสุขภาพจิต
อย่าปล่อยให้ความเหงาทำลายชีวิต งานวิจัยเผยรอดได้แค่รู้ทัน