หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
(Bachelor of Arts Program in Social Development)
- มีทักษะในการดำเนินชีวิตและอาชีพ เคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร เข้าใจบทบาท หน้าที่ และสิทธิพลเมือง สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุข มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการสังคมที่มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
- มีความรู้ สามารถอธิบายปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม โดยเชื่อมโยงไปสู่การวิพากษ์และเสนอแนวทางการพัฒนาในประเด็นปัญหาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยได้
- มีทักษะการเป็นนักปฏิบัติการด้านพัฒนาสังคม ที่ตระหนักถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งเป็นทักษะด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- มีทักษะด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางวิชาการ จริยธรรมการวิจัย และจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม และสามารถขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาสังคมด้วยองค์ความรู้จากการวิจัยหรือนวัตกรรม ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ทันสมัย เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม
การสมัครและคุณสมบัตของผู้สมัคร :
- รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา:
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 ข้อ 5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
5.1 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการและทางวิชาชีพหรือปฎิบัติการต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
5.2 หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี) หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการจากสถาบันการศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยรับรอง
5.3 หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองมีค่าเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่าและระหว่างศึกษาในหลักสูตรแบบก้าวหน้า หากภาคการศึกษาใดมีผลการเรียนต่ำกว่า 3.50 จะถือว่าขาดคุณสมบัติในการศึกษาหลักสูตรแบบก้าวหน้า
5.4 เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5.5 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
5.6 ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติ
ภาครัฐ สามารถสอบ กพ. เข้าสู่ระบบราชการได้ตามความเชี่ยวชาญที่จบมา หรือสาขาใกล้เคียง โดยปกติแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
- กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เช่น พัฒนากรตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
- สถาบันวิจัยทางสังคม รวมถึงสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
- หน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่มีสาขาที่ใกล้เคียง เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และอื่น ๆ
ภาคเอกชน
- บริษัท ห้างร้าน ที่ทำงานด้านการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะในฝ่ายที่ต้องดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
- องค์กรเอกชน (Non-Government Organizations: NGOs) มูลนิธิ และหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล เช่น องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรภาคประชาสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการจากแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) สำนักงานกองทุน
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร (แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30
1.1 วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 30
1.2 วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 1
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 93
2.1 วิชาพื้นฐาน 21
2.2 วิชาบังคับ 36
2.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 6
2.4 สหกิจศึกษา/ฝึกงาน/ฝึกอบรมในต่างประเทศ 6
2.5 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 24
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6
4.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
- ELO 1 มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต เคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร
- ELO 2 มีการปฏิบัติตามจริยธรรมทางวิชาการ จริยธรรมการวิจัย และจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม
- ELO 3 มีการแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
- ELO 4 เข้าใจบทบาทหน้าที่และสิทธิของพลเมือง ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในบริบทสังคมไทย
- ELO 5 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม
- ELO 6 ใช้กระบวนการวิจัยและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม
- ELO 7 อธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
- ELO 8 วิพากษ์และเสนอแนวทางการพัฒนาในประเด็นปัญหาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
- ELO 9 มีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคมจากการสหกิจในสถานประกอบการ
- ELO 10 มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและอาชีพ
- ELO 11 แสดงออกถึงการมีสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุข
- ELO 12 กล้าแสดงออกในการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างสร้างสรรค์
- ELO 13 มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามหรือการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตและอาชีพ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มวิชาภาษา จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- 001201 ทักษะภาษาไทย (Thai Language Skills)
- 001211 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
- 001212 ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
- 001213 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
1.2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 001221 สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า (Information Science for Study and Research)
- 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม (Language, Society and Culture)
- 001224 ศิลปะในชีวิตประจำวัน (Arts in Daily Life)
- 001225 ความเป็นส่วนตัวของชีวิต (Life Privacy)
- 001226 วิถีชีวิตในยุคดิจิทัล (Ways of Living in the Digital Age)
- 0001227 ดนตรีวิถีไทยศึกษา (Music Studies in Thai Culture)
- 001228 ความสุขกับงานอดิเรก (Happiness with Hobbies)
- 001229 รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ชีวิตที่มีความหมาย (Know Yourself, Understand Others, Meaningful Life)
- 001241 ดนตรีตะวันตกในชีวิตประจำวัน (Western Music in Daily Life)
- 001242 การคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovation)
1.3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 001231 ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน (Philosophy of Life for Sufficient Living)
- 001232 กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต (Fundamental Laws for Quality of Life)
- 001233 ไทยกับประชาคมโลก (Thai State and the World Community)
- 001234 อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (Civilization and Local Wisdom)
- 001235 การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (Politics, Economy and Society)
- 001236 การจัดการการดำเนินชีวิต (Living Management)
- 001237 ทักษะชีวิต (Life Skills)
- 001238 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
- 001239 ภาวะผู้นำกับความรัก (Leadership and Compassion)
- 001251 พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม (Group Dynamics and Teamwork)
- 001252 นเรศวรศึกษา (Naresuan Studies)
- 001253 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
1.4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 001271 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment)
- 001272 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Introduction to Computer Information Science)
- 001273 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน (Mathematics and Statistics in Everyday life)
- 001274 ยาและสารเคมีในชีวิตประจำวัน (Drugs and Chemicals in Daily Life)
- 001275 อาหารและวิถีชีวิต (Food and Life Style)
- 001276 พลังงานและเทคโนโลยีใกล้ตัว (Energy and Technology Around Us)
- 001277 พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior)
- 001278 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health)
- 001279 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Science in Everyday Life)
1.5) กลุ่มวิชาพลานามัย บังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 1 หน่วยกิต
- 001281 กีฬาและการออกกำลังกาย (Sports and Exercises)
หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต
2.1) วิชาพื้นฐาน จำนวน 21 หน่วยกิต
- 214110 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Economics)
- 230478 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Introduction to Law)
- 830100 แนวคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (Basic Concepts on Society and Culture)
- 830101 แนวคิดทฤษฏีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociological and Anthropological Theories and Concepts)
- 830102 แนวคิดพื้นฐานระบบนิเวศ (Basic Concepts of Ecological Systems)
- 830103 แนวคิดทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคม (Theoretical Approaches to Social development)
- 833200 รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science)
2.2) วิชาบังคับ จำนวน 36 หน่วยกิต
- 205200 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Communicative English for Specific Purpose)
- 205201 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการวิเคราะห์เชิงวิชาการ (Communicative English for Academic Analysis)
- 205202 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอผลงาน (Communicative English for Research Presentation)
- 830213 พัฒนาการของการพัฒนา (The Evolution of Development Studies)
- 830214 สำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาสังคม (Theoretical Approaches to Sociology and Anthropology)
- 830215 ประชากรศาสตร์สังคมเบื้องต้น (Introduction to Social Demography)
- 830216 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ (Economic Sociology and Anthropology)
- 830217 จิตวิทยาประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม (Applied Psychology for Social Development)
- 830218 กระบวนการและเทคนิคการทำงานพัฒนา (Process and Techniques for Development Work)
- 830219 ทฤษฎีนโยบายสังคม (Social Policy Theories)
- 830220 การวางแผน และการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาสังคม (Planning and Project Implementation for Social Development)
- 830221 สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 1 (Statistics and Computers for Social Sciences Research 1)
- 830222 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Research Methodology in Social Sciences)
- 830223 การฝึกปฎิบัติการพัฒนาสังคม (Social Development Practice)
2.3) วิชาเลือก ให้เลือกคละวิชา 4 กลุ่มต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
2.3.1) กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา
- 830330 นโยบายสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Policy for Development)
- 830331 นโยบายเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Economic and Social Policy for Local Development)
- 0830332 ประชากรและการพัฒนา (Population and Development)
- 830333 ประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์ (Population and Reproductive Health)
- 830334 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
- 830335 การบริหารการพัฒนาสังคม (Social Development Administration)
- 830336 การพัฒนาเมือง (Urban Development)
- 830337 การพัฒนาท้องถิ่นไทย (Thai Local Development
- 830338 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา (Environment and Development
- 830339 นโยบายด้านการย้ายถิ่น (Policy of Migration)
- 830340 นโยบายด้านสวัสดิการสังคม (Social Welfare Policy)
- 830341 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
- 830342 การปกครองท้องถิ่นไทย (Thai Local Administration)
- 830343 การเมืองกับการพัฒนาสังคม Politics and Social Development
- 830344 ยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Strategic Integration of Local Development)
- 830345 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา (Law Concerning Development)
2.3.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการสังคม
- 830350 กระบวนการกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายทางสังคม (Group Dynamics Organization and Social Network)
- 830351 การจัดการตนเองของชุมชน (Community Autonomous Management)
- 830352 นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ (Social Innovation for Creative Development)
- 830353 การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Application of Geographic Information System for Development)
- 830354 สารสนเทศและสื่อสารมวลชนเพื่อการพัฒนา (Information and Mass Communication for Development)
- 830355 การพัฒนาความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking Development)
- 830356 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Management)
- 830357 แนวคิดและปฏิบัติการเพื่อความรับผิดชอบทางสังคม (Concepts and Practice on Cooperative Social Responsibility)
- 830358 ชุมชนเชิงปฎิบัติการด้านการเรียนรู้ (Community of Learning Practice)
- 0830359 ธุรกิจเพื่อสังคมและผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprises and Social Entrepreneurship)
- 830360 พุทธธรรมกับสังคมไทย (Buddhadhamma and Thai Society)
- 830361 สมาธิเพื่อการพัฒนาชีวิต (Meditation for Life Development)
- 830362 การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment)
- 830363 ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Capital for Development)
- 830364 การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน (Education for Human Resource Development in Community)
2.3.3) กลุ่มวิชาวิจัยสังคม
- 830371 สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2 (Statistics and Computers for Social Sciences Research 2)
- 830372 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
- 830373 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
- 830374 แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเพื่อประยุกต์ใช้ในการวิจัย (Sociological and Anthropological Concepts for Research)
- 830375 การวิจัยนโยบาย (Policy Research)
- 830376 การทบทวนวรรณกรรมสำหรับงานวิจัยด้านพัฒนาสังคม (Literature Review for Social Development Research)
- 830377 การเขียนรายงานการวิจัย (Writing a Research Report)
- 830378 จรรยาบรรณนักวิจัยและจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (Codes of Conduct and Morality for Researchers)
- 830379 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา (Social Problems and Current Development Issues)
- 830380 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
2.3.4) กลุ่มวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- 830381 การเคลื่อนไหวทางสังคมกับการพัฒนา (Social Movement and Development)
- 830382 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม (Peace Studies for Social Development)
- 830383 นิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology)
- 830384 การเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรกับความหลากหลายในวิถีชีวิต (Agricultural Change and Diversity of Walks of Life)
- 830385 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการท่องเที่ยวกับการพัฒนา (Sociology and Anthropology of Tourism and Development)
- 830386 คนชายขอบกับการพัฒนา (Marginal and Marginalized People and Development)
- 830387 ประเพณีไทยและศาสนาในไทย (Thai Customs and Religions in Thailand)
- 830388 ศาสนาและจริยธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม (Religion and Ethics for Social Development)
- 830389 ชาติพันธุ์สัมพันธ์กับการพัฒนา (Ethnicity and Development)
- 830390 ชายแดนศึกษา (Borderland Studies)
- 830391 อาหารและวัฒนธรรม (Food and Culture)
- 830392 มานุษยวิทยาสินค้า (Anthropology of Commodities)
- 830393 สังคมวิทยาสุขภาพ (Health Sociology)
- 830394 ประชากรและสังคมผู้สูงวัย (Population and Aging Society)
- 830395 ประชากรศาสตร์ครอบครัว (Family Demography)
- 830396 ประชากรกับคุณภาพชีวิต (Population and Quality of Life)
- 830397 เพศสภาวะและเพศวิถี (Gender and Sexuality)
- 830398 พฤติกรรมอปกติในวัฒนธรรมไทย (Abnormal Behaviors in Thai Culture)
- 830399 สังคมวิทยาวัยเด็กเบื้องต้น (Introduction to Sociology of Childhood)
- 830400 ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย (Inequality in Thai Society)
- 830401 สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนา (Human Rights and Development)
2.4) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- 830224 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 1 (Undergraduate Thesis 1)
- 830225 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 2 (Undergraduate Thesis 2)
2.5) สหกิจศึกษา/การฝึกงาน/ฝึกอบรมหรือการฝึกงานในต่างประเทศ กำหนดให้เลือกเรียน 1 รายวิชา จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
- 830226 สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
- 830227 การฝึกงาน (Professional Training)
- 830228 ฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ (Overseas Training or Professional Training)
3) หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยนิสิตสามารถเลือกเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนเรศวรหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรรับรอง
- สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้มีการดำเนินงานพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม