ใต้ร่มราชพฤกษ์:
ระดับปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
Doctor of Philosophy (Political Science)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์เน้นการศึกษาเชิงวิพากษ์ที่มุ่งเน้นการวิจัยแบบเชิงลึกที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการผลิตสร้างคำอธิบายทางการเมืองในมิติต่างๆที่มีความใหม่ (Originality) โดยเน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมอย่างเป็นองค์รวม อีกทั้งยังมุ่งสร้างงานวิจัยเชิงนโยบายศึกษาที่เป็นประโยชน์กับสังคมและวงวิชาการทั้งไทยและสากล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ
  • เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับสูง
  • เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลการวิจัยในเชิงวิพากษ์ มีการบูรณาการความรู้กับพื้นฐานทางวิชาการของผู้เรียนที่หลากหลายและนำมาซึ่งความรู้ที่มีความใหม่และเป็นประโยชน์
  • เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิชาการด้านรัฐศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  • มีศักยภาพในการวิจัยด้านรัฐศาสตร์ที่ลุ่มลึกและมีข้อเสนอใหม่ต่อวงวิชาการรัฐศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญในพัฒนาการล่าสุดขององค์ความรู้ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสำคัญของสังคมการเมืองไทย
  • มีความสามารถในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ทางด้านรัฐศาสตร์หรือพัฒนาเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ในสาขาวิชาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในระดับสากล รวมทั้งการจัดการความรู้ด้านรัฐศาสตร์อย่างเป็นระบบ
  • มีความตระหนักรู้ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการ เป็นนักวิชาการรัฐศาสตร์ที่มีธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมการเมืองไทย
การสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร

การรับเข้าศึกษา: รับนิสิตไทย และนิสิตต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษามีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ระดับการศึกษา
    • หลักสูตร แบบ 1.1: ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆอันเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการ โดยจะต้องเคยมีผลงานวิจัยอันเป็นที่ประจักษ์ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนระดับประเทศขึ้นไป หรือมีบทความวิจัย/บทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการ หรือมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เป็นหนังสือ/ตำราโดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ และมีโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมทางวิชาการและบ่งบอกทิศทางการวิจัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตรด้วย กรณีนอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ
    • หลักสูตร แบบ 2.1:  ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆอันเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการ และมีโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมทางวิชาการและบ่งบอกทิศทางการวิจัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตรด้วย
    • หลักสูตร แบบ 2.2: ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆอันเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการ โดยได้รับผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมทางวิชาการและบ่งบอกทิศทางการวิจัยที่มีคุณภาพและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตรด้วย ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ ซึ่งอาจกำหนดให้นิสิตเป็นรายบุคคลเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับความรู้ให้สอดคล้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์
  2. ผู้เข้าศึกษาต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ ก่อนเข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยนเรศวรกำหนด
  3. มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 และประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เกี่ยวข้อง
โอกาสของอาชีพหลังจบการศึกษา
  • นักวิชาการและนักวิจัย
  • อาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • นักวิชาการนโยบายสาธารณะ
รายละเอียดหลักสูตรระดับปริญญาเอก

หลักสูตรแบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาโท)

1.งานรายวิชา (coursework) ไม่น้อยกว่า –
     1.1 วิชาบังคับ –
     1.2 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า –
2.วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48
3.รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 6
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48

หลักสูตรแบบ 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาโท)

1.งานรายวิชา (coursework) ไม่น้อยกว่า 12
     1.1 วิชาบังคับ 6
     1.2 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6
2.วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36
3.รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 6
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48

หลักสูตรแบบ 2.2 จำนวน 72 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาตรี)

1.งานรายวิชา (coursework) ไม่น้อยกว่า 24
     1.1 วิชาบังคับ 15
     1.2 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9
2.วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48
3.รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 6
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 72

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล พุทธรักษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.วัลลภัช สุขสวัสดิ์
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล พุทธรักษา
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร อินทะสี

หลักสูตรแบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาโท)

     (1) วิทยานิพนธ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

  • 833661 วิทยานิพนธ์ 1 แบบ 1.1 (Dissertation 1, Type 1.1)
  • 833662 วิทยานิพนธ์ 2 แบบ 1.1 (Dissertation 2, Type 1.1)
  • 833663 วิทยานิพนธ์ 3 แบบ 1.1 (Dissertation 3, Type 1.1)
  • 833664 วิทยานิพนธ์ 4 แบบ 1.1 (Dissertation 4, Type 1.1)
  • 833665 วิทยานิพนธ์ 5 แบบ 1.1 (Dissertation 5, Type 1.1)
  • 833666 วิทยานิพนธ์ 6 แบบ 1.1 (Dissertation 6, Type 1.1)

     (2) รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 833601 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 1 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 1)
  • 833602 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 2 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 2)
  • 833603 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 3 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 3)
  • 833604 การวิจัยขั้นสูงทางสังคมศาสตร์ (Advanced Research in Social Sciences)

หลักสูตรแบบ 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาโท)

     (1) งานรายวิชา จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

          1.1) วิชาบังคับ จำนวน 6 หน่วยกิต

  • 833611 ปรัชญาสังคมศาสตร์กับการวิเคราะห์ทางการเมือง (Philosophy of Social Science and Political Analysis)
  • 833612 การเมืองกับนโยบายสาธารณะ (Politics and Public Policy)

          1.2) วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 833621 ทฤษฎีการเมืองขั้นสูง (Advanced Political Theory)
  • 833622 เศรษฐกิจการเมืองขั้นสูง (Advanced Political Economy)
  • 833623 การเมืองเปรียบเทียบขั้นสูง (Advanced Comparative Politics)
  • 833624 การเมืองระหว่างประเทศขั้นสูง (Advanced International Politics)
  • 833625 ความมั่นคงศึกษาขั้นสูง (Advanced Security Studies)
  • 833626 การเมืองกับการพัฒนาขั้นสูง (Advanced Politics and Development)
  • 833627 การจัดการวิกฤติและภัยภิบัติขั้นสูง (Advanced Crisis and Disaster Management)
  • 833628 การคลังสาธารณะขั้นสูง (Advanced Public Finance)
  • 833629 ความขัดแย้งและสันติวิธีศึกษาขั้นสูง (Advanced Conflict and Peace Studies)

     (2) วิทยานิพนธ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

  • 833671 วิทยานิพนธ์ 1 แบบ 2.1 (Dissertation 1, Type 2.1)
  • 833672 วิทยานิพนธ์ 2 แบบ 2.1 (Dissertation 2, Type 2.1)
  • 833673 วิทยานิพนธ์ 3 แบบ 2.1 (Dissertation 3, Type 2.1)
  • 833674 วิทยานิพนธ์ 4 แบบ 2.1 (Dissertation 4, Type 2.1)
  • 833675 วิทยานิพนธ์ 5 แบบ 2.1 (Dissertation 5, Type 2.1)

     (3) รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 833601 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 1 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 1)
  • 833602 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 2 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 2)
  • 833603 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 3 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 3)
  • 833604 การวิจัยขั้นสูงทางสังคมศาสตร์ (Advanced Research in Social Sciences)

หลักสูตรแบบ 2.2 จำนวน 72 หน่วยกิต (สำหรับผู้ศึกษาต่อจากระดับปริญญาตรี)

     (1) งานรายวิชา จำนวนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

          1.1) วิชาบังคับ จำนวน 15 หน่วยกิต

  • 833511 ทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐศาสตร์ (Theories and Concepts of Political Science)
  • 833512 ทฤษฎีและแนวคิดทางการเมืองระหว่างประเทศ (Theories and Concepts in International Politics)
  • 833513 ทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Theories and Concepts of Public Administration)
  • 833611 ปรัชญาสังคมศาสตร์กับการวิเคราะห์ทางการเมือง (Philosophy of Social Science and Political Analysis)
  • 833612 การเมืองกับนโยบายสาธารณะ (Politics and Public Policy)

          1.2) วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

  • 833621 ทฤษฎีการเมืองขั้นสูง (Advanced Political Theory)
  • 833622 เศรษฐกิจการเมืองขั้นสูง (Advanced Political Economy)
  • 833623 การเมืองเปรียบเทียบขั้นสูง (Advanced Comparative Politics)
  • 833624 การเมืองระหว่างประเทศขั้นสูง (Advanced International Politics)
  • 833625 ความมั่นคงศึกษาขั้นสูง (Advanced Security Studies)
  • 833626 การเมืองกับการพัฒนาขั้นสูง (Advanced Politics and Development)
  • 833627 การจัดการวิกฤติและภัยภิบัติขั้นสูง (Advanced Crisis and Disaster Management)
  • 833628 การคลังสาธารณะขั้นสูง (Advanced Public Finance)
  • 833629 ความขัดแย้งและสันติวิธีศึกษาขั้นสูง (Advanced Conflict and Peace Studies)

     (2) วิทยานิพนธ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

  • 833681 วิทยานิพนธ์ 1 แบบ 2.2 (Dissertation 1, Type 2.2)
  • 833682 วิทยานิพนธ์ 2 แบบ 2.2 (Dissertation 2, Type 2.2)
  • 833683 วิทยานิพนธ์ 3 แบบ 2.2 (Dissertation 3, Type 2.2)
  • 833684 วิทยานิพนธ์ 4 แบบ 2.2 (Dissertation 4, Type 2.2)
  • 833685 วิทยานิพนธ์ 5 แบบ 2.2 (Dissertation 5, Type 2.2)
  • 833686 วิทยานิพนธ์ 6 แบบ 2.2 (Dissertation 6, Type 2.2)

     (3) รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 833601 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 1 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 1)
  • 833602 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 2 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 2)
  • 833603 สัมมนาประเด็นปัญหาในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย 3 (Seminar in Contemporary Issues in Political Science 3)
  • 833604 การวิจัยขั้นสูงทางสังคมศาสตร์ (Advanced Research in Social Sciences)