วิสัยทัศน์
การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มุ่งดำเนินไปตามแนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศและมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยจะให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และ ระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน คือ การมุ่งพัฒนาคุณภาพของคนด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับแนวโน้มการจ้างงานและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อสร้างจิตสำนึกคนไทยให้ยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันจะเป็นรากฐานสำคัญในการลดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด สร้างความเป็นเอกภาพในสังคม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียนให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่วนยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น เป้าหมายสำคัญ คือ
- การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค ซึ่งมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ในระดับพื้นที่ของประเทศให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และการท่องเที่ยว พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งบูรณาการแผนพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้บรรลุประโยชน์ร่วมกันทั้งด้านความมั่นคงและเสถียรภาพของพื้นที่
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาความร่วมมือในการผลิตความรู้และทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา ทั้งในแง่ของงานวิจัยและนักวิจัย ให้มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้บทบาทที่สร้างสรรค์ มุ่งรักษาบทบาทของไทยในการมีส่วนร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ของกรอบความร่วมมือที่ดำเนินอยู่ รวมทั้งรักษาดุลยภาพของปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมและมหาอำนาจใหม่
การพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คือ การ บูรณาการเรื่อง ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในรากเหง้าของตนและของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชีวิตผูกพันกันมายาวนาน และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในท่ามกลางความหลากหลาย ความรู้และความเข้าใจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบูรณาการจึงจะเป็นพลังให้สังคมไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ลดทอนความขัดแย้งแตกแยกทางความคิด และเป็นภูมิปัญญาที่จะทำให้สังคมไทยสามารถรับมือกับกระแสการไหลบ่าของข่าวสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จึงถือเป็นการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรในเชิงบูรณาการของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาในระดับปริญญาตรีจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา กล่าวคือ สามารถต่อยอดจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์หรือสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขึ้นไปสู่ศึกษาวิจัยขั้นสูงในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาต่อไป
นอกจากนี้ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จะรองรับการศึกษาข้ามพรมแดนและเป็นการให้บริการการศึกษาที่มีคุณภาพต่อเพื่อนสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้/ภูมิภาคเอเชียอันเป็นมิตรประเทศที่เป็นคู่เจรจา (dialogue partners) ในกรอบของประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เน้นการศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary) โดยมี “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นหน่วยของการวิเคราะห์และการค้นคว้าวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ระบบคิด ปรัชญา อารยธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและนำไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
ทั้งนี้ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างหลากหลายและร่วมรู้สึกสำนึกต่อประสบการณ์ร่วมกันของผู้คนในภูมิภาค ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาความรู้และการวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายความร่วมมือด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
- มีความรอบรู้เกี่ยวกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างลุ่มลึก
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
2. ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
3. ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล
โครงสร้างหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 1 (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
- วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 4 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต 2)
- แผน ก แบบ ก 2 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
- รายวิชา 24 หน่วยกิต
- วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 4 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
รายวิชาวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต
834501 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Research Methodology in Social Sciences)
– ความหมาย ลักษณะและเป้าหมายการวิจัย ประเภทการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย การประเมินงานวิจัย การนำผลวิจัยไปใช้ และจรรยาบรรณนักวิจัย เทคนิควิธีการวิจัยเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
Research definition, characteristics and goal, types and research process, research problematization, variables and hypothesis, data collection, data analysis, proposal and research report writing, research evaluation, research application, ethics of researchers and research techniques in Social Sciences.834502 สัมมนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Seminar in Southeast Asian Studies)
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
Seminar on concerned particular issues in Southeast Asian studies.
รายวิชาบังคับบังคับ
834511 สถานภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (The State of Southeast Asian Studies)
– พัฒนาการของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่งานนิพนธ์ของชาวพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของชาวต่างชาติก่อนยุคอาณานิคม งานนิพนธ์ของชาวตะวันตกจากประเทศต่างๆ ในยุคอาณานิคม และงานนิพนธ์ของนักชาตินิยมชาวพื้นเมืองในช่วงปลายอาณานิคม การกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสหรัฐฯ ยุคหลังการปลดปล่อยอาณานิคม กระแสการปลดปล่อยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจากกรอบคิดของสถาบันการศึกษาในอเมริกา การกำเนิดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในภูมิภาค และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
Development of Southeast Asian Studies, from the writings of native and foreign scholars during the pre-colonial period of Western scholars during the colonial era, the writings of nationalists in the late colonial period, the emergence of Southeast Asian Studies in the US after decolonization, the trend turning away from the US model towards the indigenization of Southeast Asian Studies, the establishment of Southeast Asian Studies within the region, and the field-trip.- – ทฤษฎีและแนวความคิดในการทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคก่อนสมัยใหม่ ตั้งแต่วิถีการผลิต โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม-การเมือง รัฐแบบจารีต และแบบแผนทางวัฒนธรรม
Theories and concepts for understanding premodern Southeast Asia, including its mode of production, economic and socio-political structure, traditional state, and cultural pattern. - – ทฤษฎีและแนวความคิดในการทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะ แนวคิดเรื่องชาตินิยมและการเป็นรัฐชาติ ความเป็นสมัยใหม่-การสร้างความทันสมัย บูรพาคดีศึกษากับภาวะหลังอาณานิคม แนวคิดสังคมนิยม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดประชาธิปไตย แนวคิดอำนาจนิยม แนวคิดสตรีนิยม เพศสภาพ ชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ ความเป็นพลเมือง สิทธิมนุษยชน และสวัสดิการสังคม
Theories and concepts for understanding modern Southeast Asia, including nationalism and nation-state, modernity and modernization, orientalism and post-colonial society, socialism, liberalism, democracy, authoritarianism, feminism, sexuality, ethnicity, identity, citizenship, human right, and social welfare.
รายวิชาเลือก
- – ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในยุคจารีตและสมัยใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ครอบครัว การใช้เวลาว่าง เพศสภาพ และแง่มุมอื่นๆ ของประสบการณ์ทางสังคมของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
A cultural and social history in traditional and modern Southeast Asia; discussion on topics of focusing on daily life, work, family, leisure, gender and other areas of social experiences. 834522 ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Economic Geography in Southeast Asia)
– พลวัตและพัฒนาการของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของการค้าและเส้นทางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนยุคอาณานิคม ระบบเศรษฐกิจแบบอาณานิคมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (แบบทุนนิยมและแบบสังคมนิยม), การลงทุนจากต่างชาติและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ, การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
The dynamics and developments of economic space in Southeast Asia; discussion on geography of trades and trade-routes in pre-colonial Southeast Asia, colonial economic system and transformation of the economic structure in the region, capitalist economy and economic nationalism (capitalist model and socialist model), foreign investment and economic liberalization, economic regionalization.834523 การเมืองร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Contemporary Politics in Southeast Asia)
– แนวคิดเสรีนิยมทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการปรับตัวของสถาบันทางอำนาจเมื่อเผชิญกับกระแสเสรีนิยม การต่อต้านกระแสเสรีนิยมจากอุดมการณ์และสถาบันทางการเมืองต่างๆ ทั้งในแบบจารีตและแบบสมัยใหม่ ตลอดจนปฏิกิริยาของกองทัพ องค์กรศาสนา ขบวนการนิสิต องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และนักวิชาการ
The political and economic liberalism in Southeast Asia; discussion on the adjustment of political institutions to the liberal trend, political and ideological resistance to liberalism from both traditional and modern institution, including responses by the armed forces, religious organizations, student movements, non-governmental organizations, mass media and academia.834524 ขบวนการทางศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Religious Movements in Southeast Asia)
– ความหลากหลายของศาสนาและความเชื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการเลือกรับปรับตัวและการพยายามอยู่ร่วมกันระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ การต่อรองระหว่างศรัทธาและเหตุผลในการสร้างความทันสมัยให้แก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแยกศาสนาออกจากสังคมการเมือง กระแสการกลับไปสู่หลักคำสอนดั้งเดิมและสถาบันทางศาสนาแบบจารีต การเคลื่อนไหวของศาสนาแบบประชานิยม ความผสมผสานทางศาสนาในยุคไร้พรมแดน การปรับตัวของศาสนาในยุคทุนนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Diversity of religious belief in Southeast Asia; discussion on topics of adaptation and co-existence between different religious groups, negotiation between faith and reason in modernizing Southeast Asia, secularization in Southeast Asia’s social and political domain, the rise of fundamentalist movements and the role of traditional religious institutions, popular religious movements, religious hybridity in the borderless era, the adaptation of religious institutions and practices to capitalist society, the relationship between religion and state in Southeast Asia.834525 มรดกโลกและพิพิธภัณฑ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Heritage and Museum in Southeast Asia)
– การสร้างมรดกโลกกับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาติและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอภิปรายเกี่ยวกับการทำให้มรดกทางวัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมประเพณี พิพิธภัณฑ์และโบราณสถานในฐานะทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
The making of world heritage and the national identity and tourism industry in Southeast Asia; discussion on the commodification of cultural heritage, the invention of new traditions, museum and archaeological sites as cultural resources in Southeast Asia.834526 การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Creative Tourism in Southeast Asia)
– แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ศักยภาพและโอกาสของภาครัฐ เอกชน และชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อการสร้างสรรค์การท่องเที่ยว กระบวนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบและแนวโน้มของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัศนศึกษานอกสถานที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
Concepts and theories of creative thinking and creative tourism, potentials of Southeast Asian governmental, private’s and community’s sectors in creative tourism, a paradigm of the sustenable development in creative tourism, forms and trends of creative tourism in Southeast Asia; students are required to take at least one field-trip in Southeast Asia.834527 วัฒนธรรมสมัยนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Popular Culture in Southeast Asia)
– สื่อมวลชนในยุคปฏิวัติสื่อ การอภิปรายเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และแฟชั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สื่อเครือข่ายและระบบอินเตอร์เน็ตกับการสร้างความเป็นปัจเจกในยุคหลังวัฒนธรรมมวลชน อิทธิพลและผลกระทบของสื่อต่อสังคม วัฒนธรรม การเมือง ศาสนาและศีลธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Mass media in the age of media revolution; discussion on topics of the press, cinema, radio, television and fashion in Southeast Asia, including network media, the Internet and individualization in the post mass-culture era, the media’s influence on Southeast Asian society, culture, politics and morality.834528 วรรณกรรมร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Contemporary Literature in Southeast Asia)
– ภูมิทัศน์วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแนวโน้มความสนใจด้านวรรณกรรมศึกษา การอภิปรายเกี่ยวกับวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัยที่ได้รับคัดสรร โดยใช้แนววิเคราะห์ของทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์และให้ความสนใจในเรื่องวิธีคิด โครงสร้างทางอารมณ์ จิตสำนึก สภาวะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม
A landscape of Southeast Asian literature and trends of the critical literary studies; discussion on selected contemporary literary cannons in Southeast Asia and will privilege on literary criticism theories and topics such as modes of thought, structures of feeling, consciousness, and the changing conditions of the socio-economic, political and cultural structure.- – แนวคิดและทฤษฎีด้านนิเวศวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติ ทฤษฎีสังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม บทบาทองค์กรสังคมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในระดับรากฐานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในประเด็นเรื่องดิน น้ำ และป่า ตลอดจนการจัดการปัญหามลพิษรูปแบบต่างๆ เช่น ขยะ น้ำ เสียง และอากาศ ทั้งในบริบทเมือง กี่งเมือง และชนบท ในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่สูง โดยใช้แนวคิดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมและการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์และค้นหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งประยุกต์เข้ากับบริบทและประสบการณ์ในการจัดการรูปแบบต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Concepts and theories of ecology, natural resources, environmental sociology, roles of organizations especially at grassroots level in managing sustainably on issues of land, water and forest, including the waste, water, noise, and air pollutions in urban, semi urban and rural areas, both in the basin and the highland; using social environmental impact assessment concept and a comparative study in analyzing and solving these problems, especially covering the risk and disaster management, applied for the management patterns in Southeast Asian contexts and experiences. 834531 หัวข้อพิเศษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Special Topic in Southeast Asian Studies)
– หัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
A concerned particular issue in Southeast Asian studies.
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เน้นการศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary) โดยมี “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นหน่วยของการวิเคราะห์และการค้นคว้าวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ระบบคิด ปรัชญา อารยธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและนำไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะและคุณภาพระดับสูงในด้านการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างหลากหลายและร่วมรู้สึกสำนึกต่อประสบการณ์ร่วมกันของผู้คนในภูมิภาค ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และการวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
- เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายความร่วมมือด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับนานาชาติ
โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
- มีศักยภาพระดับสูงในการวิจัยเชิงสหวิทยาการแบบบูรณาการ และสามารถทำการศึกษาค้นคว้าได้อย่างเป็นอิสระและลุ่มลึก
- มีความรอบรู้เชี่ยวชาญต่อพัฒนาการล่าสุดขององค์ความรู้ในสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและอาเซียนศึกษา โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสำคัญที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่
- มีความสามารถในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาหรือพัฒนาเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ในสาขาวิชาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในระดับสากล รวมทั้งการจัดการความรู้ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาอย่างเป็นระบบ
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
2. ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
3. ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล
โครงสร้างหลักสูตร
- แบบ 1 (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว สำหรับนิสิตที่จบปริญญาโทและเคยทำวิทยานิพนธ์มาแล้ว)
- วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
- วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.1 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตที่จบปริญญาโทมาแบบไม่ทำวิทยานิพนธ์หรือต้องการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม)
- รายวิชา 12 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
- วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตที่จบปริญญาตรีแบบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- รายวิชา 24 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
- วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 6 หน่วยกิต
- หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
รายวิชาวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต
834601 สัมมนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 1 (Seminar in Southeast Asian Studies I)
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
Seminar on a concerned particular issue in Southeast Asian studies.834602 สัมมนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 2 (Seminar in Southeast Asian Studies II)
– การสัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
Seminar on a concerned particular issue in Southeast Asian studies.834603 สัมมนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 3 (Seminar in Southeast Asian Studies III)
– การสัมมนาเพื่อมุ่งให้นิสิตนำเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ โดยให้มีกระบวนการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมสัมมนา
Seminar focusing on the progress report of the candidate’s dissertation, through a process of discussion and seminar.
รายวิชาบังคับบังคับ
- – พัฒนาการของอาณาบริเวณศึกษาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การปะทะถกเถียงระหว่างการศึกษาในสาขาวิชากับการศึกษาที่มีจุดเน้นในเชิงอาณาบริเวณ ทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของพื้นที่เฉพาะกับทฤษฎีแบบสากลครอบจักรวาล การทำให้ทฤษฎีแบบยุโรปกลายเป็นทฤษฎีชายขอบและแนวคิดแบบจำกัดขอบเขตการอธิบายในเชิงพื้นที่ อาณาบริเวณศึกษากับทฤษฎีโลกาภิวัตน์
Development of area studies after WWII, tensions between discipline-based and area-focused studies, area-based theories and transcendental theories, provincializing European theories and area-focused concept, area studies and globalization theory. - – นักคิดคนสำคัญทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ร่วมสมัย โดยเลือกอ่านและอภิปรายเกี่ยวกับงานหลักของนักคิดคนสำคัญจากทฤษฎีโครงสร้างนิยม, มาร์กซิสม์, ทฤษฎีแนววิพากษ์, ทฤษฎีรื้อสร้าง, หลังโครงสร้างนิยม, ทฤษฎีหลังสมัยใหม่, สัญศาสตร์, ทฤษฎีวรรณกรรม, เพศวิถี, อัตลักษณ์ แนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดเรื่องยุคสมัยของมนุษยชาติ และแนวคิดแบบหลังมนุษยนิยม
Influential contemporary thinkers in social sciences and humanities; students required to read and discuss on selected major texts written by thinkers in structuralism, Marxism, critical theory, deconstruction, poststructuralism, postmodernism, semiotics, literary theory, gender studies, identity, postcolonialism, the anthropocene concept, and posthumanism.
รายวิชาเลือก
- – ความขัดแย้งตึงเครียดในประวัติศาสตร์นิพนธ์กับสภาวะการเป็นองค์ประธานในการเปลี่ยนแปลงและการเขียนประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อค้นหาและรื้อฟื้นเสียงความทรงจำและประสบการณ์ที่ถูกกดทับของผู้ถูกยึดครองเป็นอาณานิคมและถูกทำให้เป็นชายขอบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเมืองของประวัติศาสตร์นิพนธ์ การผลิตสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ และวาทกรรมแบบท้าทายต่อต้านประวัติศาสตร์กระแสหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Tensions in Southeast Asian historiography and its subjectivity, in order to re-articulate repressed voices, memories, and experiences of the colonized and the marginalized people in Southeast Asia; discussion on topics of the politics of historiography, production of historical knowledge, and contesting historical discourses in Southeast Asia. - – แนวคิดและทฤษฎีการจัดการวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ความสำคัญและความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมในมิติเศรษฐกิจ ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัฒนธรรมและการเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอผลงานการศึกษาการจัดการวัฒนธรรม
Concepts and theories of cultural management and cretive economy, culture in the economic dimension, contemporary issues on the creation of value added culture and cultural resources, including its impacts in Southeast Asian political, economic and social context; students are required to present an individual study of the cultural management. 834623 คนกับพรมแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Bodies and Border in Southeast Asia)
– พรมแดนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ความสำคัญต่อความเข้าใจเชิงลึกทางทฤษฎีและพื้นที่กรณีศึกษา อภิปรายประเด็นต่างๆ ว่าด้วยรัฐชาติ, ชาติพันธุ์, เพศสภาพ, แรงงาน, ความเป็นลูกผสมและความรุนแรง รวมถึงการเปลี่ยนผ่านที่ส่งผลสำคัญต่อแนวคิดและหน้าที่ของพรมแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
A study of borders in Southeast Asia, privileging on theoretical insights and sites; discussion on topics, including nation-state, ethnicity, gender, labor, hybridity and violence, and transitions that decisively affected the concept and fuction of borders within Southeast Asia.- – แนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในสังคมแบบจารีตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการใช้ทรัพยากรซึ่งสัมพันธ์กับพื้นที่ทางวัฒนธรรมต่างๆ การขยายตัวของประชากร กำเนิดรัฐชาติสมัยใหม่ และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์และผลกระทบต่อภูมิทัศน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเคลื่อนไหวของขบวนการด้านสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Concepts of the relationship between human beings and nature in traditional societies of Southeast Asia; discussion on topics of changes in the pattern of natural resources’ usage and how these changes are linked to the cultural domain, population expansion, birth of the nation-state, and economic, including topics such as social and political changes that have led to environmental crisis, the rise of the environmental movement in Southeast Asia. 834625 โรคภัยและการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Disease and Medicine in Southeast Asia)
– การเจ็บไข้ได้ป่วยและการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โลกานุวัตน์ของโรคหลังการค้นพบโลกใหม่เมื่อ ค.ศ.1492 การกำเนิดของการแพทย์แบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วาทกรรมทางการแพทย์และการมีประชากรสุขภาพแข็งแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณสุขและการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคหลังอาณานิคม
The disease and medical practices in Southeast Asia, the globalization of diseases after the discovery of New World in 1492, the birth of modern scientific medicine and its influence in Southeast Asia, medical discourse and the healthy population in Southeast Asia, public health and medicine in postcolonial Southeast Asia.834626 เพศวิถีและเพศสภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Sexuality and Gender in Southeast Asia)
– ระบบของเพศสภาพ เพศวิถี และการเคลื่อนไหวเรื่องเพศสภาพ-เพศวิถีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย การสร้างความรู้และการปรับเปลี่ยนความรู้ในเรื่องเพศ ญาณวิทยาสตรีนิยมและจุดยืนในการสร้างความรู้ที่มาจากเพศที่หลากหลาย
Gender, sexuality and its movements in contemporary Southeast Asia; discussion on topics of knowledge formations and the reposition of sexual knowledges, feminist epistemology and feminist stance in knowledge formations from sexuality’s diversity.834627 พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (Buddhism in Contemporary Southeast Asia)
– จารีตการผลิตงานนิพนธ์ทางพุทธศาสนา สำนักคิดและนิกายต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชีวิตแบบชาวพุทธและการปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวันของสังคม พุทธศาสนาแบบประชานิยมกับโลกทางวัตถุ องค์กรของคณะสงฆ์กับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Traditions of the Buddhist cannons and its commentary texts, schools of thought, and sects in Southeast Asia, Buddhist lives and everyday life practices of the society, popular Buddhism and the material world, traditional religious institutions such as Sangha organization and the politics in Southeast Asia.834628 การเมืองและรัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Politics and Governments in Southeast Asia)
– ภาพรวมของประเด็นปัญหาหลักในการวิเคราะห์การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา การเปลี่ยนแปลงในเรื่องโครงสร้างของรัฐ ชนชั้น และการก่อตัวของอัตลักษณ์ การเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่และการเกิดสำนึกความเป็นชาติในยุคอาณานิยม ประเด็นปัญหาสำคัญในการเมืองร่วมสมัย เช่น การเมืองแบบเงินตรา ประชาสังคม ความขัดแย้งทางชนชั้น การต่อสู้ทางการเมืองในเรื่องอัตลักษณ์ทางศาสนา อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
An overview of major themes in the contemporary Southeast Asian politics; the transformation of state structures, class, and identity formation; the emergence of modernity and nationalist consciousness during the colonial era; contemporary themes such as money politics, civil society, class conflict and struggles over religious, ethnic, and regional identities in Southeast Asia.834629การเคลื่อนไหวทางสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Social Movements in Southeast Asia)
– แนวคิดทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย ทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่ การระดมทรัพยากร กรเคลื่อนไหวทางสังคมแนวเดิมและแนวใหม่ การเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนและรัฐชาติ บทบาทของภาคประชาสังคมและภาคพลเมืองหรือภาคประชาชนในการจัดการความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมในบริบทพื้นที่ โดยวิเคราะห์แนวคิดและรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางสังคมขององค์กรทางสังคม ปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้โดยอาศัยการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เน้นความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
Concepts and theories of social movement including collective behavior, resource mobilization, old and new social movement, and transnationalism; roles of civil society and citizen politics and people’s politics in conflict management caused by insecurity context of socio-economic, politics and culture; analysis the concept and forms of social movement launched by social organizations; problems or obstructions and solutions for active social movement focusing on equality, and human rights in Southeast Asian context as case study.834631 หัวข้อพิเศษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Special Topic in Southeast Asian Studies)
– หัวข้อหรือเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
A concerned particular issue in Southeast Asian studies.