ประธาน และผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งการแสวงหาและตรวจสอบความจริงภายใต้เงื่อนไขของเวลาบนพื้นฐานของการวิพากษ์หลักฐานอย่างเคร่งครัด ประวัติศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่สอนให้รู้รอบและรู้จริง
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ
- มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีความรอบรู้ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อเข้าใจบริบทของสังคม และในการประกอบอาชีพต่างๆ รวมทั้งบูรณาการประวัติศาสตร์กับศาสตร์อื่น เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน
- มีทักษะในการทำวิจัย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและเผยแพร่ผลงานวิจัยในสาขาประวัติศาสตร์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล
- ผศ.สุพรรณี เกลื่อนกลาด
- ดร.ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว
- อาจารย์ชนิดา พรหมพยัคฆ์
- อาจารย์ดารุณี สมศรี
โครงสร้างหลักสูตร
- จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
- โครงสร้างหลักสูตร (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30
1.1 รายวิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 30
1.2 รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 1 หน่วยกิต - หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 93
2.1 วิชาบังคับ 54 หน่วยกิต
2.2 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 6 หน่วยกิต
2.3 สหกิจศึกษา/ฝึกงานในต่างประเทศ 6 หน่วยกิต
2.4 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 27 - หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 30
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30
รายวิชา
834121 ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern Thai History)
– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Economic, social, and political changes in Thailand from the pre-Sukhothai period to the early Bangkok period.834122 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (Modern Thai History)
– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาริงจนถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
Economic, social, and political changes in Thailand from the Bowring Treaty to the 6 October 1976 incident.834141 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนสมัยใหม่ (History of Pre-Modern Southeast Asia )
– การก่อตัวของสังคมสมัยเริ่มแรก การเข้ามาของอารยธรรม อินเดีย จีน และอิสลาม และอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเข้ามาของชาติตะวันตกในศตวรรษที่ 15 และความรุ่งเรืองทางการค้าในศตวรรษที่ 16-17
The formation of early modern society, the entry of India, China and Islamic civilization and its influences on politics, economy and society of Southeast Asia; the arrival of the western in the 15th century and prosperous trade in the 16-17 century.834151 ประวัติศาสตร์เอเชียใต้ (History of South Asia)
– อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เอเชียใต้ยุคโบราณ การปกครองของมุสลิมในเอเชียใต้ เอเชียใต้ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ชาตินิยมและการต่อสู้เพื่อเอกราช การแบ่งประเทศ และประเทศในเอเชียใต้หลังได้รับเอกราช
Indus civilization, ancient South Asia, Muslim Rule, British Rule, nationalism and the struggle for independence, the Partition, and the South Asian countries after the Independence.834152 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก (History of East Asia)
– พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและภูมิปัญญาของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
Historical development of East Asia region in politics, economy, society and wisdom of the Chinese, the Japanese, and the Korean from ancient times to the present.834161 ประวัติศาสตร์ยุโรปก่อนสมัยใหม่ (History of Pre-modern Europe)
– ต้นกำเนิดอารยธรรมตะวันตก อารยธรรมกรีก จักรวรรดิโรมัน ยุโรปยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิรูปศาสนา และยุคภูมิธรรม
Sources of Western civilization, Greece civilization, Roman Empire, the medieval Europe, the Renaissance, the Reformation and the Enlightenment.834201 ภาษาอังกฤษในเอกสารประวัติศาสตร์ (English in Historical Documents)
– ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์
English for reading and researching in historical documents.- – รูปแบบโครงสร้าง วิธีการเขียน ทิศทาง และแนวคิดสำคัญๆ ในงานวิชาการประวัติศาสตร์
Structures, writing styles, major trends and approaches of academic works in History. 834212 ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ (Research Methodology in History)
– วิธีการและขอบเขตของวิจัยทางประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หลักฐานประวัติศาสตร์ การวิพากษ์หลักฐาน การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ การสังเคราะห์ และการเขียนผลศึกษาทางประวัติศาสตร์
Historical research method and its scope, historical facts, historical evidence, historical criticism, historical analysis, the synthesis and the writing of historical research.834223 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai History)
– การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนถึงปัจจุบัน
Economic, social, and political change in Thailand after the 6 October 1976 incident to the present.834224 ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี (Art History and Archaeology)
– พัฒนาการของศิลปะและหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และภูมิปัญญา
Development of art and archaeological evidence in Thailand from pre-historical age to historical age; relationship with economy, society, politics and thoughts.834231 ประวัติศาสตร์ชุมชนภาคเหนือตอนล่าง (History of Lower Northern Communities)
– การสลายตัวของสังคมรัฐสุโขทัยและการเกิดกลุ่มทางการเมืองของเจ้านายในท้องถิ่นเมืองเหนือ การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของเมืองสู่การเป็นรัฐชาติไทย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศท้องถิ่นของภาคเหนือตอนล่าง
The decline of Sukhothai state and the emergence of the political groups of the ruling class in the Lower Northern communities, changes of city status to the Thai nation state, changes in society, culture, economy, and local ecology in Lower Northern.834242 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ (History of Modern Southeast Asia)
– การเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจากอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก การก่อตัวของรัฐชาติสมัยใหม่ การต่อสู้เรียกร้องเอกราชของขบวนการชาตินิยม ตลอดจนการพัฒนาประเทศและความขัดแย้งภายในหลังได้รับเอกราชและในยุคสงครามเย็น
The transformation of the politic, economy and society from the influence of the Western Imperialism; the formation of modern nation-states; the independence movement of nationalist until independence, as well as developing countries and conflicts within and between countries during the Cold War.834262 ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ (History of Modern Europe)
– การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติอุตสาหกรรม กำเนิดรัฐชาติ จักรวรรดินิยมของยุโรป ความเป็นสมัยใหม่ สงครามโลกครั้งที่ 1-2 ยุโรปในสงครามเย็น และยุคโลกภิวัตน์
The French Revolution, the Industrial Revolution, the birth of nations, European empires, modernities in Europe, the World War 1 and 2, Europe in the Cold War and the globalization.834263 ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา (History of the United States of America)
– ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม สงครามประกาศอิสรภาพ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อสังคมโลก
History of the United States from the settlement of Europeans, politics, economic and social changes, the Independence war, the United states and the World War 2 and the roles of the United States in the global level.834302 ภาษาอังกฤษในงานวิชาการประวัติศาสตร์(English in Academic History)
– ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและค้นคว้างานวิชาการด้านประวัติศาสตร์
English for reading and researching in academic historical writings.834303 ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนองาน (English for Presentation)
– การใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอความคิด ข้อโต้แย้ง และผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการนำเสนอประเภทต่างๆ
Practicing oral presentation of ideas, arguments and research in English using various types of presentation tools and techniques.- – ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ แนวคิดทางสังคมศาสตร์ที่สำคัญ การประยุกต์แนวคิดทางสังคมศาสตร์ในการวิจัยทางประวัติศาสตร์
The relationship between social sciences and history, major concepts in social sciences, the application of social sciences concepts in historical research. 834314 ปรัชญาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (Historical Philosophy and Historiography)
– ธรรมชาติของการพรรณนาในงานประวัติศาสตร์ การให้คำอธิบายทางประวัติศาสตร์ องค์ประธานและภาวะวิสัยในการศึกษาประวัติศาสตร์ ตรรกะและความจริงทางประวัติศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ และประวัติศาสตร์นิพนธ์สกุลหลักๆ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20
The nature of narrative in history, historical explanation, subjectivity and objectivity in history, logic and truth in history, concept of historiography, and major historiographical trends of the 19th and 20th centuries.834332 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local History)
– ความหมายและขอบเขตของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์จากหลักฐานท้องถิ่น และประวัติศาสตร์บอกเล่า โดยเน้นพลวัตของท้องถิ่น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น จารีตประเพณีของท้องถิ่น และตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการดำรงอยู่ในชุมชนท้องถิ่น
Meaning and scope of local history, historical data gathering and analysis of local evidence and oral history, namely myths and tales, focusing on local dynamics, especially local relations, custom and wisdom which contribute to the existence of communities.
834491 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี (Undergraduate Thesis)
– วิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
Conducting research and generating a thesis based on a topic in the history.
834492 การฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ (International Academic or Professional Training)
– การฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ในต่างประเทศโดยได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย
Professional training either at government or private sector abroad which is approved by the university.834493 สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
– การฝึกปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มประสบการณ์วิชาชีพทางประวัติศาสตร์ ในฐานะพนักงานในหน่วยงานหรือสถานประกอบการตามระบบสหกิจศึกษา
Basic real-work setting apprenticeship to increase professional career experience related to historical matters as an employee in an agency or enterprise according to co-operative education system.834495 การฝึกงาน (Professional Training)
– การฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐหรือเอกชน โดยได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย ซึ่งนิสิตจะใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานรวมตลอดภาคการศึกษา
Professional training either in government or private sector approved by the university. Students must spend one semester in training.
834225 วัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนา (Cultures and Religious Beliefs)
– หลักคำสอน พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาลทางศาสนา ศาสนากับวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศไทย
Teaching, rites, religious festivals and ceremonies; the religions and people’s way of life in Thailand.834226 มรดกภูมิปัญญาไทย (The Heritage of Thai Wisdom)
– มรดกภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
The heritage of Thai wisdom pertaining to ways of life, such as beliefs, traditions and cultures.834237 วัฒนธรรมชุมชน (Community Culture)
– ความเข้าใจเบื้องต้นของวัฒนธรรม ชุมชนกับวิถีวัฒนธรรม ความเข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยมิติทางวัฒนธรรมในชุมชนของตน ความสำคัญระหว่างการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมกับพัฒนาชุมชนด้วยตนเองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง
Understanding basic concepts of culture, community and culture, understanding self and others through cultural dimension, the importance of participation in cultural conservation and sustainable community development, case studies of life and community culture in the era of globalization especially in the Lower Northern Thailand.834243 ประวัติศาสตร์ประชาคมอาเซียน (History of ASEAN Community)
– กำเนิดของอาเซียน พัฒนาการความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน นโยบายและผลกระทบของอาเซียนต่อประเทศต่างๆ
The origin of ASEAN, the development of ASEAN cooperation, policies and the impacts of ASEAN to countries.834253 ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน (History of China’s Foreign Relations)
– ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน นโยบายต่างประเทศและปฏิสัมพันธ์ของจีนกับรัฐต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
History of International relations of China; its foreign policy and how it interacts with other states from the past to the present.834271 หัวข้อเฉพาะในเหตุการณ์ร่วมสมัย (Specific Issues in Contemporary Affairs)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมสมัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in contemporary affairs for an in-depth understanding.834272 ประวัติศาสตร์อาหารและเครื่องดื่ม (History of Food and Beverage)
– พัฒนาการของการผลิตกับการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในโลก การเดินทางจากอาหารและเครื่องดื่มในมิติการค้าเครื่องเทศและการล่าอาณานิคมสู่การพัฒนาเป็นอาหารและเครื่องดื่มประจำชาติ อาหารและเครื่องดื่มในมิติการต่อต้านการเป็นอาณานิคมของโคคาโคลา (cocacolonization) และการเปลี่ยนเป็นแบบแมคโดนัลด์ (mcdonalization) ชาตินิยมและการบริโภคตราสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม การสร้างมูลค่าและคุณค่าของอาหารและเครื่องดื่มจากหิ้งสู่ห้างและกระแสนิยมอาหารและเครื่องดื่มในโลกหลังสมัยใหม่
The development of global production and consumption of food and beverage; food and beverage in the dimension of spice trade and colonization; the development of national dish and national beverage; food and beverage in the anti-Cocacolonization and anti-Mcdonalization dimension; nationalism and consumption of food and beverage brands; value creation of food and beverage products from local stores to shopping malls; food and beverage consumption trend in the postmodern world.834327 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมไทย (Thai Economic and Social History)
– พัฒนาการและโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมในสังคมไทย กลุ่มต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคม ชีวิตทางสังคมและชีวิตประจำวัน และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในบริบททางประวัติศาสตร์
Economic and social development and structure of Thai society; economic and social groups; social life and everyday life and economic and social changes in their historical context.834333 ประวัติศาสตร์ล้านนา (History of Lanna)
– การก่อตัวของล้านนา ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การเสื่อมและล่มสลายของรัฐล้านนา ความสัมพันธ์แบบประเทศราชกับพม่าและสยาม และการเปลี่ยนสถานภาพจากรัฐ บรรณาการสู่ส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมหลังถูกผนวกเข้ากับสยาม
The formation of Lanna; its characteristics of political, economy and socio-cultural system, the decline and fall of Lanna; Lanna in the tributary relationship with Burma and Siam, its change from tributary states to a part of Siamese modern state as well as socio-economic chang after the integration.834334 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจท้องถิ่นไทย (History of Thai Local Economy)
– รูปแบบต่างๆ ทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยน การค้าขาย และพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายในท้องถิ่น โดยพิจารณาทั้งเศรษฐกิจที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับภายนอกท้องถิ่น
Variations in economic, exchange, trade and economic development including development of local network, considering bother the formal and informal economy, as well as relationship between local and outside.834335 ประวัติศาสตร์การเมืองท้องถิ่นไทย (History of Thai Local Politics)
– ประวัติการเมืองท้องถิ่นในระดับสากล นับตั้งแต่สมัยตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จนถึงยุคปัจจุบันผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ ในบริบทสังคมโลก และในระดับประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐส่วนกลางที่เป็นศูนย์กลางอำนาจกับท้องถิ่นในยุคสมัยต่างๆ วิเคราะห์ระบบการเลือกตั้งและบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นระดับชาติระดับต่างๆ ผลกระทบของการเมืองท้องถิ่นที่มีต่อระบบประชาธิปไตยท้องถิ่น ระบบการบริหารจัดการท้องถิ่น และทิศทางแนวโน้มการเมืองท้องถิ่นไทยในอนาคต
History of local politics at the international level since human settlements up to the present through the patterns of decentralization models in global and Thai context, the relationship between central state management and local in each period, analyzing the elections system and local politicians in all levels, the impacts of local politics to local democracy, local management and trends of Thai local politics in the future.834336 ประวัติศาสตร์ธุรกิจและเครือข่ายท้องถิ่น (History of Local Business and Network)
– รูปแบบและประเภทของธุรกิจท้องถิ่นทั้งในอดีตและปัจจุบัน พัฒนาการของธุรกิจท้องถิ่นนับตั้งแต่พ่อค้าวัวต่างและนายฮ้อยสู่การเป็นเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัฒน์ การเกิดเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นในโลกไร้สายและไร้พรมแดน อิทธิพลของเครือข่ายธุรกิจท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Forms and types of local business from the past to the present; the development of local business from cattle traders groups to local business network in globalized age, the origins of local business network in wireless and borderless world. the influence of local business network on politics, economics, society and culture from the past to the present.834344 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Historiography of Southeast Asia)
– ลักษณะและพัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัศนะที่มีต่ออดีตของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานเขียนประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองช่วงก่อนสมัยใหม่ การเขียนประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน
Development of historical writings in Southeast Asian counties, perceptions of the past of the Southeast Asian people, the historical writings of the native in pre modern time, the construction of national history and the Historiographies of the Southeast Asian nations at the present.834345 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Specific Issues in Southeast Asian History)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in Southeast Asian history for an in-depth understanding.834346 ลัทธิชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Nationalism in Southeast Asia)
– แนวคิดเรื่องรัฐชาติและชาตินิยม การเกิดขึ้นของแนวคิดชาตินิยมและขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของแนวคิดชาตินิยมต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ตลอดจน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
The concepts of nation and nationalism, the emergence of nationalism and nationalist movements in Southeast Asia, the influences of nationalism on political, economic, social and cultural and the relationship between countries in Southeast Asia.- – พัฒนาการทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมของ 5 ประเทศ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่การก่อตั้งอาณานิคม ยุคเอกราช ยุคสงครามเย็น ยุคการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอาเซียน การเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จนถึงยุคปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาและศักยภาพในการพัฒนาประเทศเหล่านี้ในบริบทสังคมโลก
Development of politics and public administration, economic, social, culture and environment situation of five countries in the Mekong region since the period of colonialization, independence, cold-war, Asian Economic Community (AEC), and Greater Mekong Sub-region (GMS) up to the present and also problems and potential of these countries in global society context. - – การพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สิ้นสุดสมัยอาณานิคม มาจนถึงการรวมกลุ่มเป็น “ประชาคมอาเซียน” รวมถึงยุทธศาสตร์ความมั่นคงในประเด็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น ชายแดน ความมั่นของมนุษย์ หรือความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในภูมิภาค
The country development in Southeast Asia from the end of colonial period to the formation of ‘ASEAN Community’ including other current issues of security strategy, for example, border, human security, food security, etc. that affect on the development of countries in this region. 834354 ประวัติศาสตร์จีนโพ้นทะเล (History of Overseas Chinese)
– ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนโพ้นทะเล ปัจจัยของการอพยพ อัตลักษณ์ ชีวิตและชุมชน ความสัมพันธ์ชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศจีนและประเทศที่อยู่
History of Chinese migration, factors of immigration, identity, lives and communities of overseas Chinese, relationships with China and their host countries.834355 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก (Specific Issues in East Asian History)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in East Asian history for an in-depth understanding.834356 มหาอำนาจเอเชียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Asian Superpowers and Southeast Asia Region)
– นโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมหาอำนาจใหม่ในเอเชีย ทั้งจากทางตะวันออก คือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และตะวันตกอันได้แก่อินเดียและตะวันออกกลาง ที่เกี่ยวข้องกับไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผลกระทบของนโยบายดังกล่าว
Political, economic, social, and cultural policy of Asia superpowers both in the east i.e. China, Japan and Korea and in the west i.e. India and the Middle East on Thailand and Southeast Asian countries and its impacts.834357 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์เอเชียใต้ (Specific Issues in South Asian History)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์เอเชียใต้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in South Asian history for an in-depth understanding.834364 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์ยุโรป (Specific Issues in European History)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรป เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in European history for an in-depth understanding.834365 หัวข้อเฉพาะในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา (Specific Issues in American History)
– ศึกษาประเด็นหัวข้อหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก
Studying the selected topics in American history for an in-depth understanding.834366 ประวัติศาสตร์รัสเซีย (History of Russia)
– ความเป็นมาของรัสเซียทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญา ตั้งแต่การก่อตั้งจักรวรรดิจนถึงการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทของรัสเซียที่มีต่อสังคมโลกในปัจจุบัน
Political, economic, social and intellectual background of Russia since the establishment of the Empire to the collapse of communism, including the analysis of the role of Russia on the world today.834373 ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental History)
– ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมนช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และผลกระทบที่มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีต่อกัน
The relationship between humankind and its environment over the different periods of time in the historical context to the present time emphasizing on the transformation, adaptation, and the mutual effect of human kind and its environment/nature.834374 บูรพาคดีศึกษากับภาพตัวแทนแบบอาณานิคม (Orientalism and Colonial Representation)
– ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตความรู้แบบบูรพาคดีศึกษากับโครงการอาณานิคมของยุโรป โดยสำรวจงานเขียนและจินตนาการเกี่ยวกับโลกตะวันออก โดยเฉพาะโครงสร้างของความรู้สึกและมุมมองความคิดที่เป็นรากฐานรองรับ
A relation between European orientalism and their colonial project, through the colonial writings and imaginations on the Orient, especially its structure of feeling and perspectives embedded.834375 แนวคิดแบบหลังอาณานิคมกับประวัติศาสตร์ (Postcolonialism and History)
– แนวคิดแบบหลังอาณานิคมและอิทธิพลของแนวคิดแบบหลังอาณานิคมต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมหลังอาณานิคมโดยเฉพาะงานเขียนของกลุ่ม Subaltern Studies ในอินเดียและในละตินอเมริกา
The Postcolonialism approach and its influence in historical studies of the postcolonial society, especially the Subaltern Studies group in India and Latin America.834376 ประวัติศาสตร์เพศสภาวะ (History of Sexuality)
– ประวัติศาสตร์เพศสภาวะตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 การให้ความหมายของเพศในเชิงกายภาพที่แตกต่างกันของแต่ละยุคสมัย ข้อถกเถียงร่วมสมัยเกี่ยวกับแนวคิดระหว่างเพศสภาวะและเพศสภาพ ประเด็นเรื่องเพศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทางสังคม เช่น การเจริญพันธุ์ การคุมกำเนิด การช่วยตนเอง การรักเพศเดียวกัน และโสเภณี
The history of sexualities from the 18th century; the different meanings that have been assigned to sexed bodies; contemporary debates about the relationship between sexuality and gender; sexual body as a subject to social control, such as reproduction, birth control, masturbation, homosexuality and prostitution.834377 ประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก (History of Emotions)
– ความหมายและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึก จารีตและแบบแผนการปฏิบัติที่ใช้เพื่อแสดงออก ปกปิด และจัดการอารมณ์ความรู้สึกในประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่ยุคกลาง โดยเฉพาะเรื่องของตัวตน มารยาท การแต่งกาย ความรัก และความโกรธ เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของยุโรป กับการแสดงออกของอารมณ์ความรู้สึกและแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกในส่วนอื่นๆ ของโลก
Meaning and method of history of emotions, codes of conduct aimed at the management, expression, and concealment of emotion over the last thousand years of European history, with a focus on the self, manners, dress, romance, and aggression; comparison of developed Western notion of emotions with configurations of emotional expression and emotional practices in selected other parts of the world.834378 ประวัติศาสตร์กีฬา (History of Sport)
– ประวัติศาสตร์กีฬาที่เกิดขึ้นในบริบทโลกจากยุคอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบันโดยศึกษาความสำคัญของกีฬาในเชิงประวัติศาสตร์สังคม วัฒนธรรม โดยครอบคลุมแนวคิดกีฬากับชาติพันธุ์ เพศ ชนชั้น ความเป็นมือสมัครเล่น ความเป็นมืออาชีพ ชาตินิยม สภาะแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับบริบทกีฬา ทั้งในระดับนานาชาติ เช่นกีฬาโอลิมปิก ระดับภูมิภาคอาเซียน เช่น เอเชียนเกมส์ และประเทศไทย รวมทั้งปัจจัยที่สนับสนุนและส่งเสริมกีฬาและผลกระทบของกีฬาประเภทต่างๆ ต่อสังคม ชุมชนและบุคคล
History of sports in global context from the colonial era to the present, using social and cultural history exploring the issues such as ethnicity, gender, class, amateurism, professionalism, nationalism, political, socio-economic, and cultural environments at the international level such as Olympics, regional level such as Asian Games and in Thailand, and sports supporting or promoting factors as well as impacts of sports on social, community and individual.834379 ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ไท (History of Tai Ethnicity)
-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ไทที่แตกแขนงไปตามพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรม ความเชื่อ นิทาน ตำนาน และลักษณะร่วมของชาติพันธุ์ไท ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
The historical development of the Tai ethnic group that spread over areas in South Asia, China and Southeast Asia; culture, beliefs, myths, legends and common characteristics in the changing context at present.834381 ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประชานิยม (History of Popular Culture)
– ความเป็นมาและลักษณะของวัฒนธรรมประชานิยมในด้านต่างๆ เช่น ดนตรี เพลง นวนิยาย ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สื่อดิจิตอล การแต่งกาย
The origin and nature of popular culture in various fields such as music, novels, movies, television programs, publishing, digital media, and fashion.834382 ประวัติศาสตร์สาธารณะ (Public History)
– ประวัติความเป็นมา ทฤษฎี และการปฏิบัติการของประวัติศาสตร์สาธารณะ วิธีการที่อดีตถูกอธิบาย สร้างสรรค์ สื่อสารให้เกิดการมีส่วนร่วม และนำเสนอต่อบุคคลต่างๆ ที่หลากหลาย รูปแบบต่างๆ ของประวัติศาสตร์สาธารณะ ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานแหล่งท่องเที่ยว จนถึงการเผยแพร่ในสื่อทางสังคมและภาพยนตร์
The history, theory, and practice of public history; the ways in which the past is explained, characterized, engaged, and presented to various audiences; the varied forms of public history from museums and commemorative spaces to social media feeds and film.834383 การจัดการมรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural World Heritage Management)
– หลักการและแนวคิดมรดกโลกทางวัฒนธรรม วิธีการในการจัดการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เช่น การอนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู การวางแผนคุ้มครองมรดกโลก การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ มาตรการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Principles and concepts in cultural world heritage management, methods in managing the cultural world heritage sites, for example the preservation, the restoration, the renovation, the planning for protection and the physical carrying capacity, and the involving laws.- – แนวคิดและวิธีการในการจัดการทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ การจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน และการบำรุงรักษาเอกสารท้องถิ่น
Concepts, methods in historical resources management, resources management, preservation of historical objects and sites, maintenance of local documents. 834385 การจัดการพิพิธภัณฑ์ (Museum Practice)
– ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ หลักการและแนวคิดพิพิธภัณฑ์ การจัดการและการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ การวางแผนและออกแบบนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ และกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์
The historical development of meseum; principles and concepts in museology; the management and preservation of museum objects; planning and design exhibition in meseums and activities for museum.834386 สื่อและการจัดแสดงทางประวัติศาสตร์ (Media and Historical Exhibition)
– รูปแบบ เทคโนโลยี และประเภทของสื่อในฐานะเครื่องมือการสร้างความเข้าใจและการรับรู้ประวัติศาสตร์ในกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เทคนิคการจัดแสดงและการสื่อความหมายทางประวัติศาสตร์ที่ลดทอนความบาดหมางและขัดแย้งแต่มุ่งนำเสนอให้เห็นหนทางการใช้อดีตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน การผลิตสื่อเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมร่วมสมัย นิสิตนำเสนอผลงานการผลิตสื่อและการจัดแสดงทางประวัติศาสตร์ปลายภาคการศึกษา
Technology and media as tools for promoting understanding and knowledge about history among various groups; exhibition techniques and communication of historical meanings that reduce conflicts and using the past to construct the future; media production for historical and cultural heritage conservation in contemporary context; students presenting media products and historical exhibition in the end of the semester.834387 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism)
– ความหมายและความเข้าใจผลกระทบของการท่องเที่ยวที่เข้าไปจัดกระทำต่อวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ การเคลื่อนตัวของนักท่องเที่ยวชนชั้นกลางกับกระบวนการสร้างสำนึกโหยหาอดีตทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว รูปแบบและกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ทั้งในด้านมูลค่าและคุณค่า ตลอดจนการส่งเสริมให้ชุมชนจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยตนเอง
Meaning and understating of the impacts of tourism on managing culture in various forms; the movement of middle class tourists and the process of nostalgia creation and the making of culture as a tourism commodity, process of constructive cultural tourism management in the aspect of both price and value, promoting cultural tourism in community.834388 ปัญหาพิเศษในประวัติศาสตร์ (Special Problems in History)
– ประเด็นปัญหาพิเศษในประวัติศาสตร์ โดยเลือกศึกษาเป็นรายกรณี
Selected case study from special problems in history.
- ให้นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนเรศวร หรือสถาบันการศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรรับรองจำนวน 6 หน่วยกิต
การสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร
ขอเชิญนักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ส่งผลงานการเขียนในรูปแบบของความเรียง หรือบทความทางประวัติศาสตร์
ในโครงการ “ส่งเสริมนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่” TCAS รอบที่ 1: รอบ Portfolio
Download >> ตัวอย่างการเขียน
โดยท่านสามารถติดตามข่าวสาร และรายละเอียดการรับสมัครเพิ่มเติมได้ที่ www.admission.nu.ac.th
โอกาสของอาชีพหลังจบการศึกษา
- ผู้ปฏิบัติงานด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
- ผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์
- ผู้ปฏิบัติงานในด้านการท่องเที่ยว
- นักเขียนค้นคว้าอิสระ ผู้ผลิตสื่อ ผู้ปฏิบัติงานในวงการสื่อสารมวลชน
- นักวิจัยในองค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ศึกษาต่อในระดับสูงทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
กิจการนิสิต
ชมรมประวัติศาสตร์
ชมรมประวัติศาสตร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อันมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่นิสิตในภาควิชาประวัติศาสตร์ โดยทางภาควิชาและชมรมประวัติศาสตร์มีหน้าที่อำนวยการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาไปเยือนแหล่งโบราณสถานสำคัญต่างๆ และมอบหมายให้นิสิตชั้นปีที่ 4 เป็นวิทยากรในการให้ความรู้และบรรยายแหล่งโบราณสถานให้แก่นิสิตชั้นปีอื่นๆ ทั้งนี้ โบราณสถานที่สำคัญที่ทางชมรมประวัติศาสตร์ได้จัดให้มีการทัศนศึกษาหมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปีได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สุพรรณบุรีและอยุธยา ทั้งนี้ การทัศนศึกษาดังกล่าวไม่เพียงจะทำให้นิสิตได้ไปเห็นแหล่งที่ตั้งของโบราณสถานเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการส่งเสริมให้นิสิตเกิดการตั้งคำถาม ถกเถียงในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บูรณาการระหว่างสิ่งที่เห็นกับความรู้ที่มีอยู่ และส่งเสริมการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยตัวนิสิตเอง
อนึ่ง ในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ชมรมประวัติศาสตร์ได้ก้าวไปสู่บทบาทใหม่ เพราะไม่เพียงแต่ดำเนินกิจกรรมเพียงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตในภาควิชาเท่านั้น หากแต่ยังเล็งเห็นถึงการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ให้ออกไปยังบุคคลภายนอกอีกด้วย โดยกิจกรรมที่จะจัดขึ้นนั้นได้ริเริ่มจากนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ในนามของชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์สามารถเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น จึงได้มีการนำความรู้ด้านประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มาผนวกเข้ากับการจัดแสดงหุ่นกระบอกร่วมสมัย โดยใช้เวลาเตรียมการและซักซ้อมนานร่วมปี เพื่อให้การแสดงจะสามารถถ่ายทอดความประทับใจและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ให้แก่บุคคลภายนอกและเยาวชนได้รับความรู้ที่ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูประวัติศาสตร์ โดยทำให้เยาวชนรุ่นใหม่เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านหุ่นกระบอก ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวอยู่บนความร่วมมือของสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ชมรมประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และชมรมศิษย์เก่า นอกจากนี้ การแสดงหุ่นกระบอกของชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้รับเกียรติให้ไปจัดแสดงในเทศกาลหุ่นโลก ณ กาญจนบุรี 2016 (Thailand Harmony World Puppet Festival in Kanchanaburi 2016) ในระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ด้วยบทบาทดังกล่าว ชมรมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน อีกทั้ง ยังเป็นการดำเนินกิจกรรมบนการจัดการแบบมีส่วนร่วมของนิสิตในภาควิชา จึงถือเป็นการส่งเสริมให้นิสิตได้แสดงศักยภาพของตนเองได้ในอีกทางหนึ่ง
หอพักนิสิต
NU Dorm @ Naresuan University
นอกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรจะมีหอพักสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีโดยทั่วไปแล้ว บริเวณรอบมหาวิทยาลัยยังมีหอพักเอกชนจำนวนมากเปิดดำเนินการ โดยอาจมีราคาแพงกว่าหอพักในมหาวิทยาลัย แต่ก็หอพักหลายประเภทให้เลือกและมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากน้อยตามราคา
รีวิวหอพัก Special credits & Thank: https://www.mornornews.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Telephone: +66-5596-1943
หน่วยงานรับเข้า กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
Telephone: +66-5596-8304, +66-5596-8305, +66-5596-8309