ใต้ร่มราชพฤกษ์:

Strategic and Human Resource Management

งาน ยุทธศาสตร์และบุคคล

(Strategic and Human Resource Management)

แบบฟอร์ม งานยุทธศาสตร์และบุคคล

หน่วยบุคคล

การลา

  •   ใบลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว
  •   ใบลาพักผ่อน
  •   ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร ( ภาษาไทย)
  •   ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร ( ภาษาอังกฤษ)
  •  
  •   ใบลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
  •   ใบลาอุปสมบท
  •   ยกเลิกวันลา
  •   หนังสือขอลาออกจากพนักงานมหาวิทยาลัย
  •  หนังสือขอลาออกจากพนักงานราชการ

การไปราชการ

  •   ขออนุมัติไปราชการ (สายวิชาการ)
  •   ขออนุมัติไปราชการ (สายสนับสนุน)
  •   ขออนุมัติไปราชการ (หมู่คณะ)
  •   ขอยกเลิกการไปราชการ

การลงชื่อปฏิบัติราชการ

  •   ขออนุญาตลงชื่อปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ
  •   ขออนุญาตลงชื่อปฏิบัติราชการของบุคลากรสายสนับสนุน
  •   ใบยินยอมปฏิบัติงานแทน

การขอตำแหน่งทางวิชาการ

  • (ตัวอย่าง)แบบ ก.พ.อ.03 (เกณฑ์ 2564) สมบูรณ์
  •   แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
  •   แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ก.พ.อ.03
  •   แบบฟอร์มการตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการ

การพิจารณาคัดเลือกบุคลากรดีเด่น

  •   บุคลากรดีเด่นด้านการบริหาร
  •   บุคลากรดีเด่นด้านการสอน
  •   บุคลากรดีเด่นด้านการวิจัย
  •   บุคลากรดีเด่นด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
  •   บุคลากรดีเด่นด้านการบริการวิชาการ
  •   บุคลากรดีเด่น (สายสนับสนุน)
  •   ศิษย์เก่าดีเด่น

———-

  • แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงข้อมูลบุคลากร
  • แบบฟอร์มคำขอมีบัตรประจำตัว หรือขอบัตรประจำตัวใหม่
  •   แบบฟอร์มขอรายงานผลการไปประชุม การอบรมการสัมมนา การศึกษาดูงาน
  • หนังสือรับรอง (ภาษาไทย)
  • หนังสือรับรอง(ภาษาอังกฤษ)
  •   ฟอร์มขอเบิกเงินสวัสดิการ
  • หลักเกณฑ์ภาระงานคณะสังคมศาสตร์ (ลงนาม ณ วันที่ 18 มกราคม 2564)
หน่วยประชาสัมพันธ์
หน่วยยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยง
สรุปแบบประเมินผลโครงการและแผนปฏิบัติการ ประจำปี งบประมาณ

พ.ร.บ.

ประกาศ

งานยุทธศาสตร์และบุคคล

(Strategic and Human Resource Management)

รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานยุทธศาสตร์และบุคคล

นางกมลรัตน์ เฟื่องปรางค์

นักวิชาการศึกษา

055 96 1922
kamonratf@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

หน่วยแผนยุทธศาสตร์และ การบริหารความเสี่ยง

นางพชรวรรธน์ นลินรัตนกุล

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

055 96 1922
pacharawattn@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นางกมลรัตน์ เฟื่องปรางค์

นักวิชาการศึกษา

055 96 1922
kamonratf@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นางสาวมัตติกา โลกคำลือ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

055 96 1926
muttikal@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

หน่วยบุคคล

นางพรณภัทร เวียงห้า

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

055 96 1926
Pornnapattraw@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นางสกาวรัตน์ โชติรัตนศักดิ์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

055 96 1910
sakowruds@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นางสาวมัตติกา โลกคำลือ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

055 96 1926
muttikal@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

หน่วย Employment Unit

นางกมลรัตน์ เฟื่องปรางค์

นักวิชาการศึกษา

055 96 1922
kamonratf@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นายกิตติ์ธเนศ สุริยพรศิริกุล

นักวิชาการศึกษา

055 96 1909
kritthanet@gmail.com
คลิกเพื่อดูภาระงาน

หน่วยประชาสัมพันธ์

นายมณฑล จันทร์สว่าง

นักประชาสัมพันธ์

055 96 1916
monthonch@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

นายสุทธิศักดิ์ กิติคุณภิวัฒน์

นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

055 96 1923
sutthisakk@nu.ac.th
คลิกเพื่อดูภาระงาน

เลขาคณบดีและผู้บริหาร

นายกิตติ์ธเนศ สุริยพรศิริกุล

นักวิชาการศึกษา

055 96 1909
kritthanet@gmail.com
คลิกเพื่อดูภาระงาน

แนวปฏิบัติและรายการครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์

สำหรับการให้บริการยืมเพื่อใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงาน/โครงการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

1. ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดหาให้บริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน โครงการ/กิจกรรม หรือเพื่อประโยชน์
ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เท่านั้น ไม่สามารถยืมไปใช้ส่วนตัวได้

2. ผู้มีสิทธิในการขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ บุคลากรและนิสิตของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หากเป็นนิสิตคณะสังคมศาสตร์ ต้องมีบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ที่มีส่วนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องเป็นผู้รับรองการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ โดยสามารถกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ (กรณี หากบุคคลภายนอกมีความประสงค์ในการขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ ให้ทำบันทึกข้อความขอความอนุเคราะห์ฯ โดยเรียนถึงคณบดีคณะสังคมศาสตร์)

3. ให้ผู้ขอรับบริการฯ ส่งแบบฟอร์มขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์
ก่อนจัดโครงการ/กิจกรรม ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ โดยให้หน่วยประชาสัมพันธ์ งานยุทธศาสตร์และบุคคล
ดำเนินการเสนอแบบฟอร์มให้แก่ หัวหน้างานผู้ควบคุมดูแล หัวหน้าสำนักงานเลขานุการฯ ผู้ช่วยคณบดี คณะสังคมศาสตร์ เพื่อลงนามรับทราบ และลงนามอนุมัติโดยรองคณบดีฝ่ายบริหาร

4. ผู้ยืมต้องไม่ติดตั้งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน หรือส่งผลเสียหายต่อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการละเมิด พ.ร.บ.
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ให้ถือเป็นความผิดส่วนบุคคล โดยผู้ยืมต้องรับผิดชอบ
ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

5.ระยะเวลาในการขอรับบริการให้เป็นไปตามประเภทของวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน ดังนี้
5.1 การยืมอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรม สามารถยืมได้ตามระยะเวลาของโครงการ/กิจกรรม
5.2 การยืมอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ไม่เกินครั้งละ 5 วันทำการ (สามารถยื่นแบบฟอร์มเพื่อทำการยืมอุปกรณ์ต่อได้ หากไม่มีผู้ใช้งานท่านอื่นแสดงความประสงค์ขอใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวในระยะเวลาเดียวกัน มาก่อนหน้า)

6. การให้บริการจะพิจารณาจากวันที่ส่งแบบฟอร์มขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
และโสตทัศนูปกรณ์ ตามลำดับ

7. ให้หน่วยประชาสัมพันธ์ งานยุทธศาสตร์และบุคคล คณะสังคมศาสตร์ เป็นผู้แนะนำแนวปฏิบัติ
และวิธีการใช้งานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ในเบื้องต้นให้แก่ผู้ขอใช้บริการก่อนการนำครุภัณฑ์ฯ
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โครงการ/กิจกรรม ของคณะสังคมศาสตร์

8. ในกรณีที่ผู้ขอรับบริการฯ ไม่สามารถส่งมอบครุภัณฑ์ฯ กลับคืน หรือหลังจากการส่งมอบครุภัณฑ์ฯ กลับคืนแล้ว หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้ทำการตรวจ Hardware ภายใน 1 วันทำการ และ Software ภายใน 3 วันทำการ แล้วพบว่าครุภัณฑ์ฯ ที่ได้รับกลับคืนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติในสภาพเดิม เกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หน่วยประชาสัมพันธ์ งานยุทธศาสตร์และบุคคล จะแจ้งข้อมูลแก่ผู้ขอรับบริการนั้นทราบ จากนั้นนำเรื่อง เข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ในลำดับต่อไป (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 209)     
     ทั้งนี้ ผู้ยืมอาจเป็นผู้รับผิดชอบจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง
หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่อยู่ในขณะยืม

9. เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยทำการบันทึกข้อมูลรายการติดตามทวงพัสดุกรณีส่งคืนล่าช้าและรายงานต่อผู้บริหาร (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 211)

10. ในกรณีที่มีปัญหาการดำเนินการนอกเหนือจากแนวปฏิบัตินี้ ให้คณบดีคณะสังคมศาสตร์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยนั้นให้ถือเป็นที่สุด

รายการครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์

* ผู้มีสิทธิในการขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ บุคลากรและนิสิตของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
หากเป็นนิสิตคณะสังคมศาสตร์ ต้องมีบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ที่มีส่วนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องเป็นผู้รับรองการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์
โดยสามารถกรอกข้อมูลใน “แบบฟอร์มขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์” คณะสังคมศาสตร์

(กรณี หากบุคคลภายนอกมีความประสงค์ในการขอรับบริการยืมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์
ให้ทำบันทึกข้อความขอความอนุเคราะห์ฯ โดยให้เรียนถึงคณบดีคณะสังคมศาสตร์)

รายการครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

จำนวน 3ชุด

Lenovo IdeaPad3

iMac 24 with

จำนวน 2 ชุด

iMac 24 with

Macbook Pro 16"

จำนวน 2 ชุด

Macbook Pro 16″

IPAD PRO 12.9" GEN5

จำนวน 2 ชุด

IPAD PRO 12.9″ GEN5

ชุดไวท์บอร์ดดิจิทัล (Surface Hub)

จำนวน 7 ชุด

Surface Hub 2S

แว่นตาจำลองภาพ (HoloLens 2)

จำนวน 5 ชุด

HoloLens 2
รายการโสตทัศนูปกรณ์

CANON EOS M50 Mark II

จำนวน 5 ชุด

CANON EOS M50 Mark II

CANON EF-M55-200mm f/3.5-6.3

จำนวน 5 ชุด

CANON EF-M55-200mm f/3.5-6.3

SONY ILCE-7SM3 KIT

จำนวน 2 ชุด

SONY ILCE-7SM3 KIT

SONY FE14 mm. F1.8 GM

จำนวน 2 ชุด

SONY FE 14 mm. F1.8 GM

SONY FE 50mm F2.8

จำนวน 2 ชุด

SONY FE 50mm F2.8

SONY FE 24-70 mm. F2.8 GM

จำนวน 2 ชุด

SONY FE 24-70 mm. F2.8 GM

กล้องบันทึกวีดิโอ

จำนวน 3 ชุด

Handycam SONY 4K

เม้าส์ปากกา

จำนวน 15 ชุด

WACOM CTL-672

หูฟังพร้อมไมโครโฟน USB

จำนวน 15 ชุด

หูฟังพร้อมไมโครโฟน JABRA Evolve 30 V2

ไมโครโฟนติดกล้อง RODE VIEOMIC NTG

จำนวน 7 ชุด

ไมโครโฟนติดกล้อง RODE VIEOMIC NTG

ไมโครโฟนแบบไร้สาย RODE WIRELESS GO II

จำนวน 13 ชุด

ไมโครโฟนแบบไร้สาย RODE WIRELESS GO II

ไมโครโฟนหนีบปกเสื้อ

จำนวน 13 ชุด

ไมโครโฟนหนีบปกเสื้อ RODE LAVALIER GO

ไมโครโฟนสเตอริโอสำหรับฐานเสียบ มัลติฟังก์ชั่น VIDEO MICRO

จำนวน 5 ชุด

ไมโครโฟนสเตอริโอสำหรับฐานเสียบ มัลติฟังก์ชั่น VIDEO MICRO

ไมโครโฟนสำหรับบันทึกเสียงแบบ USB NT-USB MINI

จำนวน 13 ชุด

ไมโครโฟนสำหรับบันทึกเสียงแบบ USB NT-USB MINI

ขาตั้งกล้องแบบมือจับพร้อมฐานเสียบสำหรับไมโครโฟนภายนอก

จำนวน 5 ชุด

ขาตั้งกล้องแบบมือจับพร้อมฐานเสียบสำหรับไมโครโฟนภายนอก

ขาตั้งกล้องดิจิตอล Manfrotto

จำนวน 2 ชุด

ขาตั้งกล้องดิจิตอล Manfrotto

ชุดอุปกรณ์กันสั่นสำหรับกล้องถ่ายภาพ DJI RS 3PRO

จำนวน 4 ชุด

ชุดอุปกรณ์กันสั่นสำหรับกล้องถ่ายภาพ DJI RS 3PRO

อุปกรณ์กระจายภาพและเสียง HDMI Splitter

จำนวน 2 ชุด

อุปกรณ์กระจายภาพและเสียง HDMI Splitter

เครื่อง Live Stream (YoloBox)

จำนวน 2 ชุด

เครื่อง Live Stream (YoloBox)

เครื่องสแกนหนังสือ

จำนวน 6 ชุด

CZUR ET25 PRO

อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เนตแบบพกพา

จำนวน 2 ชุด

อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เนตแบบพกพา

JBL PARTY BOX ON THE GO

จำนวน 3 ชุด

ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่

LOGITECH BRIO 4K WEBCAM

จำนวน 9 ชุด

กล้อง Webcam

Drone DJI MINI 2 PRO

จำนวน 1 ชุด

Drone DJI MINI 2 PRO

ชุดไฟสตูดิโอสำหรับงานถ่ายภาพ

จำนวน 2 ชุด

ชุดไฟสตูดิโอสำหรับงานถ่ายภาพ

PDPA

(Personal Data Protection Act)

          PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดยกฎหมาย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และปัจจุบันได้ถูกเลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

          องค์กรต่าง ๆ จึงได้รับผลกระทบพอสมควรกับการประกาศใช้ PDPA เพื่อเพิ่มมาตรฐานนโยบายการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยิมยอนที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ไว้ และที่สำคัญต้องสอดคล้องต่อ PDPA ด้วย ทำให้กระบวนการทำ PDPA ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสักทีเดียว ที่เราจะทำได้ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เป็นจำนวนมาก

          ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่จะไม่นับรวมข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

          ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อเล่น / เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นๆที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่กล่าวมาย่อมสามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้โดยตัวมันเอง จึงถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล) / ที่อยู่, อีเมล์, เลขโทรศัพท์ / ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address, MAC address, Cookie ID / ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิล์มเอกซเรย์, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม / ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน / ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดและสถานที่เกิด, เชื้อชาติ,สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ (location), ข้อมูลการแพทย์, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการจ้างงาน / ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แม้ไม่สามารถระบุไปถึงตัวบุคคลได้ แต่หากใช้ร่วมกับระบบดัชนีข้อมูลอีกระบบหนึ่งก็จะสามารถระบุไปถึงตัวบุคคลได้ / ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง / ข้อมูลบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคล เช่น log file / ข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต

          นอกจากนี้ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลอีกประเภท ที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้ความสำคัญและมีบทลงโทษที่รุนแรงด้วยกรณีเกิดการรั่วไหลสู่สาธารณะ คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ได้แก่ ข้อมูล เชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต, ข้อมูลสหภาพแรงงาน, ข้อมูลพันธุกรรม, ข้อมูลชีวภาพ, ข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

          เหตุที่ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เป็นข้อมูลที่มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) เพราะหากข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนมีการรั่วไหลไปสู่สาธารณะแล้ว จะเกิดผลเสียที่ร้ายแรงกับผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล(Data Subject)ได้มากกว่าข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ มีผลต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล เช่น สิทธิเสรีภาพในความคิด ความเชื่อทางศาสนา การแสดงออก การชุมนุม สิทธิในชีวิตร่างกาย การอยู่อาศัย การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการแทรกแซงซึ่งสิทธิเสรีภาพและการเลือกปฏิบัติต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลได้มากกว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ เชื่อชาติ ศาสนา ประวัติอาชญากรรม ถ้ารั่วไหลไปแล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาสู่ความเป็นอคติและจะมีผลกระทบต่อชีวิตส่วนบุคคลได้มากกว่าข้อมูลทั่วไปเป็นอย่างมาก

เราสามารถแบ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ในกฎหมาย PDPA ได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลที่ข้อมูลสามารถระบุไปถึงได้
  2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  4. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงาน / องค์กร / สยถาบัน ให้เป็นไปตามกฎหมาย
AI biometric technology, fingerprint cyber security

          เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในสิทธิของเจ้าของข้อมูล(Data Subject) เรามาทำความรู้จักกับคำว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เพิ่มเติมอีกสักหน่อย

          ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คืออะไร ? ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงบุคคลหรือนิติบุคคล ที่มีส่วนในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล, ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และหากดูที่ความหมายอย่างละเอียดแล้ว นั่นหมายความว่าเพียงแค่เรามีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไว้ ก็ถือว่าเราเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ไปด้วยเหมือนกัน

          ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จะให้ สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) สรุปได้ดังต่อไปนี้

>> สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ

          การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้ง ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ยกเว้นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงรายละเอียดนั้นอยู่แล้ว เช่น ไปธนาคารเพื่อจะไปเปิดบัญชี หรือว่าการสมัครใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ) โดยมีรายละเอียดการแจ้งให้ทราบ เช่น เก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง, วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูล, การนำไปใช้หรือส่งต่อไปมีให้ใครบ้าง, วิธีเก็บข้อมูลอย่างไร, เก็บข้อมูลนานแค่ไหน, วิธีขอการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิกถอนข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไปสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

>> สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

          เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ

>> สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

          เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่า หรือขัดต่อสิทธิการเรียกร้องตามกฎหมาย หรือข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถิติ

>> สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย

          กรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลถูกขอให้ลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลเจ้าของได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งในทางเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายเอง

>> สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม

          ถ้าเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมในการใช้ข้อมูลไปแล้ว ต่อมาภายหลังต้องการยกเลิกความยินยอมนั้น ก็สามารถทำเมื่อใดก็ได้ และการยกเลิกความยินยอมนั้นจะต้องทำได้ง่ายเหมือนกับตอนแรกที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมด้วย โดยการยกเลิกจะต้องไม่ขัดต่อข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมทางกฎหมาย หรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปก่อนหน้านี้

>> สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล

          เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย เพราะมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้ในทางกฎหมาย หรือการเรียกร้องสิทธิ ก็สามารถทำได้

>> สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

          เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย

>> สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล

          ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เช่น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายแรกได้ทำจัดทำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปในอยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าถึงได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูลนั้น ทำการส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ หรือจะขอให้ส่งไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่นโดยตรงก็สามารถทำได้ หากไม่ติดขัดทางวิธีการและเทคนิค โดยการใช้สิทธินั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น

          บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล (บริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคม หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า หรืออื่นใดก็ตาม) หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้ หรือมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ หรือนำไปเปิดเผยไม่ว่าจะวัตถุประสงค์ใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับ คำยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลด้วย เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อยกเว้นที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ โดยมีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้

ข้อยกเว้นสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป(Personal Data)

  • จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาวิจัยหรือการจัดทำสถิติ
  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  • จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญากับเจ้าของข้อมูล เช่น การซื้อขายของออนไลน์ ต้องใช้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น
  • เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ส่งข้อมูลพนักงานให้กรมสรรพากรเรื่องภาษี เป็นต้น

ข้อยกเว้นสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว(Sensitive Personal Data)

  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  • การดำเนินกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีการคุ้มครองที่เหมาะสมของ มูลนิธิ สมาคม องค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น เรื่องศาสนาหรือความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งจำเป็นต้องเปิดเผยให้ทราบก่อนเข้าองค์กรนั้น ๆ เป็นต้น
  • เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะด้วยความยินยอมโดยชัดแจ้งของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บุคคลสาธารณะที่มีข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้วในความยินยอมของเจ้าของข้อมูล
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เช่น เก็บลายนิ้วมือของผู้ที่บุกรุกเพื่อนำไปใช้ในชั้นศาล เป็นต้น
  • เป็นการจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับ เวชศาสตร์ป้องกันหรืออาชีวเวชศาสตร์ เช่น การเก็บข้อมูลสุขภาพของพนักงานซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) องค์กรมักใช้ข้อนี้ในการอ้างสิทธิที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลนี้ไว้ เป็นต้น / ประโยชน์ด้านสาธารณะสุข, การคุ้มครองแรงงาน, การประกันสังคม, หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ / การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, สถิติ, หรือประโยชน์สาธารณะอื่น / ประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ
Personal
Data
Protection
Act

          7 มิติของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA ที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทราบ เพื่อเป็น Guideline ให้สามารถมองเห็นทิศทางและขั้นตอนในการดำเนินงานเบื้องต้นที่จำเป็น ดังนี้

>> มิติที่ 1: ผู้รับผิดชอบด้านการคุ้มครองข้อมูล
  • ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควรเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการ
  • อาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลช่วนดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร
  • พิจารณาและอนุมัติการสื่อสาร Official ในนามองค์กรทุกครั้ง
  • จำกัด Access ของผู้ที่สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารทางการ เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • หากเกิดเหตุละเมิด แจ้งเจ้าของข้อมูลอย่างรวดเร็วที่สุด
>> มิติที่ 2: การสื่อสารถึงนักเรียนและผู้ปกครอง
  • ควรแจ้งเจ้าของข้อมูลว่าจะมีการสื่อสาร/ วัตถุประสงค์
  • การสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท การบริการ (ประโยชน์อันชอบธรรม) และ การตลาด (ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล)
  • นักเรียนอายุ 11-19 ปี ให้ขอความยินยอมจากทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง
  • และความยินยอมสำหรับการสื่อสารด้านการตลาด ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลถอนความยินยอมได้
>> มิติที่ 3: การลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
  • ออกแบบฟอร์มลงทะเบียน เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
  • วางระบบการเก็บรวบรวมแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเข้าส่วนเก็บรักษาข้อมูลอย่างปลอดภัยโดยรวดเร็วที่สุด
  • บอกวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล ณ จุดลงทะเบียน หรือหน้าเว็บลงทะเบียน
>> มิติที่ 4: การจัดการมาตรการด้าน Data Securities
  • จัดทำนโยบาย เพื่อประโยชน์ด้าน คนในรับทราบ เข้าใจ ทำตาม/คนนอกมองเห็นความตั้งใจและเชื่อมั่น
  • วาง Protocol/มาตรการเก็บข้อมูลเข้าสู่ส่วนกลางหลังการใช้งาน
  • อบรมผู้เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำ
  • คุ้มครองข้อมูลด้วยการใส่ Password / ล็อกหน้าจอคอมพิวเตอร์ / ล็อกตู้เก็บเอกสาร / ไม่ปล่อยเอกสารไว้ตามยถากรรม
  • ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณเก็บเอกสารกลางของสถานศึกษา
  • และมาตรการคุ้มครองข้อมูลอื่น ๆ ตามสมควร เช่น การจัดจ้าง Outsource ดูแล Server ของสถานศึกษา เป็นต้น
>> มิติที่ 5: การเก็บรักษาข้อมูลและการทำลาย (Data Retention)
  • องค์กรไม่ควรเก็บรักษาข้อมูลไว้นานเกินความจำเป็น
  • จัดทำ Data Map หรือ Record of Processing Activities และจำแนกเหตุผลของการเก็บรักษาข้อมูลแต่ละประเภท ซึ่งมีระยะการเก็บตามข้อบังคับกฎหมาย/ระเบียบที่แตกต่างกัน ดำเนินการจัดทำเป็น —> ตารางเวลาเก็บรักษาและทำลายข้อมูล
  • ระยะเวลาการเก็บข้อมูลปรับใช้กับทั้งข้อมูลรูปแบบเอกสารกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อมูลรูปแบบกระดาษควรถูกทำลาย (ไม่ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้) และนำไปทิ้งตามสมควร
  • ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลังจากลบออกแล้ว ควรล้าง Device ที่เคยใช้เก็บข้อมูลด้วย
>> มิติที่ 6: ความเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ Third-Party
  • สถานศึกษาต้องสำรวจดูว่ามีการจ้างวาน Third-Party ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือเปล่า
  • แนะนำให้ประเมิน Third-Party ว่ามีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลที่เทียบเท่าหรือมากกว่าขององค์กร ก่อนการจ้างวาน
  • สถานศึกษาเป็น “ผู้ควบคุมข้อมูล” ส่วนผู้ให้บริการ Third-Party ถือว่าเป็น “ผู้ประมวลผลข้อมูล”
  • ต้องทำสัญญาข้อตกลงการประมวลผลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อน Outsource ของคุณจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของสถานศึกษา เพื่อกำหนดระเบียบ/ความรับผิดหากเกิดการละเมิด
  • หลังหมดสัญญา Third-Party ต้องลบทำลาย ไม่เก็บข้อมูลของสถานศึกษาเอาไว้ใช้งานต่อ* (ควรระบุไว้ในสัญญาข้อตกลง)
>> มิติที่ 7: ด้านภาพถ่ายและวิดีโอ
  • ภาพถ่าย/วิดีโอสามารถระบุ Identity ของบุคคลได้ = ข้อมูลส่วนบุคคล
  • สถานศึกษาควรแจ้งเตือนบุคคลตามสถานที่ ใบสมัครเข้าร่วม บัตรเข้างาน Event ว่าจะมีการเก็บภาพ/วิดีโอ
  • หากต้องการใช้ภาพ/วิดีโอเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ภายหลัง ต้องขอความยินยอมจากผู้ถูกถ่ายก่อน โดยอาจขอความยินยอมล่วงหน้าในส่วนของจุดลงทะเบียน ใบสมัคร หน้าเว็บลงทะเบียน ฯลฯ
  • กรณี CCTV เป็นการรักษาความปลอดภัย สามารถอ้างได้ตามฐานทางกฎหมาย “ประโยชน์อันชอบธรรม” (Legitimate Interest) เพียงแต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกถ่ายทราบ

          จะเห็นได้ว่า PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีหัวใจสำคัญก็เพื่อต้องการรักษาสิทธิที่พึงมีแก่เจ้าของข้อมูล ว่าข้อมูล ส่วนตัวของเราจะปลอดภัย นำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามความต้องการและยินยอมของเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นกันว่าการให้ข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละครั้ง เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร? ข้อมูลที่ให้ไปมีเพียงพอกับวัตถุประสงค์นั้นแล้วหรือยัง? หากมองว่ามีการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการขอข้อมูล เราก็สามารถปฏิเสธการให้ข้อมูลนั้นได้ เพื่อเป็นการป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็เป็นได้

          สำหรับในส่วนผู้เก็บข้อมูลนั้น นับว่าได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นอย่างมากกับ PDPA ที่จะต้องปฏิบัติตาม ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงต้องมีการกำหนดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรและให้ความรู้แก่บุคคลากรในองค์กร, รู้ขอบเขตการเก็บรวบรวม การใช้ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล, มีระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัย, มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล, มีการบันทึกกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งเหล่านี้ล้วนจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA ต่อไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาจาก:

https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa

https://pdpathailand.com/knowledge-pdpa