ประวัติความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2533 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขต พิษณุโลก ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศและได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร” คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ จึงได้ยุบรวมเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เห็นสมควรให้จัดโครงสร้างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขึ้นใหม่ เพื่อให้การบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้น จึงได้แยกคณะสังคมศาสตร์ ออกมาจัดตั้งเป็นคณะใหม่อีกครั้ง ประกอบไปด้วย สาขาวิชาพัฒนาสังคม สาขาวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาวิชารัฐศาสตร์
สัญลักษณ์
ออกแบบโดย กวินธร เสถียร และกวีวัชร์ เสถียร นำแนวคิดมาจากความคุ้นชินในการให้เสียงของ คุณสุชาดี มณีวงศ์ ในรายการ “กระจกหกด้าน” (Six-Mirror) ผนวกกับข้อความตอนต้นของรายการที่แสดงถ้อยเทศนาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ว่า
“คนเราทุกวันนี้ดีแต่ส่องกระจกด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้านมาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง”
เปรียบเทียบกับคนทั่วไป ซึ่งมักพิจารณาเรื่องใดๆ เรื่องหนึ่งจากมุมมองด้านเดียว การทำความเข้าใจมิติทางสังคม วัฒนธรรม และเรื่องราวของบุคคลจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายทั้งด้านเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงลักษณะทางระบบนิเวศเช่นกัน ความหลากหลายดังกล่าวแทนภาพสะท้อนจากกระจกที่มีขนาดและมิติของสีแตกต่างกันไป ดังนี้
- กระจกสีขาว แทน คุณธรรม จริยธรรม
- กระจกสีเทา แทน ความไม่สมบูรณ์แบบ ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
- กระจกสีแสด แทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
- กระจกสีน้ำเงิน (สีครามน้ำทะเล) แทน ความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ
- กระจกสีเขียว แทน ความรัก ความห่วงใยต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กระจกสีเลือดหมู แทน ความเป็นมนุษย์ การมีชีวิตชีวา และความเข้มแข็ง
- ดวงตา แทน การพิจารณาโดยใช้ปัญญา
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์
ปรัชญา:
เป็นภาควิชาที่มีความลุ่มลึกทางวิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาประยุกต์ มุ่งสร้างคนคุณภาพ สร้างสังคมที่มีความสุข
ปณิธาน:
มุ่งพัฒนาภาควิชา เพื่อสร้างคนคุณภาพ สร้างสังคมแห่งปัญญาและความสุข และบูรณาการความรู้ด้านสังคมศาสตร์สู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์:
มุ่งสู่การเป็นภาควิชาที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และสร้างสรรค์งานทางด้านสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2565
วัตถุประสงค์